IT : บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษา

อิทธิพล IT ต่อบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(The Influence of IT on the Roles of stakeholders)

โดย นางสาวสุรางค์ อ้นปันส์

สาขาหลักสูตรและการสอน (ภาษาอังกฤษ)

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

เทคโนโลยีกับสังคมการเรียนรู้

เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน ห้าปีที่แล้วนี้ อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาททำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง ข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตส่งถึงกันได้รวดเร็ว ระบบสื่อสารโทรคมนาคมพัฒนาไปจนกระทั่งลดช่องว่างทางระยะทาง ลดระยะเวลาการเรียนรู้ และลดอุปสรรคในเรื่องต่าง ๆ ลงได้มาก ระบบสังคมจึงเปลี่ยนไปเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการเรียนรู้ มีข่าวสารมากมายที่ต้องแยกหา เราเรียกสังคมใหม่นี้ว่า knowledge society

เมื่อตัวการทั้งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปดิจิตอล และระบบสื่อต่าง ๆ ทั้งทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ สิ่งพิมพ์มีมากมาย และนับวันจะเพิ่มจำนวนขึ้นอีกมากมาย การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ต้องเข้ามา กระแสการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้หรือที่เรียกว่า การปฏิรูปการศึกษาจึงเกิดขึ้น

กรอบความคิดของระบบการศึกษาใหม่

    1. การศึกษาต้องไม่ยึดติดกับเวลา และสถานที่ การเรียนมีทั้งแบบ physical และ virture มีระบบการเรียนทั้งแบบอะชิงโครนัสและชิงโครนัส เรียนแบบ anytime anywhere anyone
    2. โรงเรียนเปรียบเสมือนประตูสู่โลกกว้าง ที่จะให้ขุมความรู้ระดับ World Knowledge นักเรียนเรียนแบบแสวงหา หรือสำรวจใช้แหล่งความรู้จากหลายที่และภูมิปัญญา
    3. การเรียนเน้นรูปแบบการเรียนร่วมมือกันทุกฝ่าย (Collaboration) ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ช่วยกันเรียนรู้ เน้นการเรียนแบบ Active บทบาทของครูเปลี่ยนเป็นผู้แนะนำ กำกับ และปรึกษา ตลอดจนเสริมให้ความรู้ ความกระจ่าง ตลอดจนเป็นแหล่งความรู้ให้นักเรียน
    4. การเรียนเน้นสภาพความเหมาะสม แนะนำจุดเด่นของนักเรียนออกมาเรียนตามสภาพของนักเรียนที่รับได้
    5. การเรียนเน้นการประสานทั้งแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางและครูเป็นศูนย์กลาง เลือกข้อดีตามสภาพที่เหมาะสมผนวกกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
    6. การวัดผลในรูปแบบแฟ้มสะสมงาน วัดความสามารถต่อเนื่อง และพัฒนาการ
    7. การศึกษาแบบยืดหยุ่นตามสภาพท้องที่ และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนกรอบความคิดผนวกกับการมีวิสัยทัศน์ปรับเปลี่ยนสถานการณ์และเอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตามสภาพที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ การเรียนรู้ที่ดีไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยเทคโนโลยีราคาแพง หรือต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือพิเศษเสมอไป

บทบาทของผู้บริหารระบบการศึกษา

ผู้บริหารระบบการศึกษาเป็นผู้กำหนดทิศทาง และนโยบายการศึกษาการพัฒนาระบบ การศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญของ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอันดับแรก ผู้บริหารจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายการศึกษา หลักสูตร การศึกษาและต้องส่งเสริมให้บุคลากรมีการเรียนรู้ในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น และจัดให้ มีส่วนสนับสนุนการศึกษาเพื่อลดภาระของผู้สอนให้น้อยลง จะได้มีเวลาสำหรับสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพิ่มขึ้น

บทบาทครู

ด้วยนัยของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้จะทำให้บทบาทของครูปรับเปลี่ยนไปจากการเน้นความเป็น “ผู้สอน” มาเป็น “ผู้แนะนำ” (Facilitator) มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ “เชิงรุก” มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญประการหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้และค้นคว้าด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็วและมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าบทบาทและรูปแบบที่จะ ปรับเปลี่ยนไปนี้ จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของครูที่จะต้องวางแผนการ “ชี้แนะ” ให้รัดกุมเพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้นจากการเรียนตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (Learning How to Learn) และการเรียนด้วยความอยากรู้ (active learning) อย่างมีทิศทาง

บทบาทของนักเรียน

นักเรียนนับว่าเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาหรือปฏิรูประบบการศึกษา ดังนั้นนักเรียนจึงเป็น ผู้ที่มีบทบาทสูงสุดและเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวในนโยบายการศึกษานั้น นักเรียนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสารสนเทศในลำดับแรก นักเรียนต้องมีความสามารถในการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง นักเรียนต้องมีวินัยและเข้าใจบทบาทของตัวเองในการเปลี่ยนแปลง รูปแบบในการเรียนรู้

บทบาทของผู้ปกครอง

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการเรียนการสอนนั้น ผู้ปกครองเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ผู้ปกครองมีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการเรียนรู้ของนักเรียนเพราะผู้ปกครองสามารถเป็นทั้งผู้สนับสนุนที่ดีหรือผู้ที่ต่อต้านที่มีอิทธิพลในการเรียนรู้ของนักเรียน

ผู้ปกครองต้องดูแลบุตรหลานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ อินเทอร์เน็ต เนื่องจากเนื้อหาที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตนั้นมีความหลากหลายมีทั้งเหมาะสมและไม่เหมาะสม

หากบุตรหลานท่านใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดแล้วก็จะยิ่งส่งผลทางด้านลบในการเรียนรู้

บทสรุป

เมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษายอมรับความสำคัญของ IT ว่าเป็นองค์ประกอบหลักในสังคมความรู้ และตระหนักในบทบาทที่เหมาะสมของตนเองที่จะอดทน มุ่งมั่นและไม่ท้อถอยที่จะช่วยกันดูแลพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ก็น่าจะทำนายได้ว่าการปฎิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จแน่นอน อย่าลืมว่า Something difficult takes time. Something impossible takes a little longer.

 

บรรณานุกรม

ไพรัช ธัชยพงษ์ และ พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์. (มปป.) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา : IT for Education. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (www.Onec.go.th : On Line, 2544).

ปฏิรูปการเรียนภาษาอังกฤษกันเถอะ. (ออนไลน์ ). 2547. แหล่งที่มา : http://www.moe.go.th/main2/article_atipat/reform_learnEnglish.html.

ยืน ภู่วรวรรณ และ สมชาย นำประเสริฐชัย. 2546. ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุง เทพฯ : ซีเอ็ดยู เคชั่น.


ที่มา : สุรางค์ อ้นปันส์ โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี จังหวัดอุตรดิตถ์

โดย : นางสาว สุรางค์ อ้นปันส์, ร.ร.อุตรดิตถ์ดรุณี, วันที่ 25 มกราคม 2547