การพัฒนาลายมือของนักเรียนประถม

การพัฒนาลายมือของนักเรียนประถมศึกษา

โดย นางสาวประทุม ม้าชัย

 

 

นักศึกษาปริญญาโทสาขาหลักสูตรและการสอนทั่วไป

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของคนไทยที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เพราะภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นไทย สื่อความหมายแสดง ความรู้สึกนึกคิดให้ตรงกัน และภาษายังแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาษาไทย ประกอบด้วยทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และคนไทยจะต้องใช้ทักษะดังกล่าวนี้ เป็นเครื่องมือในการ สื่อสาร

การเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญทางวัฒนธรรมที่จะถ่ายทอดมรดกทางด้านสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความรู้สึกของมนุษย์ และเป็นเครื่องมือสื่อสารตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตให้สืบเนื่องต่อกัน

นอกจากนี้การเขียนยังเป็นรากฐานที่สำคัญของการเรียนวิชาต่างๆ ตลอดจนการจดบันทึก การย่อเรื่อง การเขียนตอบคำถาม

สำหรับในชีวิตประจำวันนั้นการเขียนเป็นการบันทึกความทรงจำ แสดงความรู้สึก และแสดงความคิดเห็น เขียนให้ผู้อื่นได้ทราบ เขียนให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม ตลอดจนเขียนติดต่อกับผู้อื่นทั้งส่วนตัวและทางราชการ

ดังนั้นการเขียนให้ผู้อื่นอ่านออกง่าย และเข้าใจง่ายนั้น ลายมือนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะถ้าลายมือของผู้เขียนไม่ชัด เช่นเขียนหวัด เขียนหัวบอด เล่นหาง มีรอยลบ ขูด ฆ่า จะไม่สื่อสารได้ คือผู้อ่านไม่สามารถอ่านออก ผู้อ่านอ่านไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นการเขียนควรเขียนด้วยลายมือที่อ่านออกง่าย

 

การคัดลายมือเป็นทักษะที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะนักเรียนในระดับประถมศึกษา ครูจะต้องเริ่มฝึกลายมือให้ถูกต้อง สวยงาม และวางท่าในการเขียนให้ถูกต้อง เช่น การนั่ง การจับดินสอ การเคลื่อนไหวของมือ การคัดตัวบรรจง เส้นตัวหนังสือต้องตรง เรียบ วางวรรณยุกต์ การวางสระ ช่องไฟถูกต้อง เป็นต้น

การคัดลายมือทำให้นักเรียนเกิดวินัยในตนเอง มีความสุขุมในการทำงาน รวมทั้งการฝึกสมาธิให้ยาวนาน เกิดความประณีตในการทำงาน และสร้างนิสัยรักความเป็นระเบียบ ฝึกการสังเกต ฝึกความแน่วแน่

การคัดลายมือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องฝึกให้นักเรียนคัด หรือบรรจงเขียนให้สวยงามคุณครูไม่ควรละเลยให้นักเรียนฝึกการคัดลายมือ เมื่อนักเรียนสามารถฝึกคัดได้สวยงาม จะทำให้ นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย ที่มีอักษรไทยเป็นของเราเอง

 

 

    1. เพื่อให้เห็นประโยชน์ของการคัด ที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการเขียนหัวเรื่อง การจ่าหน้าซองจดหมาย
    2. เพื่อให้จักการสังเกต การวิเคราะห์ตัวหนังสือ คัดได้สวย เกิดความภาคภูมิใจในที่คัดได้ดี และเลียนแบบการคัดตัวหนังสือได้
    3. เพื่อฝึกการคัดสู่การเขียนคล่อง และนำการเขียนสู่การสื่อความคิด ความต้องการของ ตนเอง
    4. เพื่อฝึกความมีสมาธิให้ยาวนาน เสริมสร้างลักษณะนิสัยในการปฏิบัติงานให้เรียบร้อย เสมอต้นเสมอปลาย
    5. เพื่อฝึกวินัยในตนเอง โดยมุ่งทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย มีความสุขุมรอบคอบ

 

    1. เขียนตัวบรรจง
    2. เขียนตัวบรรจงแกมหวัด
    3. เขียนหวัด

 

 

 

การสอนการคัดลายมือ ครูผู้สอนต้องศึกษาวิธีการสอน สังเกต และเอาใจใส่ในการพัฒนา ลายมือของนักเรียน ฝึกทั้งการคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ตัวเขียนหวัดแกมบรรจง

 

    1. เส้นแนวตั้งควรขนานกันทุกตัวอักษร ไม่เอน หรือไม่โย้เย้
    2. หัวอักษรสัมผัสกับเส้นบนและล่าง ตัวอักษรเป็นระดับเดียวกัน
    3. รูปแบบตัวอักษรเป็นรูปแบบเดียวกัน
    4. ขนาดความกว้างของตัวอักษรได้มาตรฐาน
    5. การเว้นวรรคขนาดเท่ากัน
    6. หัวตัวอักษรไม่บอด และมีขนาดมาตรฐานเดียวกัน
    7. หางตัวอักษรยาวพองาม ไม่เล่นหาง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

การฝึกคัดลายมืออย่างสม่ำเสมอ จะทำให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคัดลายมือได้อย่างสวยงาม เป็นระเบียบ ฝึกสมาธิอันแน่วแน่ ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มีทัศนคติที่ดีต่อภาษาไทย ทำให้ นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย เกิดความภาคภูมิใจในภาษาของชาติ และหวงแหนภาษาซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการสื่อสาร และการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

เทคโนโลยีทำให้การพัฒนาลายมือของนักเรียนเป็นอย่างไร

เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียน หากเราสังเกตให้ดี จะพบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ ในการพิมพ์เอกสาร รายงาน จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการพัฒนาลายมือของนักเรียน นักเรียนมักหันหน้าเข้าพึ่งพาการพิมพ์รายงานด้วยคอมพิวเตอร์มากกว่าที่จะเขียนเองด้วยลายมือที่บรรจงสวยงามดังแต่ก่อน

เทคโนโลยีการศึกษาสนับสนุนด้านการเรียนการสอน การจัดทำเอกสาร การทำรายงาน หรือบันทึกข้อมูล ได้มากน้อยเพียงไร

การปรับปรุง หรือการพัฒนาการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคสมัย ต้องพึ่งพาการใช้คอมพิวเตอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราสามารถบันทึกแทนการเขียนได้อย่างเป็นระเบียบ สวยงาม เป็นที่พอใจของบุคคลโดยทั่วไป อีกทั้งสามรถเก็บรักษาข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ สามารถนำข้อมูลออกมาแก้ไขได้ ซึ่งถ้าเราเก็บข้อมูลด้วยการเขียนบันทึก เมื่อต้องแก้ไขข้อมูลจะทำให้สกปรก อย่างไรก็ดีควรมีการฝึกคัดลายมืออย่างสม่ำเสมอ ควบคู่กับการฝึกใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

ฐาปะนีย์ นาครทรรพ . ปัญหาการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. ใน ภาษาและการสื่อสาร. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517.

นววรรณ พันธุเมธา . การใช้ภาษา. ใน การใช้ภาษาไทย, หน้า 85 – 99 พิมพ์ครั้งที่ 6.นนทบุรี :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2541.

บรรจบ พันธุเมธา . ลักษณะภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : แสงจันทร์การพิมพ์ ,2540.

ราชบัณฑิตสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525.พิมพ์ครั้งที่ 6 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2539.

ปรีชา ช้างขวัญยืน, บรรณาธิการ.เทคนิคการเขียนและการผลิตตำรา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2539.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

หน้า…

บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น

ประวัติบ้านปากจอก 1

ประวัติโรงเรียนปากจอกวิทยา 3

ข้อมูลครู 6

ข้อมูลนักเรียน 7

วิสัยทัศน์ , พันธกิจ , เป้าประสงค์ 8

บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นในการพัฒนา

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 10

 

 



แหล่งอ้างอิง : นางสาวประทุม ม้าชัย ,โรงเรียนปากจอกวิทยา จ.แพร่

โดย : นางสาว ประทุม ม้าชัย, โรงเรียนปากจอกวิทยา อ.ลอง จ.แพร่, วันที่ 24 มกราคม 2547