เทคโนโลยีสื่อสารการเรียนการสอน

เทคโนโลยีสื่อสารการเรียนการสอน

บทนำ

ประสิทธิภาพในด้านการเรียนของนักเรียนแต่ละระดับขึ้นอยู่กับความสนใจ มีโอกาสลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้จากประสบการณ์รอบกายที่เป็นประสบการณ์ตรง มีตัวแบบที่เหมาะสม การได้อยู่ในบรรยากาศที่อบอุ่นใจและการอยู่ในสภาพการ์ที่เปิดกว้างทั้งทางกายภาพและจิตภาพ

ในกระบวนการสื่อความ หรือกระบวนการสันนิเวทนา หรือกระบวนการสื่อสาร

ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Communication Process” เป็นกระบวนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ประสบการณ์ ความคิดเห็น ความรู้สึก อารมณ์ ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม และทักษะความชำนาญ จากผู้ส่งไปยังผู้รับ

องค์ประกอบของกระบวนการสื่อความ

กระบวนการสื่อความมีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ

1.ผู้ส่ง เป็นสื่อความ ได้แก่ คน สัตว์ หรือเครื่องมือแทนคน สัตว์

2.สาร มี 3 ประเภท คือ (1) สารที่เป็นความรู้ ความจำและความคิดเห็น (2) สารที่เป็นความรู้สึกอารมณ์ ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม (3 ) สารชี้บ่งทักษะความชำนาญ

3.สื่อหรือช่องทางเป็นตัวกลางหรือพาหะ หรือทางเดินของสาร อาจเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง โสตทัศนูปกรณ์ สื่อมวลชนประเภทต่างๆ

4.ผู้รับ เป็นผู้รับการสื่อความ หากรับได้ถูกต้องก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่ผู้ส่งกำหนดเป้าหมายไว้

การจัดการเรียนการสอน จัดเป็นกระบวนการสื่อความเช่นกัน และมีความจำเป็นที่ต้องใช้สื่อ เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งเป้นผู้รับสารเกิดความรู้ความเข้าได้รวดเร็วและถูกต้อง โดยใช้สื่อประเภทต่างๆดังต่อไปนี้

1.วัสดุกราฟิก

วัสดุหมายถึงสิ่งสิ้นเปลือง กราฟิกหมายถึงลายเส้น ภาพที่เขียนด้วยลายเส้น เมื่อรวม คำ 2 คำเข้าด้วยกัน จึงมีความหมายว่า วัสดุที่เป็นลายเส้น มีคุณค่าทางการเรียนรู้คือ ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำให้เข้าใจง่าย ช่วยดึงความสนใจของผู้เรียนได้ดี สามารถเติมสีสรรให้ดูสวยงามน่าสนใจ

2

2.ระบบเสียง

ในปัจจุบัน ระบบเสียงใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย เพราะช่วยกระจายเสียงให้ได้ยินทั่วถึงทั้งห้องเรียน ระบบเสียงที่ใช้ในห้องเรียนมี 2 ระบบ ได้แก่

2.1 ระบบโมโน (Monophonic System) เป็นระบบที่มีทางเดินของคลื่นเสียง หรือลื่นไฟฟ้าทางเดียว ตัวอย่าง เช่น เครื่องเล่นเสียงขนาดเล็ก เครื่องเทปบันทึกเสียง

แบบ Open Reel วิทยุแบบ AM,FM เครื่องเสียงจากโทรทัศน์

2.2 ระบบสเตอริโอ เป็นระบบการทำงานที่มีทางเดินของคลื่นเสียงสองทางผ่านเครื่องขยายเสียงสองเครื่องแล้วออกที่ลำโพงสองตัว ระบบสเตอริโอเป็นระบบที่มีวงจรไฟฟ้าในการบันทึก การขยาย และการแปลงสัญญาณไฟฟ้า ในการบันทึก การขยาย

และการแปลงคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากลับมาเป็นคลื่นเสียงสองชุด ทำให้เสียงจากต้นกำเนิดของเสียงทุกชนิดครบถ้วน เหมือนจริง เช่น เสียงระนาด เสียงนักร้อง ฉาบ ฉิ่ง และมีระยะใกล้ ไกลต่างกัน

3.เครื่องขยายเสียง

เครื่องขยายเสียงทำหน้าที่ขยายสัญญาณ Amplify แปลว่าขยาย เพื่อให้สัญญาณมีแรงมากพอที่จะทำให้สั่นสะเทือนเกิดเป็นคลื่นเสียงให้หูคนฟังได้ หลักการขยายเสียง เป็นการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าโดยให้สัญญาณเสียง ซึ่งอาศัยหลอดสูญญากาศ หรือทรานซิสเตอร์ และวงจรที่ประกอบกันเป็นตัวคุม

4.ลำโพง

การทำงานของลำโพงประกอบด้วย 3 ส่วน คือส่วนสั่นสะเทือนประกอบด้วยโคน

และขดสายไฟ ซึ่งติดอยู่กับส่วนล่างของโคน เมื่อปล่อยสัญญาณไฟฟ้าให้ผ่านขดสายไฟนี้ จะทำให้เกิดกำลังสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้น ไปต้านกับแม่เหล็กถาวร ซึ่งเป็นส่วนแม่เหล็กของลำโพงทำให้ขดลวดและโคนซึ่งยึดติดไว้โดยส่วนที่เป็นตัวถังเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงขึ้น

 

 

3

5.เครื่องฉาย

เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์การสอนอีกชนิดหนึ่งที่ให้คุณประโยชน์ต่อการศึกษา โครงสร้างของเครื่องฉาย ประกอบด้วยแหล่งกำเนิดของแสงที่วางภาพต้นแบบ มีเลนส์สำหรับหรือกระจายแ

สงเพื่อการขยายภาพ เครื่องฉายแบ่งเป็น 3 ประเภท

    1. ระบบฉายตรง (Directed Projection) เป็นระวาง และค่านบบแสงผ่านหลอดฉายส่อ

ผ่านวัสดุ ฟิล์ม หรือฟิล์มสติป ไปปรากฏบนจอ

5.2 ระบบฉายอ้อม (Indirected Projection) เป็นระบบฉายที่แสงสว่างออกจากหลอดฉายผ่านออกไปยังเลนส์ฉายสะท้อนผ่านกระจก สะท้อนเข้าสู่เลนส์รวมแสง

    1. ระบบการฉายโดยการสะท้อน (Reflected Projection) เป็นระบบฉายที่แสง

สว่างส่องมายังวัสดุที่จะฉายก่อนและสะท้อนกลับไปยังกระจกส่วนบนสุด แบ่งเป็น

5.3.1 เครื่องฉายภาพนิ่ง เช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์ม สติป เครื่องฉายอริโอกราฟ เครื่องฉายไมโครฟิล์ม

5.3.2 เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว

เครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นอุปกรณ์ภาพนิ่งหลายๆภาพติดต่อกันในอัตราความเร็วพอให้ปรากฏว่าภาพนั้นๆ เคลื่อนไหว มีประโยชน์ต่อการศึกษาในด้านการนำเสนอเนื้อหาสาระ และด้านการบันเทิง

6. สื่อมวลชนทางการศึกษา

สื่อมวลชนเป็นเทคโนโลยีด้านหนึ่งที่อำนวยประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ นานาประเทศได้ใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษากันมาก ประเทศไทยก็มีการใช้สื่อมวลชนเป็นเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการพัฒนาการศึกษา

ความสำคัญของสื่อมวลชนต่อการศึกษา

สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างดี เพราะว่านอกจากจะใช้เป็นอุปกรณ์เสริมระบบการเรียนการสอนในห้องเรียน ยังให้ประสบการณ์ทางการศึกษาตลอดชีวิตแก่ประชาชน สร้างเสริมความรู้ ความคิด และเจตคติ ช่วยแนะแนวทางประกอบอาชีพอีกด้วย สื่อมวลชนทางการศึกษาได้ดังนี้

 

4

7.ประเภทสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

ประเภทสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา ได้แก่ หนังสือตำรา ( Textbook ) แบบฝึกปฏิบัติ

( Workbook ) ชุดการสอน ( Multi Media Packege ) พจนานุกรม ( Dictionary ) สารานุกรม ( Encyclopedia )

การใช้สิ่งพิมพ์เพื่อการสอน

การใช้สิ่งพิมพ์เพื่อการสอนจำแนกได้ 3 วิธีดังนี้

  1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่เรียน
  2. ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนร่วมกับสื่อการสอนอื่นๆ
  3. ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนเสริมเพิ่มพูนประสบการณ์

ผลการวิจัยเกี่ยวกับส่งพิมพ์

ผลการวิจัยที่จัดขึ้นทั้งในและต่างประเทศสรุปได้ว่า สิ่งพิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่มี

ศักยภาพ สามารถนำไปใช้พัฒนาสังคม และการศึกษาได้เป็นอย่างดี และยังพบว่า

สิ่งพิมพ์เป็นช่องทางสื่อความหมายให้ประชาชนสนใจเลือกใช้สื่อมวลชนประเภทอื่นได้ด้วย เช่น หนังสือพิมพ์ลงรายการโฆษณาภาพยนตร์ รายการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์

8.ภาพยนตร์การศึกษา

ภาพยนตร์เป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลเหนือมวลชนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสื่อ

ประสมที่ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจง่ายเพราะเป็นภาพเคลื่อนไหว ประกอบด้วย แสง สี เสียง

ประเภทของภาพยนตร์การศึกษา

ไม่ว่าภาพยนตร์ชนิดใด ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งสิ้น หากผู้สอนรู้จักเลือกใช้ให้ถูกเวลา ถูกสถานที่ ถูกวิธี ตามความเหมาะสม สามารถแบ่งภาพยนตร์การศึกษาได้ดังนี้

1. ภาพยนตร์พื้นฐาน เป็นภาพยนตร์ที่ใช้สำหรับการเรียนทั่วไป อาจใช้นำเข้าสู่บทเรียน ใช้นำเสนอเนื้อหา และใช้สรุปบทเรียน

2. ภาพยนตร์สาระคดี เป็นภาพยนตร์ที่ให้ข้อเท็จจริงและคุณค่าทางการศึกษา

3. ภาพยนตร์บันเทิง เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งเสนอเนื้อหาให้เกิดความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ แต่สาระบางเรื่องสามารถตัดตอนมาเป็นประโยชน์ทางการศึกษาได้

5

4. ภาพยนตร์ข่าว เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวและเหตุการณ์ด้านต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

  1. ภาพยนตร์โฆษณา เป็นภาพยนตร์ที่โฆษณาเพื่อธุรกิจขายสินค้า และบริการ

9.การใช้สื่อภาพยนตร์เพื่อการเรียนการสอน

ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีคุณค่าทางการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะสามารถดึงดูด

และเร้าใจของผู้ชม ทำให้ผู้ชมเข้าใจ ประหยัดเวลาในการนำเสนอ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในห้องเรียน และสถานที่ตามความต้องการได้

10.วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา

วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อมวลชนที่ส่งออกอากาศด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยเครื่องส่งวิทยุ สามารถกระจายออกไปได้รอบทิศทางถึงผู้รับด้วยเครื่องรับวิทยุ

วิทยุกระจายเสียงสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา ประเทศไทยใช้วิทยุเป็นสื่อในการศึกษา 3 ลักษณะคือ

1.เพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน ( Formal Education ) ด้วยการใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นอุปกรณ์การศึกษาในโรงเรียน

2.เพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน ( Non formal Education) ด้วยการจัดรายการสำหรับกลุ่มผู้ฟังที่อยู่นอกระบบโรงเรียน เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ กลุ่มสนใจด้านฝึกฝนอาชีพต่างๆ

3.เพื่อการศึกษาประชาชน (Informal Education) ด้วยการจัดรายการมุ่งให้ความรู้ทั่วไป ให้คำแนะนำ ในเรื่องการเกษตร การอนามัย การประกอบอาชีพ การปกครอง การเป็นพลเมืองดี

ผลการวิจัยวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา

ในประเทศไทยมีผู้วิจัยสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 50 – 20,000 คนสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1.การศึกษาทั่วไป สรุปได้ว่าประชาชนทั่วไปสนใจวิทยุกระจายเสียงมากที่สุดในช่วงเวลา 5.00 - 9.00 น. และช่วงเวลา 18.00 – 21.00 น.รายการที่มีผู้นิยมฟังมากที่สุดคือ รายการข่าว รายการที่มีคนฟังน้อยที่สุดคือ รายการพระธรรมเทศนา

6

2.การศึกษาเกี่ยวกับวิทยุเพื่อการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนนิยมฟังวิทยุมากในช่วงเวลา 17.00 น. - 21.00 น. และฟังตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ นักเรียนมีความเห็นว่าให้ความรู้เกี่ยวกับสารคดี ข่าว ธรรมะหรือศาสนา สุขภาพ ดนตรี เพลง กีฬา ละคร

11.วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนที่ส่งภาพและเสียงด้วยเครื่องอีเลกโทรนิก กระจายคลื่นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าออกอากาศ หรือส่งไปตามสายถึงเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล มีการใช้วิทยุเพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และเพื่อการศึกษาของประชาชนทั่วไป ลักษณะการใช้วิทยุการศึกษาเป็นสื่อดังต่อไปนี้

1.เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำเอาสื่อหลายอย่างมารวมกันเรียกว่า “สื่อประสม” เช่น

ภาพยนตร์ สไลด์ ฟิล์มสติป เทปบันทึกเสียง รูปภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ฯ

2.ใช้สาธิตอย่างได้ผล ในบทเรียนที่มีการแสดง การปฏิบัติจริง ในด้านการทดลองวิทยาศาสตร์ ศิลป ะ การขับร้อง ดนตรี ละคร ฯ

3.กิจกรรมสามารถบันทึกเทปโทรทัศน์ไว้ล่วงหน้า และสามารถนำมาออกรายการภายหลังได้

ผลการวิจัยวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ได้ผลการสรุปดังนี้

วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาส่งผลดีต่อเด็กวัยรุ่นคือช่วยให้การเข้าสังคมกับเพื่อนได้ดีและให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ผลเสียคือเด็กวัยรุ่นชอบเลียนแบบพฤติกรรมของตัวละครโทรทัศน์ทั้งพฤติกรรมดีและพฤติกรรมชั่ว มีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่น สำหรับเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายและนิสิตนักศึกษา มีผลในด้านการเลียนแบบพฤติกรรมในทางที่ดี นำไปปรับปรุงตนเองในด้านการแต่งกาย การปรับปรุง บุคลิก ปรับปรงการพูด แต่มีอยู่บ้างที่ชอบเลียนแบบศัพท์สแลง ไม่มีผลต่อการเรียนในระดับนี้ นักศึกษาที่ชมรายการโทรทัศน์เป็นประจำทุกวันปรากฏว่าผลการเรียนปกติ

12.โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา

โทรคมนาคม( Telecommunication) หมายถึงการส่งรับสารในระยะไกล โดยอาศัยพลังงานของแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งและรับทางสายเคเบิล หรือทางคลื่นวิทยุ ส่วนสารสนเทศ (Information) อาจเป็นสัญญาณ รหัส เช่น รหัส มอร์ส

7

ประเภทของโทรคมนาคมทางการศึกษาได้แก่ โทรเลข โทรศัพท์ โทรพิมพ์ โทรภาพ และอินเทอร์เนต ในทางการศึกษาเราใช้โทรคมนาคมทางการศึกษา 2 ลักษณะคือ

1.การใช้โทรคมนาคมเพื่อการศึกษาโดยตรง หมายถึงการใช้โทรคมนาคมเพื่อการเรียนการสอนในทุกระบบ รูปแบบที่นำมาใช้เพื่อการศึกษาที่รู้จักกันดีก็คือ โทรศัพท์เพื่อการศึกษา ใช้

ในการศึกษาระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน คือการใช้โทรศัพท์ที่เรียกว่า”สายรวม” ปกติโทรศัพท์หนึ่งสายถ้ามีการใช้อยู่หากมีผู้เรียกสายจะไม่ว่าง สายรวมนั้นหมายเลขเดียวอาจมีผู้เรียกถึง 200 คน โดยที่ไม่ใครจะหมุนเรียกเข้ามาก็สามารถร่วมสนทนากันได้ เหมาะสำหรับการสอนที่ผู้เรียนเรียนทางไกลอยู่ที่บ้าน

2. การใช้โทรคมนาคมเพื่อการศึกษาทางอ้อม ได้แก่ระบบโทรเลข โทรพิมพ์ โทรภาพ นับว่ามีส่วนให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยอ้อมและมีส่วนสร้างโลกใบนี้ให้แคบลง เพราะข่าวคราวต่างๆสามารถแพร่ไปทั่วโลกได้รวดเร็ว

เทคโนโลยีสื่อสารเพื่อการศึกษาที่กล่าวมา ซึ่งประกอบด้วย งานกราฟิก ระบบเสียง

เรื่องขยายเสียง ลำโพง เครื่องฉาย เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว สื่อมวนชนเพื่อการศึกษา

ได้แก่ โทรเลข โทรศัพท์ โทรพิมพ์ โทรภาพ และคอมพิวเตอร์ ผู้สอนสามารถนำเทคโนโลยี

เหล่านี้มาจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัย ตามยุคโลกาภิวัตร เทคโนโลยีสื่อสารเพื่อการศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้สืบค้นหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง สามารถสืบค้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และทุกบุคคล สถานศึกษาทุกแห่งมีเทคโนโลยีสื่อสารเพื่อการศึกษาอย่างพอเพียง จะทำให้คุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยก้าวหน้ายิ่งขึ้น ถ้าหากมี เทคโนโลยีสื่อสารเพื่อการศึกษามากมายแต่ไม่รู้จักใช้ก็ไม่เกิดประโยชน์ จึงฝากความหวัง

ไว้กับครูผู้สอน ที่เป็นผู้แนะแนวทางแก่ผู้เรียนต่อไป

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

1.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เทคโนโลยีและสื่อการศึกษา กรุงเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช , 2544

2.โช สาลีฉัน และคณะ เทคโนโลยีพื้นฐานการผลิตสื่อ กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว : 2532

3.วารสารวิชาการ สื่อนวัตกรรมการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ : 2546

4.ประชาศึกษา โรงเรียนต้นแบบในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT ,

2546

5.โสภณ จาเลิศ E-Mail Sophoja @ yahoo.com

6.htttp/www.kunkroo.com/ Curriculum.ltml



แหล่งอ้างอิง : อ.โยธิน กันทะหล้า,โรงเรียนบ้านวังชิ้น จ.แพร่

โดย : นาย โยธิน กันทะหล้า, ร.ร.บ้านวังชิ้น อ.วังชิ้น จ. แพร่, วันที่ 24 มกราคม 2547