header

สูตรสำเร็จการเรียนรู้ e-Learning

โดย นางชมพูนุท มีทอง

นักศึกษาปริญญาโท เอกหลักสูตรและการสอน(ทั่วไป) คณะครุศาสตร์

สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์

………………………………………………………………………………………………..

นับตั้งแต่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการศึกษา และคำว่า

e-Learning จึงกลายเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา

บทบาทหน้าที่หนึ่งของ e-Learning ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนกานสอนต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า การจะนำ e-Learning มาใช้ให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติอย่างไร?

ก่อนที่จะลงลึกถึงคุณประโยชน์และขั้นตอนการใช้ e-Learningนั้นมาดู คำนิยามของคำว่า e-Learning ก่อนแล้วกัน โดยทั่วไปหมายถึง การนำวิชาเนื้อหาสาระมาถ่ายทอดทางสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจจะสอนผ่านทางโทรทัศน์วิทยุ คอมพิวเตอร์ และในอนาคตอันใกล้อาจจะสอนผ่านโทรศัพท์มือถือก็ได้

ถามว่า การเรียนผ่านไปรษณีย์ที่เป็นเอกสารนั้น ใช่ e-Learning ไหม?ทั้งนี้หากเรานิยามว่าเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น การส่งเอกสารไปมาก็ไม่น่าจะใช่ e-Learning เพียงแต่เป็นการเรียนทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น

ประโยชน์จาก e-Learning

อย่างไรก็ดี เราสามารถให้ประโยชน์จาก e-Learning ได้ 3 ประการ ได้แก่

    1. อุปกรณ์ช่วยสอนทำให้ขยายโอกาสทางการศึกษาได้ โดยนำโทรทัศน์ วิทยุ มือถือ
    2. เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนทำให้การเรียนในห้องเรียนที่มีนักศึกษา 50 คน กลายเป็นนักศึกษา 1,000 – 100,000 คนได้

    3. อุปกรณ์ทบทวนวิชาเรียน โดยนักเรียนสามารถทบทวนวิชาเรียนแต่ละวิชาได้จาก
    4. ครูตู้(ซึ่งครูแต่ละหมวดวิชาาทำคู่มือการเรียนการสอนขึ้นมาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) จะทบทวนเวลาใดก็ได้

    5. แหล่งข้อมูลที่สามารถค้นคว้าตลอดเวลา โดยแหล่งข้อมูลนี้คุณครูต้องใส่ลงไป ซึ่งถ้าเราเชื่อมมาตรฐานการศึกษาเข้าด้วยกันทั้งโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่เชื่อมถึงกัน ทั้งครู-อาจารย์ นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นและค้นคว้าออกมาได้

องค์ประกอบระบบ e-Learning

สำหรับองค์ประกอบของระบบ e-Learning มีทั้งหมด 5 อย่างคือ

    1. ต้องมีระบบเครือข่าย (LAN, WAN, ดาวเทียม, อินเตอร์เน็ต) เพื่อเชื่อมถึงกัน ซึ่ง
    2. ระบบเครือข่ายนั้นไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนหรือ ตามสาขาเครือข่ายดาวเทียมอินเตอร์เน็ต หรือ โทรทัศน์อย่างใดก็ได้ขอให้เชื่อมต่อถึงกัน

    3. อุปกรณ์ปลายทางไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายหรือ
    4. โทรศัพท์มือถือ

    5. ระบบจัดการ (Soft-ware) ไม่ว่าจะออกทางโทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์ ก็ต้องมี
    6. ระบบจัดการ โดยครูจริงทำให้เกิดครูตู้ขึ้นมา ถ้าครูจริงไม่พัฒนาครูตู้ก็ไม่พัฒนา เพราะฉะนั้นครูจริงและครูตู้ต้องพัฒนาไปด้วยกัน

    7. เนื้อหาสาระในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (content) ที่ครูจริงทำไปใส่ในครูตู้ต้อง
    8. พัฒนาเนื้อหาสาระจากหนังสือที่หนา 100 – 200 หน้า ให้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นำไปใส่ในครูตู้

    9. บุคลากรได้รับการพัฒนา โดยพัฒนาทั้งผู้เรียนและผู้สอนไปด้วยกัน และให้ทุกคน

ใช้งานระบบ e-Learning ได้และใช้เป็น

การติดตั้ง e-Learning ในสถานศึกษาเดียวกัน

ขั้นตอนต่อมา จะขอกล่าวถึงขั้นตอนการเตรียมการติดตั้ง e-Learning ในสถานศึกษาเดียวกัน โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

    1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (LAN) ต้องเชื่อมถึงห้องปฏิบัติการ (ห้องเรียน

คอมพิวเตอร์)ห้องเรียน ห้องพักอาจารย์ ห้องสมุด และเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คุณครูไม่ต้องแบกหนังสือเข้าห้องเรียนเหมือนแต่ก่อน โดยนำข้อมูลที่จะสอนนั้นมาจากข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย

2. เครื่องอุปกรณ์ปลายทาง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ แม่ข่าย (Server) ลูกข่าย (workstation) เครื่องฉาย (projector) โทรทัศน์และเครื่องพิมพ์ โดยคุณครูจะมีโทรศัพท์มือถือ ทีนี้เวลาไปทัศนศึกษาที่ใดก็จะถ่ายภาพไว้แล้วนำมาสอนเด็กต่อไป

    1. ซอฟต์แวร์ระบบจัดการ (LMS : Learning Management System) โดยจะช่วย

ระบบ e-Learning ให้สมบูรณ์แบบได้ ในการเป็นตัวกำหนดสิทธิ์ครู-อาจารย์ นักเรียนจะสามารถเลือกอะไรเอาไปดูได้

เนื้อหาสาระที่นำไปใส่ในอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะทำได้หลายวิธี คือ

    1. วิธีถ่ายวิดีโอขณะที่สอนแล้วนำมาบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
    2. เขียนเรื่องและเนื้อหาขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้ในการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสิ่งที่ผม
    3. อยากเห็นก็คืออยากให้กระทรวงศึกษาธิการททำเนื้อหาขึ้นมาให้กับโรงเรียนถ่ายทอดกันเอง

    4. บททดสอบความรู้ของแต่ละรายวิชา
    5. การเชื่อต่อไปยังแหล่งข้อมูลอื่น เพื่อการค้นคว้า
    6. ใช้บริการ content จากผู้ให้บริการภายนอก

อย่างไรก็ดี มีคำถามว่ากรณีสถานศึกษาอยู่หางไกลกันจะติดตั้งระบบ e-Learnig อย่างไร ?

ก็ไม่มีปัญหาครับ เพราะระบบเครือข่ายปัจจุบันเชื่อมต่อถึงกันได้ อย่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย) เชื่อมต่อ 46 วิทยาเขตเข้าด้วยกัน และกำลังจะเชื่อมไปถึงราชภัฎราชมงคล มัธยมศึกษาและประถมศึกษาในลำดับต่อไป ทั้งนี้ หากเป็นสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกลกันเราก็เพียงแต่เพิ่มระบบเครือข่ายที่เป็นระบบ WAN หรือ LAN ขึ้นมา และอุปกรณ์ปลายทางก็อาจจะเพิ่มขึ้นมาเป็นแบบวิดีโอคอนเฟเรนซ์ (Vedio conferent) คือ ระบบประชุมทางไกล เพื่อให้เห็นการประชุม 2 ทาง เป็นต้น

สำหรับการกกระจายการศึกษาออกไปจำนวนมากนั้น ถ้าใช้ระบบดาวเทียมเหมือน

อย่างที่มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมทำจะคุ้มค่ากว่า โดยสถานศึกษาใดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมก็สามารถรับสื่อการเรียนการสอนของมูลนิธิ ฯ ได้เลย อย่างราชมงคลมีวิทยาเขต 36 แห่ง มีการตั้งจานรับสัญญาณรับดาวเทียมขึ้นมาแล้วมีการสอนจากวิทยาเขตหลักบางวิชาแล้วกระจายไปยังวิทยาลัยราชมงคลกล่าวคือ วิทยาเขตหลักสอนอย่างไรวิทยาเขตสารสนเทศก็ได้รับข้อมูลอย่างนั้นในเวลาเดียวกันและยิ่งถ้ามีการติดตั้งวิดีโอคอนเฟเรนซ์ด้วยแล้ว ก็จะสามารถถาม-ตอบได้ทันที หรือถ้าไม่มีระบบวิดีโอคอนเฟเรนซ์ ก็สามารถถาม-ตอบผ่านระบบโทรสาร หรือโทรศัพท์ ก็ได้ แล้วแต่สะดวกสิ่งหนึ่งที่ได้จากระบบ e-Learning ในวิทยาเขตการสนเทศ นั่นก็คือ นักเรียน นักศึกษา ในวิทยาเขตการสนเทศมีโอกาสในการเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับวิทยาเขตหลัก รวมทั้งเรียนจากอาจารย์ผู้สอนคนเดียวกันซึ่งไม่มีความแตกต่างกันเลยในการเรียนการสอนนี้ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับความขยันของเด็กนักเรียนว่าแต่ละคนจะขยันมาก ขยันน้อยแค่ไหน

สูตรสำเร็จ e-Learning

สูตรสำเร็จของการเรียนรู้ e-Learning สิ่งแรกต้องศึกษาดู คือ ความพร้อมของตน

เองว่าอยู่ในระดับไหน ซึ่งแต่ละสถานศึกษามีความแตกต่างกันไป โดยจะต้องดูว่า

    1. ระบบเครือข่าย (LAN, WAN) มีความพร้อมขนาดไหน
    2. อุปกรณ์ปลายทาง มีเครื่องคอมพิวเตอร์ วิดีโอโปรเจคเตอร์ หรือโทรทัศน์ ไหม
    3. มีงบประมาณจำนวนเท่าใด
    4. บุคลากรมีความสามารถที่จะพัฒนามากน้อยแค่ไหน

หลังจากนั้น ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกวิธีการติดตั้งระบบ e-Learning อย่างไร

วิธีแรก คือ เลือกใช้วิธีการศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น การสอน ป. 1 – ป. 6 ม. 1 - ม. 6 เรียนภาษาต่างประเทศ หรือการอาชีพ จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผ่านทางโทรทัศน์หรืออินเตอร์เน็ต (www.dlf.ac.th) ได้ฟรี

วิธีที่สอง คือ เลือกเช่าใช้จากบริษัทเอกชนและรัฐบาลที่ให้บริการหลายแห่ง เช่น SSL, AVS โดยสถานศึกษานั้นต้องมีเครือข่ายอยู่แล้วเพียงแต่เช่าระบบจากบริษัทมาต่อยอดอีกทีและวิธีที่สาม คือ เลือกที่จะติดตั้งเองทั้งระบบ แล้วเชื่อมโยงเข้าหากัน

“ความสำเร็จของการเรียนรู้ e-Learning อยู่ที่การเตรียมบุคลากรให้มีการพัฒนา รวมทั้งจัดทำ content และบริหารจัดการระบบ โดยครูจริงต้องสนใจระบบ ไม่ใช่ปล่อยแต่ครูตู้อย่างเดียวระบบก็ไม่พัฒนา ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากได้ดำเนินการตามองค์ประกอบของระบบ e-Learning ทั้ง 5 ข้อข้างต้น การเรียนการสอนผ่าน e-Learning ก็จะประสบความสำเร็จได้ และเราก็จะมีส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศ นักเรียนจะมีคุณภาพคุณครูมีเวลาพัฒนาความรู้มากยิ่งขึ้น และเมื่อนั้นประเทศของเราก็จะแข่งกับประเทศอื่นได้”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

กองบรรณาธิการ.“สูตรสำเร็จการเรียนรู้ e-Learning”;วิทยาจารย์.ปีที่ 102 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–กันยายน 2546 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

http://www.thaicai.com/thaiCAI logohttp://www.thaicai.com/

Tophttp://www.thaicai.com/articles/learning_network.html - top

http://www.thaicai.com/articles/cyber_college.html - top
http://www.thaicai.com/articles/ict1.html - top

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



แหล่งอ้างอิง : นางชมพูนุท มีทอง บัณฑิตศึกษา เอกหลักสูตรและการสอนทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิถ์

โดย : นาง ชมพูนุท มีทอง, ร.ร.บ้านผาเวียง ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย, วันที่ 29 ธันวาคม 2546