การประกันคุณภาพการศึกษาในร.ร.

การประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนมีความสำคัญอย่างไร

โดย……นางจินตนา เกิดเหมาะ

นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน

********************************************************

1. ความเป็นมาของการประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพเป็นแนวคิดที่นำหลักการประกันคุณภาพทางภาคอุตสาหกรรมและการบริการมาใช้ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ลุกค้า ซึ่งลุกค้าในที่นี้ คือ ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม การประกันคุณภาพเป็นเทคนิคในการบริหารงานของภาคอุจสาหกรรม เพื่อที่จะทำให้ผลิตต่าง ๆ ที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ซึ่งคุณภาพจะเน้นเรื่องความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการจริง ( Need ) หรือ ความคาดหวัง ( Expectation ) ซึ่งจะขอกล่าวถึงความเป็นมาของคุณภาพพอสังเขปดังนี้ เริ่มต้นในสมัยโบราณ ในการแลกเปลี่ยนสินค้า มีความไว้ว่างใจซึ่งกันและกันทำให้ในยุคโบราณนั้นไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า ต่อมาการแลกเปลี่ยนสินค้ามีวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทำให้การแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงมาเป็นการซื้อขาย ระบบของสินค้าและบริการเริ่มยุงยากซับซ้อน ลุกน้องเริ่มไม่น่าไว้ใจ ลูกค้าก็เริ่มจู้จี้ ดังนั้น ในการซื้อขายสินค้าจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ ( Inspection ) จากนั้นมา การตรวจสอบสินค้าจึงมีมากขึ้น และการตรวจสอบแต่ละครั้งเริ่มมีการจดบันทึก แล้วนำผลที่บันทึกนั้นไปวิเคราะห์ว่าผิดพลาดเพราะอะไร เพื่อกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น และหาทางแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ซึ่งเป็นยุคของการควบคุมคุณภาพ ( Quality Control ) เกี่ยวกับสินค้าและผลผลิตต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมคุณภาพเป็นการตรวจสอบผลลัพธ์มากกว่าที่จะตรวจองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งต่อมาการตรวจสอบเฉพาะผลลัพธ์ไม่ช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจได้ การตรวจสอบ หรือการควบคุมคุณภาพไม่ได้ช่วยอะไรมาก เป็นหลักของการแก้ไขที่ปลายเหตุ ดังนั้น นักวิชาการ จึงเริ่มคิดนำเอาหลักการของการป้องกันมาใช้ โดยพิจารณาถึงการควบคุมองค์ประกอบทั้งหมดที่มีผลต่อผลลัพธ์( Results ) โดยเฉพาะการควบคุมด้านปัจจัย ( Input ) และด้านกระบวนการทำงาน (Process) ซึ่งหลักการนี้ก็ คือ การประกันคุณภาพ ( Quality Assurance ) โดยเชื่อว่า ถ้าควบคุมให้ปัจจัยนำเข้า ( Input ) และ การะบวนการทำงาน ( Process ) ไม่แปรปรวนแล้ว ผลลัพธ์ (Results ) ย่อมคงเส้นคงวา หรือไม่แปรปรวน โดยเน้นให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นแปรปรวนไปจากที่ลูกค้าต้องการให้น้อยที่สุด

2. ความสำคัญของการประกันคุณภาพ

ปัจจุบันเป็นยุคที่สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มนุษย์ต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อเตรียมหร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้น ปัจจัยสำคัญในการเตรียมความพร้อมนี้ คือ การเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ การที่จะเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพได้จำเป็นต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์กัน

การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับประเทศไทย และหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา จะต้องดำเนินการทุกวิถีทางที่จะจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาคนในประเทศให้เป็นคนที่มีคุณภาพ จึงขอกล่าวถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาไว้

4 ด้าน ดังนี้

1. ความสำคัญในด้านบุคคล

2. ความสำคัญในด้านสังคม

3. ความสำคัญในด้านการแข่งขันกับต่างประเทศ

4. ความสำคัญในด้าน พ.ร.บ. การศึกษา 2542

1. ความสำคัญในด้านบุคคล

จากที่กล่าวมาแล้วว่า การที่จะเป็นคนที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้วจะต้องเป็นคนที่มีคุณลักษณะที่สังคมต้องการจริง ๆ ซึ่งในสภาพปัจจุบันมีการกระจ่ายโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ทำให้มีผู้สำเร็จการศึกษามากขึ้น แต่คุณลักษณะของผู้ที่สำเร็จการศึกษาก็ยังไม่เป็นที่พึงประสงค์ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นความสามารถ

ในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การสร้างองค์ความรู้ การมีค่านิยมและพฤติกรรมที่เหมาะสม ในโลกการทำงาน เช่น การทำงานเป็นทีม ความสามรถด้านการสื่อสารทั้งการเขียนการพูด ความสามารถด้านภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ และความอ่อนด้อยในด้านคุณธรรมของผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งสามารถทราบได้จากข่าว หรือ สื่อต่าง ๆ

ดังนั้น เพื่อให้การจัดการศึกษาได้ผลิตคนที่มีคุณภาพ ออกสู่สังคมจำเป็นต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา

2 . ความสำคัญในด้านสังคม

จากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของไทย ( ก่อนการปฏิรูปการศึกษา ) ยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมเท่าที่ควร ซึ่งจะสังเกตได้จากกระแสเรียกร้องที่รุนแรง ทั้งจากผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความต้องการให้การศึกษามีคุณภาพสูง ต้องการให้มีการตรวจสอบมากขึ้น ผู้ปกครองต้องการรู้ว่าบุตรหลานของตน เมื่ออยู่ในโรงเรียนทำอะไรได้ดีเพียงใด และคุณลักษณะตามที่ผู้ปกครองชุมชน และสังคมต้องการ หรือไม่ และชุมชนเองยังต้องการความมั่นใจว่า โรงเรียน หรือสถานศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามมาตรฐาน หรือไม่อย่างไร

ดังนั้น เพื่อให้สังคมมีการตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษา และทำให้ชุมชนเกิดความมั่นใจว่าการจัดการศึกษา เป็นไปตามมาตรฐาน จึงจำเป็นที่ต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา

3 . ความสำคัญในด้านการแข่งขันกับต่างประเทศ

จากวิกฤษเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยทำให้ชีวิตบางคนต้องผันแปรอย่างรวดเร็ว ทั้งตกงาน ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ธุรกิจขาดทุน ต้องปิดกิจการไปหลายบริษัท ภาพรวมของเศรษฐกิจตกต่ำประชาชนยากจน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลายคนมองว่าสาเหตุใหญ่มาจากการจัดการศึกษาของประเทศ ซึ่งส่งผลให้คนในประเทศส่วนใหญ่ทั่วไปขาดความรู้ ทักษะและความชำนาญในอาชีพ ทำให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัฒกรรมใหม่ ๆ จากต่างประเทศอยู่เสมอ ส่งผลให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่มั่นคง การแข่งขันกับนานาประเทศมักจะเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้วระบบการจัดการศึกษาของประเทศยังอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาอีกมาก ซึ่งจากที่ฟังข่าว จากแหล่งข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการของนักเรียนไทยกับต่างประเทศนั้น จะพบว่าผลการแข่งขันที่ออกมาประเทศไทยยังเป็นรองประเทศอื่นอยู่มาก แม้แต่ในภูมิภาคเดี่ยวกัน ซึ่งเป็นตัวชี้บ่งได้ดีถึงคุณภาพการศึกษาของไทยที่ต้องมีการพัฒนาอีกมาก

ดังนั้น เพื่อให้คนไทยสามารถแข่งขันในเรื่องต่าง ๆ กับนานาประเทศได้ และอยู่ในแนวหน้าของภูมิภาคนี้ จึงจำเป็นที่ต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา

4 . ความสำคัญในด้านกฏหมายการศึกษา

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ( ฉบับประชาชน )

มาตรา 43 ระบุไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอภาคกันในการรับการศึกษาที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ต่อมาอีก 2 ปี ก็ได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาเกิดขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ( พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ของประเทศไทย โดย พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 มีทั้งหมด 9 หมวด 78 มาตรา โดยหมวดที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ คือหมวด 6 ตั้งแต่มาตรา 47 - 51 มีใจความสรุปได้ดังนี้ คือ ให้มีระบบการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก โดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา และ

ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้อง ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก และให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามท่กำหนดไว้ อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี โดยสถานศึกษาและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมและในกรณีที่ผลการประเมินของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานตั้นสังกัดเพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไข

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ การประกันคุณภาพการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำและทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ฉบับนี้

จากวัตถุประสงค์และการดำเนินการทั้งหมดของการประกันคุณภาพการศึกษาที่ได้กล่ามานั้นก็สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาได้เป็นอย่างดีโดยการใช้ระบบของคอมพิวเตอร์เข้ามาประมวลผลให้เกิดข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ในทางสถิติวิเคราะห์ได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ระบบเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วด้วย ซึ่งจะเป็นการประกันอีกชั้นหนึ่งว่าการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมานี้จะมีความน่าเชื่อถือและมีความเป็นสากล เป็นระบบที่ตรวจสอบได้และสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายได้อย่างแท้จริง

 

 

 

 

บรรณานุกรม

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. ( 2545 ). ลายแทงนักคิด.กรุงเทพ ฯ : ซัคเซส มีเดีย.

ธีรเดช สุขโข. (2543 , สิงหาคม – กันยายน ). “ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงการศึกษา, ” วารสารข้าราชการ

ครู . 31 – 33.

เริงชัย จงพิพัฒนสุข. ( 2543 ). คู่มือผู้ปกครองและครู. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. ( 2543 ). คุณภาพคือการปรับปรุง. กรุงเทพ ฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. ( 2544 , ตุลาคม ). “ แนวทางพัฒนาโรงเรียน เพื่อเตรียมรับการประกันคุณภาพ

การศึกษา , ” วารสารวิชาการ. 34-42

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ( 2541). แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสถาน

ศึกษา.กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ดี.


. ( 2543 ). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถาน

ศึกษา ; เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ดี


. ( ม.ป.ป.) . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.

2542 . กรุงเทพ ฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. ( 2544 ). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา.

กรุงเทพ ฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.


. ( 2542 ). การประกันคุณภาพของสถานศึกษา.กรุงเทพ ฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานปฎิรูปการศึกษา. ( 2544 ).รายงานปฏิรูปการศึกษาต่อประชาชน. กรุงเทพ ฯ : อมรินทร์

พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อุนนัดดา แสงงาม. ( 2546 ). การประเมินโปรแกรมวิชานาฎศิลป์ ในสถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. ( การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น ). บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ

เชียงราย. เชียงราย :

 

 


ที่มา : อาจารย์จินตนา เกิดเหมาะ บัณฑิตศึกษา เอกหลักสูตรและการสอน (ทั่วไป) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

โดย : นาง จินตนา เกิดเหมาะ, โรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ, วันที่ 27 ธันวาคม 2546