ความรู้เรื่องสแกนเนอร์
สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปของรหัสแท่ง (Bar Code) แล้ว แปลงเป็นข้อมูล ที่อยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้และนำไปประมวลผลได้

    สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

              1.   แบบแท่นนอน (flatbed scanner)
              2.   แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)
              3.   แบบมือถือ

          แบบเลื่อนกระดาษ (sheet-fed scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกนซึ่ง อยู่กับที่ ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้

          แบบแท่นนอน (Flatbed scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก

    การทำงานของสแกนเนอร์แบบแท่นนอน

             1.   แสงจากหลอดไฟกระทบกับหน้าหนังสือด้านที่วางแนบแผ่นกระจก โดยบริเวณที่เป็นสีขาวจะสามารถสะท้อนแสงได้มากกว่า บริเวณที่มีสีทึบกว่า
             2.   มอเตอร์ที่ติดอยู่กับหัวสแกนจะค่อย ๆ เลื่อนหัวสแกนเนอร์จากปลายด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่หัวสแกนเนอร์ของสแกนเนอร์ จะมีตัวรับแสงได้ละเอียดถึง 1/90,000 ต่อตารางนิ้ว
             3.   ข้อมูลดิจิตอลที่ได้ถูกส่งเข้าคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่ซอฟต์แวร์กราฟฟิก หรือซอฟต์แวร์อ่านตัวอักษร (Optical Character Recognition software) สามารถนไปใช้งานได้
             4.   แสงสะท้อนจากหน้าหนังสือตกกระทบสู่หมู่กระจกซึ่งจะเรียงตัวทำมุมได้พอเหมาะกับเลนส์ ของสแกนเนอร์ได้ตลอดเวลา
             5.   แสงที่ผ่านเลนส์จะรวมตัวกันทำให้มีความเข้มมากขึ้นจะผ่านตกกระทบลงบนไดโอดรับแสงซึ่ง เรียงตัวกันอยู่ที่หลังของเลนส์ ไดโอดดังกล่าวทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความเข้มของแสงให้เป็นสัญญาณ ไฟฟ้า โดยแสงที่มีความเข้มมาก ก็จะทำให้สัญญาณ แรงดันไฟฟ้าที่มีค่ามากขึ้นตามไปด้วย
             6.   วงจรแปลงอนาลอกเป็นดิจิตอล (A-D:Analog-to-Digital Converter) แปลงสัญญาณอนาลอก ที่ได้จากไดโอด ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งใช้แทนจุดที่เป็นสีขาวและดำ มีความละเอียดของข้อมูลสูง สแกนเนอร์แบบสีทำงานคล้าย ๆ กันเพียงจะสแกน 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะสแกนเก็บความเข้มของแสง ที่ผ่านตัวกรองแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน และนำมารวมกันเป็นภาพในขั้นสุดท้าย

แบบมือถือ
        สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน

ส่ง อาจารย์สมปอง  ตรุวรรณ์

โรงเรียนนารีนุกูล

 


ที่มา : http://www.narinukul.ac.th

โดย : นาย เทอดภูมิ สายชาลี, โรงเรียนนารีนุกูล, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2546