ที่วางไข่ก่อน วิธีการนี้ทำให้ผีเสื้อสามารถวางไข่บนพืชอาหารของตัวเองได้อย่างถูกต้อง ระยะวางไข่ผีเสื้อโดยทั่วไปตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 100 ฟอง มีอายุ 5-7 วัน และใน 100 ฟอง นี้ใช่ว่าจะเกิดเป็นผีเสื้อ 100 ตัวในธรรมชาติ อัตราการรอดของผีเสื้อกลายมมาเป็นแมลงปีกสวยแค่ 2 % หรือ 2 ตัวเท่านั้น ที่เหลือต้องสวมบทบาทเป็นเหยื่อของนกและแมลงบางชนิดไป หรือ อาจจะถูกลมฟ้าพัดพาไข่ให้ล่องลอยไปหมดโอกาสเป็นผีเสื้อในวันข้างหน้า ดังนั้นวิธีการหลบเลี่ยงศัตรูของผีเสื้อจะใช้วิธีการพรางตัวให้กับใบไม้กิ่งไม้ บางครั้งหากไม่สังเกตจะไม่รู้ว่ากิ่งไม้แห้งมีผีเสื้อหลบภัยอยู่ ผีเสื้อส่วนใหญ่วางไข่ในลักษณะกระจาย คือ ไม่วางไข่ทั้งหมดอยู่บริเวณเดียวกัน จะวางเพียง 1-2 ฟองเท่านั้น ตำแหน่งที่วางไข่อาจแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่มักวางไข่ด้านล่างของพืช ระยะตัวหนอนผีเสื้อจะอยู่ในช่วงนี้ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะลอกคราบเพื่อเพิ่มขนาดของลำตัวใหญ่ขึ้น ประมาณ 5-6 ครั้ง ระยะนี้นับได้ว่าเป็นระยะที่มีการทำลายพืชมากที่สุด เพราะหนอนผีเสื้อทุกชนิดกินพืชเป็นอาหาร เรามักเห็นหนอนผีเสื้อหลายชนิดกินเกือบตลอดเวลา และส่วนที่ผีเสื้อชอบกินมากที่สุด คือ ใบ ผีเสื้อจะไม่กินไม้ผลไม้ดอก และจากการศึกษาพบว่า ผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่ไม่กินพืชเศรษฐกิจ ศัตรูที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจ คือ ผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อเมื่อหมดระยะตัวหนอนจะกลายร่างเป็นดักแด้ใช้ชีวิตช่วงนี้ 5-7 วัน และตัวเต็มวัยประมาณ 10-20 วัน เป็นอันจบชีวิตของแมลงแสนสวย