มอนิเตอร์
สำหรับบทความเกาเหลาคอมของเราในวันนี้ ถือว่าเป็นความรู้รอบตัวดีกว่า เพราะอาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องอินเตอร์เน็ตเท่าไร่นัก และถ้าจะว่าไปก็ค่อนข้าง เป็นเรื่องทางเทคนิคมากกว่า ไม่ค่อยตรงกับคอนเซ็ปต์ของเกาเหลาคอม เท่าไร่ แต่ก็บังเอิญที่ผมได้เข้าไปอ่านบทความคอมพิวเตอร์จากเว็บไซท์ฝรั่ง แล้วเห็นว่า หลายๆ คนที่ขี้สงกะสัยซักนิด อาจจะเคยอยากรู้เหมือนผมว่า เจ้า จอมอนิเตอร์ที่แสดงภาพออกมาให้เราเห็นกันนี้ มันทำงานได้ยังไง? ถ้าใครที่ จบช่างคอมฯ มา หรือรู้แล้ว ก็ช่วยเช็คให้ผมด้วยละกัน ว่าผิดถูกยังไงบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่รู้ เรามารู้ไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าครับผม บางคนอาจจะนึกว่าเหมือนเล่นกล เจ้าจอแก้วที่อยู่เบื้องหน้าของท่านในตอนนี้ ทำไมมันสร้างภาพได้นับหมื่นนับล้านสี และมีความละเอียดกว่าจอทีวีหลายเท่า จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เวทมนตร์หรือกลเกิลอะไรหรอกครับ แต่เป็นการทำงาน ของระบบที่ค่อนข้างจะซับซ้อนวุ่นวายพอดู แต่โชคดีครับ ที่ระบบที่ซับซ้อนนี้ สามารถอธิบายให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ จุดเริ่มต้นอยู่ที่เครื่องพีซีของคุณ จะส่งสัญญาณดิจิตอลไปที่ SVGA adaptor (SVGA = Super Video Graphics Array) เช่น เวลาที่คุณใช้ Microsoft Word พิมพ์เอกสารอยู่ เครื่องพีซีก็จะส่งข้อมูลของทุกตัวอักษรที่คุณกำลังพิมพ์ไปเป็น สัญญาณดิจิตอล จากนั้น SVGA adaptor หลังจากที่ได้รับสัญญาณแล้ว ก็จะ ส่งต่อไปที่ DAC (Digital to Analog Converter) เพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอล ให้กลายเป็นสัญญาณแอนาล็อก (ตามชื่อของมันล่ะครับ) จากนั้นเจ้าตัว DAC นี้ ก็จะทำการเปรียบเทียบค่าสัญญาณที่ได้มา แล้วแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า สำหรับสีต่างๆ ทั้งสามสีได้แก่ แดง, เขียว, น้ำเงิน และจากแม่สีทั้งสามนี้เอง ที่จะถูกนำมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นสีต่างๆ นับล้านสี เมื่อ DAC ทำการแปลงสัญญาณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะจัดการส่งต่อไปให้ CRT (Cathode Ray Tube) ซึ่งจอมอนิเตอร์ส่วนใหญ่ทุกวันนี้ ก็จะใช้ระบบ CRT นี่ล่ะครับ ซึ่งเจ้าระบบ CRT นี้ ก็มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอทีวีนั่นเอง (ยกเว้นก็เฉพาะพวกจอบาง ที่ใช้จอภาพแบบ LCD แทนการใช้ CRT) และเจ้า หลอด CRT นี้เอง จะยิง
อิเล็คตรอนออกไปกระทบกับสารที่เคลือบด้านในของจอ ทำให้เกิดการเรืองแสงออกมา และกลายเป็นภาพที่คุณเห็นในที่สุด
ที่มา http://www.sanambin.com
|