บทละคร.ลิเก

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

  บทละคร.ลิเก
 คำว่าลิเกมีที่มาจากคำว่า  ดจิเก  ซึ่งเป็นภาษามลายูพื้นถิ่นแถบ 4 จังหวัด   หมายถึงมหรสพชนิดหนึ่งอันมีกำเนิดดั้งเดิมมาจากพิธีสวดบูชาพระอัลลาห์ของชาวมุสลิมนิกายเซน ลิเกเข้ามาสู่สังคมไทยตั้งแต่เมื่อใดนั้น ยังสันนิษฐานไปหลายทิศทาง  บ้างกล่าวว่าลิเกเข้ามายังเมืองไทยโดยชาวมุสลิมที่เข้ามารับราชการเป็นนักเทศขันที  ในราชสำนักอยุธยา
 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช  ให้ความเห็นถึง  ดจิเก เอาไว้ว่า อาจเข้ามายังเมืองไทยโดยชาวมุสลิมจากเปอร์เซียอันเป็นต้นตระกูลบุนนาคในปัจจุบันในขณะที่พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ กล่าวว่า ชาวมุสลิมชิอิทจากเปอร์เซียนำการสวดที่เรียกว่า  ดิกร   เข้ามาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 ยังมีบางข้อสันนิษฐานกล่าวว่า  ลิเกนั้นมากับชาวไทยมุสลิมในภาคใต้  และคำว่า  ยี่เก  ซึ่งเป็นชื่อแรกเริ่มก่อนจะมาเรียกว่า  ลิเก   ในภายหลังนั้น  ยังคงนิยมใช้อยู่ในภาษาพูดของชาวไทยมุสลิมมาจนถึงปัจจุบัน   คำว่า  ยี่เก  ก็น่าจะมาจากดจิเกอันเป็นคำในภาษามาเลย์ถิ่นที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  สตูล  มากกว่าจะมาจากคำว่า  ดิกิร  ในภาษาถิ่นในอินโดนีเซีย หรือ  ดชิกืร อันเป็นภาษาอาหรับในตะวันออกกลาง
 อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ข้อสันนิษฐาน  หากก็ทำให้พอเห็นค่าได้ว่า  ดจิเก  หรือการสวดบูชาพระอัลลาห์น่าจะเข้ามายังเมืองไทย  ตั้งแต่สมัยอยุธยา  และเข้ามาเป็นระลอกตามการอพยพของชาวมุสลิมนิกายชิอิท  หรือแขกเจ้าเซนจากเปอร์เซีย
 ลิเกเพิ่งเริ่มมามีบันทึกปรากฏเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพ  ร่วมกันแสดงลิเกถวายหน้าพระที่นั่ง  เนื่องในงานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี  (  พระนางเรือล่ม  )   ลิเกสมัยนั้นยังเป็นการแสดงเชิงศาสนาอิสลามประกอบดนตรี  เพื่อความเป็นสิริมงคล   การแสดงประกอบไปด้วยคนตีรำมะนาหลายคน  พร้อมด้วยเครื่องประกอบจังหวะ  นั่งล้อมกันเป็นวง  ปากก็ร้องเพลงเป็นภาษามลายู
 ในเวลาต่อมา   การเล่นลิเกจึงพลิกแพลงการแสดงจนห่างออกจากสาระทางศาสนา  เข้าหาการบันเทิงยิ่งขึ้น  มีทั้งการพัฒนาดัดแปลงไปเป็นทำนองอย่างละคร  มีทั้งการเพิ่มบทตลกคะนอง  ปรับการแสดงให้รวดเร็วทันใจคนดู  และแต่งตัวสวยหรูสะดุดตาผู้ชม  จนกระทั้งลิเกเกิดการพัฒนาเป็นสองสายในที่สุดสาขา1  เรียกว่า  ฮันดาเลาะ  อันเป็นต้นทางให้เกิดการแสดงลิเก  และอีกสาขา 1เรียกว่า  ละกูยา  ซึ้งพัฒนาต่อมากลายเป็นการแสดงลำตัด
 ลิเกในปัจจุบันยังคงมีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะของการแสดงอย่างไม่หยุดยั้ง  โดยนำการแสดงอันเป็นที่นิยมของแต่ละยุคมาดัดแปลงให้เข้ากับรูปแบบการแสดงของเดิม  ดังจะเห็นได้จากการที่ลิเกได้นำเพลงลูกทุ่งมาปรับใช้ในการแสดงของตน  นอกจากนั้นเมื่อลิเกไปแพร่หลายอยู่ในถิ่นฐานใด  ก็ได้นำเอาศิลปะการแสดงซึ่งเป็นที่นิยมในท้องถิ่นนั้นมาผสมผสานกันจนกลายรูปแตกยอดออกไปดังเช่น  หมอลำหมู่  หรือลิเกลาวในอีสาน  และลิเกเขมรบริเวณแถบอีสานใต้
              


แหล่งอ้างอิง : หนังสือชุดภูมิแผ่นไทย บริษัทไทยประกันชีวิต เล่ม 8

โดย : เด็กหญิง สุภาวดี เงินแย้ม, ร.ร. เมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 22 กันยายน 2546