สัปดาห์วิทยาศาสตร์

สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2546
24 กันยายน - 5 ตุลาคม พ.ศ.2546
4 กระทรวงรวมพลังร่วมจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2546" อย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก

จำลองบรรยากาศแอนตาร์คติคพร้อมอุกาบาต-น้ำแข็งขั้วโลกใต้ของจริงอายุ 350,000 ปีและเปิดตัวผู้ได้รับคัดเลือกไปร่วมวิจัยขั้วโลกใต้ ตื่นตากับ Future Society, Robot Show พร้อมชูผลงานเด่นทั้งของไทยและต่างประเทศ 24 ก.ย.- 5ต.ค. นี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายพรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในงานจัดแถลงข่าวการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2546" ซึ่งทั้ง 4 กระทรวง ได้ร่วมจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก โดยประสานงานเพื่อให้เห็นภาพรวมของเทคโนโลยีทั้งประเทศที่มีความหลากหลายในทุกระดับ เพื่อพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าขึ้น สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ สู่การพัฒนาพลังการผลิตของประเทศ พัฒนาสังคมไทยให้ทัดเทียมอารยประเทศ ภายใต้แนวคิด "เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ระหว่างวันที่ 24 กันยายน - 5 ตุลาคม ศกนี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ อิมแพ็คเมืองทองธานี เพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานในวันที่ 24 กันยายน 2546 เวลา 15.00 น.

ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2546 นี้ จะจัดแสดงผลงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ในบริเวณ King Pavilion พร้อมทั้งนำเสนอวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์แห่งชาติของ 4 กระทรวงพันธมิตรผู้ร่วมจัดงานใน Future Society สังคมของโลกแห่งอนาคต ที่ผู้ชมจะได้ทราบถึงทิศทางในอนาคตว่าเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไรซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของทุกคน นอกจากนี้ยังจัดแสดงผลงานเทคโนโลยีที่คิดค้นและสร้างสรรค์โดยฝีมือคนไทย เพื่อเพิ่มพูนความรู้สร้างความภาคภูมิใจและสร้างความเชื่อมั่นให้สาธารณชน เกิดความตื่นตัวในการร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างสังคมแห่งความรู้และยกระดับมาตราฐานการศึกษา อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

"จุดเด่นอีกส่วนหนึ่งที่จะนำเสนอในงานนี้ คือการจำลองบรรยากาศทวีปแอนตาร์คติกา พร้อมทั้งจัดแสดงอุกาบาต ชิ้นแร่ และน้ำแข็งขั้วโลกใต้ของจริงที่มีอายุ 350,000 ปี ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก National Intitute of Polar Research (NIPR) ประเทศญี่ปุ่น ที่ไปสร้างสถานีวิจัย Syowa Station ที่ขั้วโลกใต้ และในปีนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้สนันสนุนให้นักวิทยาศาสตร์ของไทยเข้าร่วมในโครงการสำรวจขั้วโลกใต้ด้วย โดยจะปรพกาศผลการคัดเลือกในงาน สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2546 นี้ และ
และจะจัด Teleconferrence สัมภาษณ์นักวิจัยที่กำลังปฎิบัติการอยู่ที่ขั้วโลกใต้ ในวันที่ 24-25 กันยายน นอกจากนี้ยังมีสุดยอกนวัตกรรมยานยนต์และหุ่นยนต์ต่างๆ รวมทั้งผลงานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ผลงานวิจัยจากอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยมาจัดแสดงด้วย " นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าว

ในส่วนของกระทรวงพลังงานนั้น นายพรหมินทร์ เลศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ กล่าวว่า "เราจะนำเสนอในด้านการสร้างประสิทธิภาพและมิติใหม่ที่เป็นตัวผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงาน รวมทั้งเรียนรู้แนวโน้มของโลกเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม โดยที่เทคโนโลยีจะช่วยพัฒนาทั้งด้านการค้นหาและขุดเจ้าะแหล่งพลังงานธรรมชาติ ตลอดจนแหล่งพลังงานทดแทน และพัฒนาแหล่งพลังงานนั้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของเราในอนาคต"

ทางวด้าน นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้รายละเอียดว่า"ทางกระทรวงฯ รับผิดชอบการสร้างจินตนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอีก 3-5 ปีข้างหน้า รวมทั้งจำลองภาพการให้บริการระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ในการนำบัตรประชาชนแบบ Smart Card ไปใช้ในบริการต่างๆ ในตู้ Kiosk ของรัฐบาล เช่นการย้ายสำเนาทะเบียนบ้าน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ในเมือง ICT 3 แห่ง คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น ซึ่งเป็นสิ่งที่พูดกันไว้นานแล้ว ให้ปรากฏใน Future Society Zone งานนี้ "

นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า "การส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนโยบายที่สำคัญเรื่องหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงพันธมิตรทั้ง 3 กระทรวงในการจัดงานครั้งนี้ เพื่อนำความรู้ ผลงานการศึกษาวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเผยแพร่ให้เยาวชนและประชาชนไทยได้ทราบ เพื่อนำไปสู่การพัฒนามาตราฐานการศึกษาและการพัฒนาประเทศในอนาคต "

นอกจากนี้ ยังมีการสัมมนาวิชาการงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2546 ระหว่างวันที่ 25 - 30 กันยายน ศกนี้ ณ อาคาร Impact Convention Center ซึ่งจะมีการบรรยาย อภิปราย และสัมนาในหัวข้อต่างๆ กว่า 40 เรื่อง อาทิ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีซูเปอร์จิ๋วสำหรับประชาชน, โลกของหุ่นยนต์วันนี้และในอนาคต, อาหารปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีอิเล็กตรอนบีม(E-Beam), การใข้โครงการวิทยาศาสตร์เพื่อกระตุ้นความสนใจของเยาวชนในด้านอวกาศและดาวเทียม, การเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ , สมุนไพรกับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน, พลังงานทางเลือกแห่งอนาคต, DNA เพื่อประชาชน, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง"วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : คุณค่าแห่งภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ในวันที่ 25 กันยายน นี้ด้วย




แหล่งอ้างอิง : www.mweb.co.th

โดย : เด็กชาย ฐิติมา สุขรัตน์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 21 กันยายน 2546