ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟเป็นเสมือนช่องประทุหรือแนวประทุที่แมกมา (หินร้อนเหลวที่อยู่ในส่วนลึกใต้เปลือกโลก) เคลื่อนตัวด้วยแรงผ่านเปลือกโลกขึ้นมาบนผิวโลก เรียกหินร้อนเหลวที่ไหลบนผิวโลกนี้ว่า ลาวา ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลก แต่ส่วนใหญ่เกิดในบริเวณเรียกว่าวงแหวนภูเขาไฟ (Ring of Fire) ซึ่งเป็นแนวตามขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ภูเขาไฟแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของความรุนแรงและความถี่ของการระเบิดภูเขาไฟ ตามรอยแตกที่เปลือกโลกแยกตัวออกจากกันมักเกิดขึ้นโดยไม่มีการระเบิดรุนแรง ลาวาประเภทหินบะซอลต์จะไหลผ่านรอยแตกขึ้นมา และไหลแผ่ไปบนพื้นผิวโลกเป็นบริเวณกว้างอย่างรวดเร็วและแข็งตัวเป็นหิน เกิดภูมิประเทศภูเขาไฟเป็นเนินไม่ลาดชัน สำหรับการระเบิดอย่างรุนแรงมักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่เปลือกโลกชนกัน ผลของการระเบิดภูเขาไฟจะมีลาวาประเภทหินไรโอไลต์ที่มีลักษณะหนืดข้น เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับกลุ่มควันของผงฝุ่นและเศษหินภูเขาไฟ (ชิ้นส่วนที่เกิดจากลาวาเย็นตัว) ลาวาจะไม่ไหลแผ่ออกไปไกล แต่จะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภูเขาไฟ มีลักษณะลาดชันคล้ายกรวยคว่ำ ภูเขาไฟบางแห่งมีหินลาวาและเถ้า ภูเขาไฟถูกพ่นออกมาสลับกัน เมื่อเย็นตัวจะเป็นชั้น ๆ สลับกัน เกิดเป็นภูเขาไฟสูง ภูเขาไฟที่ยังมีการระเบิด เกิดขึ้นบ่อย ๆ จะเรียกว่า ภูเขาไฟมีพลัง (active volcanoes) ภูเขาไฟที่ไม่มีการระเบิดมานานเรียกว่า ภูเขาไฟหมดสภาพ (domant) และภูเขาไฟที่หยุดการระเบิดไปแล้วอย่างถาวรเรียกว่า ภูเขาไฟดับสนิท (extinct) ในบริเวณภูเขาไฟนอกจากจะพบภูเขาไฟแล้ว ยังมีสิ่งที่เกิดร่วมกับภูเขาไฟที่ควรรู้ ได้แก่ พุน้ำร้อนไกเซอร์ (geysers), พุน้ำแร่ร้อน (hot mineral springs), พุก๊าซกำมะถัน (Solfataras), พุก๊าซ (Fumnaroles) และ โคลนเดือด (bubbling mud pools) เป็นต้น



แหล่งอ้างอิง : http://www.rit.ac.th/homepage-sc/charud/naturemystery/volcano/ http://www.thaibikeworld.com

โดย : เด็กชาย กฤษกร โรจน์สวัสดิ์สุข, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 18 กันยายน 2546