เลสิค

การแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิค
เลสิค (Lasik) เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ คือ สายตาสั้น สายตาเอียง และสายตายาวโดยกำเนิด ยกเว้นการรักาษาภาวะสายตายาวผู้สูงอายุ เนื่องจากสายตายาวผู้สูงอายุ เกิดจากกล้ามเนื้อตาเสื่อมตามอายุ เพราะการทำเลสิคไม่ได้ทำให้กล้ามเนื้อตาตึง แต่ไปปรับความโค้งของกระจกตา โดยใช้เครื่องแยกชั้นกระจกตา (Microkeratome) แยกชั้นกระจกให้มีความหนาประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของ
กระจกตาทั้งหมด แล้วใช้เครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ขัดเนื้อกระจกตาชั้นกลาง เพื่อเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาโดยรวม แล้วจึงปิดผิวกระจกเข้าที่เดิม ซึ่งผิวกระจกตาจะสามารถสมานตัวได้เองภายใน 3 - 5 นาที โดยไม่ต้องเย็บ แพทย์จะให้ปิดฝาครอบตาไว้ 1 คืน และนัดให้มาเปิดในวันรุ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
เครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ เป็นเลเซอร์ความยาวคลื่นสั้นระดับอุลตราไวโอเลต (193 NM) เป็นแสงเลเซอร์แบบเย็น ซึ่งจะทำปฏิกิริยาเฉพาะพื้นที่ผิวสัมผัสเท่านั้น ไม่สามารถทะลุผ่านกระจกตาเข้าไปในลูกตาได้ จึงไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือภายในลูกตา
ในกรณีสายตาสั้น เลเซอร์จะปรับให้ความโค้งของกระจกส่วนกลางน้อยลง
ในกรณีสายตายาวโดยกำเนิด เลเซอร์จะปรับให้ความโค้งของกระจกตาส่วนกลางมากขึ้น
ในกรณีสานตาเอียง เลเซอร์จะเลือกปรับให้ความโค้งของผิวกระจกตาในแนวต่าง ๆ มีความโค้งสมำเสมอ
ผู้ที่มารับการรักษาต้องมีอายุไม่ตำกว่า 18 ปี ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ไม่มีโรคของกระจกตา หรือโรคที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น เบาวหาน เป็นต้น


โดย : นางสาว Chomkwan Suppasuk, ripw Klongluang patumtani 13180, วันที่ 27 มกราคม 2545