ว่านหางจรเข้

ว่านหางจรเข้

ชื่อพื้นเมือง : หางจรเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe Vera Linn

ลักษณะพฤกษศาสตร์ : ว่านหางจรเข้เป็นพืชล้มลุก ส่วนของลำต้นสั้น เห็นแต่ใบที่อวบน้ำ หนา รูปร่างยาว

ปลายใบเรียวแหลม เรียงสลับซ้อนกันอยู่ ที่ขอบใบมีหนามเล็กๆ ผิวใบสีเขียวสด และมีรอยกระสีเขียว

ภายมีวุ้นใสๆ สีเขียวอ่อน ใต้ผิวใบมีน้ำยางสีเหลือง ดอกออกเป็นช่อตรงกลาง ก้านช่อดอกยาวมาก

ชุตั้งตรง ดอกย่อมีลักษณะเป็นหยอด ห้อยลงปลายแยก มีสีส้มแดงออกสีเหลืองเล็กน้อย บานจากล่าง-

ขึ้นบน ผลเป็นผลแห้งแตกได้

การปลูก : ว่านหางจรเข้เป็นพืชที่ปลูกได้ในดินทั่วๆ ไป ที่มีการระบายน้ำได้ดี และอุ้มน้ำได้ดี

พอสมควร เป็นไม้ที่ปลูกง่าย เพียงใช้หน่ออ่อนๆ ที่แยกมาจากแม่พันธุ์ มาปลูกลงดินหรือในกระถาง

เมื่อปลูกใหม่ควรได้รับรำไร และรดน้ำทุกวัน ก็จะเจริญเติบได้ดี

ประโยชน์ทางยา : ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด ทั้งต้น ราก ช่วงเวลาเก็บ อายุ ๖–๑๒ เดือน ก็ใช้ได้

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย : ใบ รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี วุ้น ล้างด้วยน้ำสะอาด

ฝานบางๆ ทาที่แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการ

ไฟไหม้จากแสงแดด หรือรังสี ทาผิวรักษาสิวฝ้าและขจัดรอยแผลเป็น

ทั้งต้น รสเย็นเอียน ดองสุราดื่ม ขับน้ำคาวปลา

ราก รสขมขื่น รับประทานถ่ายโรคหนองใน

ประโยชน์ : ว่านหางจรเข้เป็นไม้ที่มีความแปลกตา ทั้งยังมีคุณประโยชน์มาก จึงน่าจะมี

ปลูกไว้ในบ้านเป็นไม้ประดับ

 

 

แห่ลงอ้างอิง จากหนังสือพืชสมุนไพรกับวัฒนธรรม ตอนที่ 2 ไม้ริมรั้ว สถาบันแพทย์แผนไทย

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข



แหล่งอ้างอิง : หนังสือพืชสมุนไพรกับวัฒนรรม ตอนที่ 2 ไม้ริมรั้ว

โดย : เด็กหญิง ศิราภรณ์ ผาสุข, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 18 กันยายน 2546