โปรโตคอลประยุกต์

โปรโตคอลประยุกต์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีหลายมาตรฐาน หลายยี่ห้อ แต่ก็สามารถจะทำงานร่วมกันได้อย่างดี การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพระมีโปรโตคอลมาตรฐานที่มีข้อกำหนดให้ทำงานร่วมกันได้
การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ถูกต้อง เพราะมีโปรโตคอลที่ใช้ในการหาตำแหน่ง ซึ่งในกรณีนี้ใช้โปรโตคอลอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ส่วน IP นี้มีการกำหนด Address ของคอมพิวเตอร์ที่เราเรียกว่า IP Address อีกต่อหนึ่ง
ปัจจุบันมีโปรโตคอลในระดับประยุกต์ใช้งานมากมาย ผู้พัฒนาการประยุกต์จะกำหนดขึ้นมา และถ้า
ยอมรับและใช้กันอย่างกวางขวางก็จะเป็นมาตรฐาน เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ
FTP - File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ
NNP - Network News Transfer Protocol ยิ่งในตอนหลังมีการประยุกต์ทางด้านมัลติมีเดียมากขึ้นจึงมีการกำหนดโปรโตคอล สำหรับการประยุกต์นั้น ๆ เช่น การส่งสัญญาณเสียง การส่งวีดิโอ การทำ
วีดิโอ โอคอนเพอเรนซ์ การสร้างอินเตอร์เน็ตโฟน ฯลฯ
นอกจากโปรโตคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่าย ยังมีดปรโตคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายในประสิทธิภาพขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โยตรงอีกมากมาย อาทิเช่น ภายในเครือข่ายมีอุปกรณ์สื่อสารอยู่มากมาย เช่น สวิตซิ่งต่าง ๆ และมีการเชื่อมโยงอุปกรณ์เหล่านั้นใน
เครือข่ายทั้งที่อยูในองค์กรและต่างองค์กร อุปกรณ์เหล่านี้จะมีการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมมีการสอบถามข้อมูลกัน
ตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้ในการทำเส้นทาง เช่น RIP , OSPF , BGP เป็นต้น
จะเห็นได้ชัดว่า การใช้เครือข่ายให้ได้ผลดีในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาโปรโตคอลต่าง ๆ ขึ้นใช้งาน และการใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งานโปรโตคอลต่าง ๆ หลายโปรโตคอลทำงานร่วมกัน




โดย : นางสาว Chomkwan Suppasuk, ripw Klongluang patumtani 13180, วันที่ 27 มกราคม 2545