กระเทียม
กระเทียม

ชื่อวิทยาศาสตร์
Allium sativum Linn.

ลักษณะ
พืชล้มลุก สูง 40-80 ซม. มีหัวใต้ดิน (bulb) ซึ่งแบ่งเป็นกลีบเล็กๆ ได้หลายกลีบ แต่ละกลีบมีกาบใบแห้งๆ หุ้มไว้ในลักษณะแคบยาว กว้าง 1 - 2.5 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ปลายแหลม ดอกช่อ แทงจากลำต้นใต้ดิน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 อัน สีชมพู ผลแห้ง แตกได้สามารถปลูกได้ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ากระเทียม กลีบเล็กพันธุ์จาก จังหวัดศีรษะเกษ มีสารสำคัญมากที่สุด

สารสำคัญ
มีน้ำหอมระเหย ประมาณ 0.1-0.4% ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ allicin, ajoene, alliin, diallyl disulfide, allyl disulfide นอกจากนี้พบเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารได้แก่ allinase, alliinlase และ pectinesterase รวมทั้งวิตามินบีหนึ่งด้วย

ส่วนที่ใช้ หัวใต้ดิน

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยาเก็บหัวที่มีอายุแก่จัด 100 วัน ขึ้นไป

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร ปวดฟัน ปวดหู โรคผิวหนัง

วิธีใช้
      ใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ซึ่งเป็นผลจากสารสำคัญต่างๆ ในน้ำมันหอมระเหย allicin และ diallyl disulfide ช่วยต้าน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการสร้างสาร prostaglandin ตามธรรมชาติ allicin มีในหัวกระเทียมน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในรูป alliin เมื่อหั่นกระเทียม อากาศจะทำให้ เอนไซม์ alliinase ย่อย alliin ให้เป็น allicin ซึ่งเป็นสารที่ไม่คงตัว สลายตัวได้ง่าย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อถูกความร้อน ดังนั้น กระเทียมเจียว กระเทียมดอง จะไม่ไห้ผลเป็นยา

      ในตำรายาไทยให้ใช้กระเทียมและขิงสดย่างละเท่ากัน ตำละเอียด ละลายกับน้ำอ้อยสด คั้นน้ำจิบแก้ไอกัดเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง โดยสารที่ออกฤทธิ์ เป็นยาแก้ไอ คือ allicin ซึ่งละลายน้ำได้ และถูกทำลายด้วยความร้อน

      กระเทียมรักษากลากเกลื้อน ซึ่งเป็นผลจาก allicin มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้หลายชนิด ทำได้โดยการฝานกลีบกระเทียม แล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือตำคั้นเอาน้ำบริเวณที่เป็น โดยใช้ไม้เล็กๆ หรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็น พอให้ผิวแดงอ่อนๆ ก่อน แล้วจึงเอาน้ำกระทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆ วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อหายแล้ว ทาต่ออีก 7 วัน



 


แหล่งอ้างอิง : อินเตอร์เน็ต

โดย : เด็กหญิง สุพัตรา เลาวงษ์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 16 กันยายน 2546