เขื่อนทดน้ำ


รอบรู้ประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร

         เขื่อนทดน้ำ เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทดน้ำหรือกักเก็บน้ำ อาจก่อสร้างด้วยวัสดุที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของฐานราก ปัจจุบันประเทศไทยมีเขื่อนทดน้ำและกักเก็บน้ำ รวมกันมากกว่า 60 เขื่อน ที่สำคัญมีดังนี้

       1.เขื่อนเจ้าพระยา กั้นลำน้ำเจ้าพระยาที่คุ้งบางกระเบียน อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นเขื่อนทดน้ำที่มีขนาดใหญ่และสำคัญที่สุดในประเทศไทย สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2499

      2.เขื่อนแม่กลอง หรือเดิมชื่อ “เขื่อนวชิราลงกรณ์” ซึ่งได้รับพระราชทานนามเปลี่ยนกลับมาเป็นเขื่อนแม่กลองอีกครั้ง   เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544  เป็นเขื่อนที่สร้างกั้นลำน้ำแม่กลองที่ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง   จังหวัดกาญจนบุรี  สร้างเสร็จตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2512

      3.เขื่อนพระราม 6 หรือเดิมชื่อ “เขื่อนพระเฑียรฆราชา” เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของไทย กั้นแม่น้ำป่าสัก ที่ตำบลไก่ขัน อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อปี  พ.ศ. 2467 เพื่อประโยชน์ในการชลประทาน

      4.เขื่อนนายก กั้นแม่น้ำนครนายก ที่ท่าหุบ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างเสร็จเมื่อ ปีพ.ศ. 2479    เพื่อทดน้ำไปใช้ในการเกษตรของโครงการนครนายก

      5.เขื่อนเพชรบุรี  กั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่คุ้งท่าซิก  ตำบลท่าคอย จังหวัดเพชรบุรี สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2493 เพื่อประโยชน์ในทางการเกษตรตามโครงการเพชรบุรี และเพื่อประโยชน์ในการประมง

      6.เขื่อนบ้านนาตม กั้นลำน้ำบริบูรณ์ ใบเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.   2497  เพื่อประโยชน์ในการชลประทาน

      7.เขื่อนบ้านกันผม กั้นลำตะคอง ที่บ้านกันผม ตำบลหนองยาง จังหวัดนครราชสีมา สร้างเสร็จปี พ.ศ. 2494

      8.เขื่อนบ้านคนชุม กั้นลำตะคอง ที่บ้านคนชุม ตำบลหนองจะบก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2495

      9.เขื่อนพิมาย กั้นแม่น้ำมูล ที่คุ้งไทรงาม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สร้างเสร็จเมื่อปี  พ.ศ. 2496

     10.เขื่อนมะขามเฒ่า กั้นลำตะคอง ที่บ้านมะขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2497



แหล่งอ้างอิง : รอบรู้ประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร อักษราพิพัฒน์ 2545

โดย : เด็กหญิง ศศิกาญจน์ หาญประสิทธิ์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 15 กันยายน 2546