ผีเสื้อ
ผีเสื้อได้ชื่อว่าเป็นแมลงแสนสวย ธรรมชาสร้างสรรค์สรีระของผีเสื้อออกมาได้อย่างลงตัว ผีเสื้อจึงคู่ควรกับดอกไม้ซึ่งเป็นพืชที่มีอายุขัยสั้นเช่นกันแต่ทั้งดอกไม้และผีเสื้อ คือสิ่งมีชีวิตที่มีอายุขัยสั้นเหมือนกันก่อนจะมาเป็นผีเสื้อ แมลงชนิดนี้ไม่ถูกเรียกว่า “ลูกผีเสื้อ” แต่เริ่มต้นจากคำว่า ไข่ หนอน และดักแด้ และตัวเต็มวัย หรือ ผีเสื้อ

ผีเสื้อมี 2 ชนิด คือ ผีเสื้อกลางคืน และผีเสื้อกลางวัน สังเกตได้ง่ายๆ ผีเสื้อกลางวันจะมีสีสันสดใสกว่า หากินเฉพาะกลางวัน ปากมีลักษณะเป็นงวง แต่ผีเสื้อกลางคืน จะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ มักมีสีน้ำตาล และไม่มีลายเด่นชัด หากินกลางคืน และบางชนิดมีปากลดรูปไป จนไม่สามารถกินอาหารได้ เช่น ผีเสื้อยักษ์


 
ย้อนกลับไปดูการเริ่มต้นของการกำเนิดผีเสื้อนั้น ในภาวะการสืบพันธุ์แบบปกติแล้วตัวเมียจะผสมกับตัวผู้ครั้งเดียวเท่านั้น แต่ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียได้หลายตัว เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะหาที่วางไข่บนใบ และลำต้นของพืชอาหาร การเลือกพืชอาหารสำหรับไข่ จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของพืชอาหารสำหรับไข่ จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของผีเสื้อนั้นๆ
ก่อนวางไข่ ตัวเมียมักตรวจตรวจสอบกลิ่นพืช โดยใช้หนวดและขนบริเวณปลายขาซึ่งมีเส้นประสาทรับกลิ่นสัมผัสกับตำแหน่งที่วางไข่ก่อน วิธีการนี้ทำให้ผีเสื้อสามารถวางไข่บนพืชอาหารของตัวเองได้อย่างถูกต้อง
ระยะวางไข่ผีเสื้อโดยทั่วไปตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 100 ฟอง มีอายุ 5-7 วัน และใน 100 ฟอง นี้ใช่ว่าจะเกิดเป็นผีเสื้อ 100 ตัวในธรรมชาติ อัตราการรอดของผีเสื้อกลายมมาเป็นแมลงปีกสวยแค่ 2 % หรือ 2 ตัวเท่านั้น ที่เหลือต้องสวมบทบาทเป็นเหยื่อของนกและแมลงบางชนิดไป หรือ อาจจะถูกลมฟ้าพัดพาไข่ให้ล่องลอยไปหมดโอกาสเป็นผีเสื้อในวันข้างหน้า

ดังนั้นวิธีการหลบเลี่ยงศัตรูของผีเสื้อจะใช้วิธีการพรางตัวให้กับใบไม้กิ่งไม้ บางครั้งหากไม่สังเกตจะไม่รู้ว่ากิ่งไม้แห้งมีผีเสื้อหลบภัยอยู่ ผีเสื้อส่วนใหญ่วางไข่ในลักษณะกระจาย คือ ไม่

วางไข่ทั้งหมดอยู่บริเวณเดียวกัน จะวางเพียง 1-2 ฟองเท่านั้น ตำแหน่งที่วางไข่อาจแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่มักวางไข่ด้านล่างของพืช ระยะตัวหนอนผีเสื้อจะอยู่ในช่วงนี้ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะลอกคราบเพื่อเพิ่มขนาดของลำตัวใหญ่ขึ้น ประมาณ 5-6 ครั้ง ระยะนี้นับได้ว่าเป็นระยะที่มีการทำลายพืชมากที่สุด เพราะหนอนผีเสื้อทุกชนิดกินพืชเป็นอาหาร เรามักเห็นหนอนผีเสื้อหลายชนิดกินเกือบตลอดเวลา และส่วนที่ผีเสื้อชอบกินมากที่สุด คือ ใบ
ผีเสื้อจะไม่กินไม้ผลไม้ดอก และจากการศึกษาพบว่า ผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่ไม่กินพืชเศรษฐกิจ ศัตรูที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจ คือ ผีเสื้อกลางคืน
ผีเสื้อเมื่อหมดระยะตัวหนอนจะกลายร่างเป็นดักแด้ใช้ชีวิตช่วงนี้ 5-7 วัน และตัวเต็มวัยประมาณ 10-20 วัน เป็นอันจบชีวิตของแมลงแสนสวย

 



แหล่งอ้างอิง : จาก www.google.com

โดย : เด็กหญิง สิรินดา ศรีสันต์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 15 กันยายน 2546