ชีวิตกับการศึกษาในยุคดอทคอม

          การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีแหล่งความรู้ ที่สามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่สามารถปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งการเรียนการสอนที่ต้องเรียนในชั้นเรียนแบบผสมผสาน และถ้าหากผู้เรียนต้องการจะทบทวนวิชาความรู้สามารถศึกษาบทเรียน จากการเข้าถึงระบบการเรียนการสอนด้วยตัวเองจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นๆ ตามความต้องการได้ซึ่งเป็นระบบห้องเรียนเสมือนจริง นอกจากนั้นยังมีระบบการเรียนด้วยตัวเอง เป็นกิจกรรมเสริม

            การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้สามารถนำความรู้ข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ได้ทันที และผู้ที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น สามารถพัฒนากรอบแนวคิดและพัฒนาระบบการคิดให้สามารถประยุกต์และใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุดในอดีตนั้นต้องอาศัยอาจารย์ผู้สอนที่มีจิตวิทยาในการสอนที่ดี ผู้เรียนจึงจะมารถเรียนรู้ได้แต่การเรียนการสอนในรูปแบบใหม่จะไม่ใช่ให้นักเรียน นิสิตนักศึกษามีหน้าที่เพียงแค่ท่องจำ ท่องตามครูผู้สอนหรือศึกษาจากตำราเพียงเล่มเดียวอีกต่อไปแต่สามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้อีกมากมาย จากแหล่งความรู้ สื่อออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกมุมโลกผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

          ส่วนของผู้สอนต้องปรับบทบาทของตัวเองจากที่เป็นผู้ที่นำเสนอใช้การเขียนกระดาน จัดทำแผ่นใสประกอบการสอนต้องปรับตัวให้เป็นผู้ชี้นำ และเรียนรู้ในสิ่งใหม่ไปพร้อมๆ กับนักเรียน นักศึกษา และคอยแนะนำเพื่อให้มีความคิดสร้างสรรค์ความคิดที่ผสมผสานกับความรู้ใหม่เปลี่ยนระบบการเรียนแบบที่ต้องนั่งฟัง ซึ่งอาจจะไม่สามารถรับรู้อะไรได้เลยมาเป็นการเรียนรู้ที่มีการโต้ตอบ และต้องปรับให้เกิดความรู้สึกในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ได้อยู่ที่คะแนนสอบเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องวัดจากการสร้างและสังเคราะห์ความรู้ จากการเรียนได้

          บทบาทของอาจารย์ผู้สอนจะไม่ใช่เพียงคนสอนหนังสือ แต่จะเป็นผู้สร้างความรู้ สามารถนำองค์ความรู้ รวบรวมสารสนเทศที่เป็นประโยชน์จากที่ต่างๆมาเก็บไว้หรืออาจจะทำเป็นเวบไซต์เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาเข้าถึงได้ มีระบบการโต้ตอบ และรับปรึกษาปัญหาในระบบออนไลน์ เปิดกระดานข่าวสารเพื่อเเลกเปลี่ยนความรู้

           ระบบเครือข่ายความเร็วสูงในปัจจุบัน การพัฒนาเนื้อหาความรู้สามารถทำได้ในรูปแบบมัลติมีเดีย ส่งผ่านกระจายไปในระบบเครือข่ายต่างๆ ด้วยความเร็ว ทั้งสัญญาณวิดีโอ ภาพเสียงโดยที่จะทำให้ความน่าสนใจในการเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

          การวัดประสิทธิภาพในการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนที่ยังวัดจากคะแนน ในความเป็นจริงและสภาพแวดล้อมที่ต้องแข่งขันในธุรกิจพบว่าบุคลากรบางคนไม่ได้มีคะแนนจากการเรียนในระบบการศึกษาเดิมสูงมากมาย แต่กลับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวคิดที่ใหม่ มีวิสัยทัศน์แต่พบว่ามีบุคลากรอีกส่วนต้องใช้เวลาและทำความเข้าใจอีกหลายรอบจึงจะสามารถทำงานและคิดงานออกมาได้ ซึ่งเป็นภาระและค่าใช้จ่ายที่สูง

          ในระบบการเรียนการสอนต้องปรับกระบวนการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพและความเป็นไปได้ การเรียนในระบบใหม่ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ให้คนไทยสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

           ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล จะมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ

          1.สภาพการเรียนรู้ เป็นความพร้อมภายในตัวผู้เรียนด้านความสามารถที่มีอยู่ก่อนและสภาพภายนอกที่จัดแก่ผู้เรียน

          2.เหตุการณ์ในการเรียนรู้ หมายถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนรู้

          สารนิเทศ หรือสารสนเทศ คือ ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ข้อเท็จจริง ความคิดที่ได้บันทึกไว้ในสื่อ หรือทรัพยากรสารนิเทศแบบต่างๆ ซึ่งบุคคลสามารถรับรู้ได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามความต้องการ

           ส่วนระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนรู้ การศึกษา สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ จากที่บ้านหรือจาก ณ ที่ใดๆ ก็ได้ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในห้องเรียนอาจจะติดตั้งระบบเครือข่ายการจัดทำเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นแม่ข่ายในการเตรียมบทเรียนการเตรียมองค์ความรู้ นอกจากนั้นต้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับบริหารและจัดการเครือข่ายเพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพสูงสุด

          

แหล่งอ้างอิง :

http://cortrainthai.hypermart.net/journal/e-learn1.doc

http://www.learn.in.th/tawanwong01.html

www.tiac.or.th/tiacthai/seminar/skill/inf_lit_new.ppt

http://www.thaigov.go.th/news/speech/thaksin/sp19jul44.htm

 


ที่มา : http://cortrainthai.hypermart.net/journal/life_it.doc

โดย : นาย ภาคภูมิ ศรีจันทร์ทับ, สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 14 กันยายน 2546