สารสนเทศ/สารนิทศ

สารสนเทศ/สารนิเทศ (Information)
ก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า Information ขอแสดงความคิดเห็นถึงคำนี้ก่อนว่าทำไมจึงมีการใช้คำภาษาไทยสองคำนี้ แทนคำว่า Information ก่อนดังนี้ แรกเริ่มเดิมทีได้มีกลุ่มนักบรรณารักษศาสตร์ใช้คำว่า สารนิเทศ แทนคำว่า Information ต่อ คำว่า Information มีการกล่าวถึงกันเป็นจำนวนมาก ก็เนื่องมาจากกระแสของ Information age จึงมีนักวิชาการศาสตร์อื่น ๆ ให้ความสนใจและแสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น เริ่มมีการใช้คำภาษาไทยว่า สารสนเทศแทนคำว่า Information ซึ่งในรายละเอียดทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วถือว่าไม่แตกต่างกัน
เมื่อเราทราบที่มากันแล้วลองไปดูความหมายของคำว่าสารสนเทศกันบ้าง สารสนเทศนักวิชาการหลาย ท่านมักกล่าวกันในทำนองว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล (Data ซึ่งอาจได้แก่ facts, news, message, หรือที่เราเรียกกันรวม ๆ ว่า ข้อมูลดิบ (Raw data)) ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล (Processs) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data manipulation) เช่น การรวบรวม การตรวจสอบ การแยกออกเป็นหมวด การคำนวณ การเรียงลำดับ เป็นต้น แล้วได้ผลลัพธ์ออก เรียกผลลัพธ์นั้นว่า สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่ในทัศนะของผู้เขียนขอเน้นเพิ่มเติมประเด็นเกี่ยวกับผลลัพธ์ว่า จะยังไม่ใช่สารสนเทศน่าจะเรียกผลลัพธ์นั้นว่า ข้อมูล (ที่ผ่านการประมวลผล) (Processed data) มากกว่า เพราะการที่ผลลัพธ์นั้นจะเป็นสารสนเทศได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่นำผลลัพธ์นั้นไปใช้ เห็นว่าผลลัพธ์นั้น ถูกต้อง/แม่นยำ (Accurate) ตรง/สัมพันธ์กับความต้องการ (Relevamce) และทันกับการใช้งาน(Timeliness) จึงจะเรียกผลลัพธ์นั้นว่า สารสนเทศ
แสดงให้เห็นว่า ผลลัพธ์อากเป็นได้ทั้งข้อมูลและสารสนเทศขึ้นอยู่ผู้ใช้ผลลัพธ์นั้น ๆ



โดย : นาย aek sichaliang, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 24 มกราคม 2545