อวกาศและระบบสุริยจักรวาล
ดวงจันทร์เป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดของเรา ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกเพียง 384,400 กม. ดังนั้นจึงมักเป็นเป้าหมายของยานอวกาศ ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปถึงดวงจันทร์คือ ยานลูน่า 2 ของรัสเซีย ซึ่งเกิดระเบิดขณะลงจอดในปี พ.ศ. 2502 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2509 จึงมียานอวกาศลงจอดได้อย่างปลอดภัย และนับแต่นั้นเป็นต้นมา เราจึงได้รับข้อมูลมากมายเกี่ยวกับดวงจันทร์
     ปัจจุบัน การสำรวจ อวกาศ-ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์และดวงดาวต่างๆเป็นการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่ ความรู้เกี่ยวกับจักรวาลของเรานั้น เป็นผลจากการสำรวจอวกาศ จรวดที่ส่งจากโลก ได้นำมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ นำดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลก และยังส่งอุปกรณ์ทดลองทางอวกาศต่างๆ ไปสำรวจดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุด ที่จะไปถึงได้ในระบบสุริยจักรวาล
     ในสมัยก่อนมนุษย์สามารถเห็นดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยจักรวาลของเรา โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ยายอวกาศได้ถูกส่งไปท่องในอวกาศและส่งภาพถ่ายของดาวเคราะห์ต่างๆแม้ที่อยู่ไกลที่สุดมายังโลก ยายสำรวจอวกาศเหล่านี้ ทำให้มนุษย์ค้นพบความจริงอันมหัศจรรย์เกี่ยวกับดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของเรา แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบว่ามีสิ่งมีชีวิตใดๆอยู่ในดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ
     ดาวพลูโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 6 พันล้าน กม. ดาวที่อยู่ใกล้โลกเรามากที่สุดนั้น อยู่ห่างออกไปอีกเกือบ 7000 เท่า ซึ่งทำให้เราเห็นภาพได้ว่าอวกาศนั้นกว้างใหญ่ไพศาลขนาดไหน แต่นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า จักรวาลนั้นมีขนาดใหญ่สักเพียงใด หรือมีดาวทั้งหมดกี่ดวง

 


โดย : เด็กหญิง ดลยา บุญธรรม, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 10 กันยายน 2546