กระดูกซี่โครงหัก
กระดูกซี่โครงหัก (Rib fracture)กระดูกซี่โครงหัก มักเกิดจากแรงกระแทกถูกบริเวณซี่โครงโดยตรง เช่น ถูกตี ถูกเตะ หกล้มกระแทกถูกพื้นหรือมุมโต๊ะ ถูกรถชน เป็นต้น ส่วนมากจะไม่มีอาการรุนแรงและค่อยๆ หายได้เองส่วนน้อยอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะก้มงอ บิดตัว หรือหายใจแรงๆ และเมื่อใช้นิ้วกดถูกเบาๆ จะรู้สึกเจ็บ ถ้ากระดูกหักรุนแรง ทิ่มแทงถูกเนื้อปอด อาจทำให้เกิดภาวะมีลมในช่องหรือปอดทะลุ หรือมีเลือดออกในช่องปอด (Hemothorex) ผู้ป่วยจะมีอาการหอบตัวเขียว ไอออกเป็นฟองเลือดสดๆ หรือช็อก หน้าอกเคาะโปร่ง (ถ้ามีลมในช่องปอด) หรือเคาะทึบ (ถ้ามีเลือดในช่องปอด) ถ้ามีบาดแผลที่ผิวหนัง ทะลุถึงในปอด จะมีลมจากภายนอกผ่านบาดแผลเข้าไปในช่องปอด ทำให้เกิดภาวะมีลมในช่องปอดได้เช่นกัน ถ้ากระดูกซี่โครงหักหลายแห่ง (มักพบในกรณีที่เกิดจากรถชน รถคว่ำ) อาจทำให้เกิด ภาวะอกรวน (Flail chest) จะมีอาการหอบ ตัวเขียว ช็อก และหายใจผิดธรรมดา คือหน้าอกส่วนนั้นจะยุบลงเวลาหายใจเข้า และโป่งขึ้นเวลาหายใจออก ซึ่งตรงกันข้ามกับหน้าอกส่วนที่ปกติ ภาวะอกรวมมักเกิดในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปมากกว่าตนหนุ่มสาว
การรักษา
  1. ถ้ามีอาการหอบ ตัวเขียว ช็อก หรือสงสัยมีลมหรือเลือดอยู่ในช่องปอด หรือสงสัยมีภาวะอกรวน ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้ามีแผลที่ผิวหนังทะลุถึงปอด ให้ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อชหนาๆ ปิดอุดรูรั่ว ถ้ามีภาวะอกรวน ให้ใช้มือกดบริเวณนั้นไว้ หรือให้ผู้ป่วยนอนตะแคงให้ส่วนนั้นทับบนหมอน หรือใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าเช็ดตัวพับหลายๆทบ วางบนส่วนนั้น แล้วใช้ผ้าพันไว้ไม่ให้หน้าอกยุบพองอีก
  2. ถ้ากระดูกซี่โครงหักแบบธรรมดา ไม่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว เพียงแต่รู้สึกเจ็บปวด ขณะเคลื่อนไหวหรือหายใจแรงๆ ให้นอนพักพยายามเคลื่อนไหวให้น้อย ที่สุด อย่าหายใจเข้าออกแรงๆ และให้กินยาแก้ปวด ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าพันหรือเข้าเฝือกรอบหน้าอก อาการเจ็บปวดจะค่อยๆดีขึ้น อาจกินเวลา 1 - 2 สัปดาห์ และอาจกินเวลาเป็นเดือนๆ กว่าจะอาการปวดจะหายขาด ถ้าอาการปวดไม่ทุเลาขึ้นใน 1 - 2 สัปดาห์ หรือมีอาการหายใจหอบ ไอเป็นเลือดสดๆ ซึดหรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อน ควรส่งโรงพยาบาล



แหล่งอ้างอิง : www.google.co.th

โดย : น.ส วาสนา สิทธิกัน, สถาบันราชภัชอุตรดิตถ์, วันที่ 10 กันยายน 2546