ภูเก็ต

         สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว

         เมือง เขารังเป็นสวนสุขภาพสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและจุดชมวิวเมืองภูเก็ตสะพานหินเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ชาวออสเตรเลียผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย เมื่ พ.ศ.2452
         ตึกสมัยเก่าในตัวเมืองภูเก็ต ฟาร์มชนะเจริญ  มีการแสดงจระเข้และช้าง เกาะสิเหร่ มีหมู่บ้านชาวเลหรือชาวนา
         สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำแหลมพันวา สวนผีเสื้อและอแควเรียม ภูเก็ต หมู่บ้านไทยและสวนกล้วยไม้ มีการแสดงของช้างวัดฉลอง มีรูปหล่อหลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อช่วง ที่ชาวภูเก็ตเคารพสักการะ
         อ่าวฉลอง หาดแหลมกาใหญ่ มีเรือให้เช่าไปชมเกาะต่างๆหาดราไว เกาะแก้วพิสดาร  แหลมพรหมเทพ  หาดในหาน  อ่าวกะตะ  อ่าวกะรน  หาดสุรินทร์  แหลมสิงห์  ล้นเป็นสถานที่สสวยงาม
         ฟาร์มมุก  มีหลายแห่ง  เช่น  ที่เกาะรังน้อย  เกาะรังใหญ่  เกาะนาคาน้อย  เกาะนาคาใหญ่
         เกาะต่าง ๆ รอบภูเก็ตและในทะเลอันดามันถึง  39  เกาะ เช่นเกาะราชาใหญ่  เกาะไม้ท่อน  เกาะเฮ  เกาะโหลน  นอกจากนี้ยังเช่าเรือไปยังเกาะในจังหวัดใกล้เคียง เช่นเกาะยาว  หมู่เกาะในอุทยานแห่งชาติพังงา  หมู่เกาะพีพี  เป็นต้น
         อ.ถลาง 
อนุสาวรีย์วีรสตรี  ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีนุนทร  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง  อุทยานแห่งชาติเขาพระแทว  วัดพระทอง  มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์  อุทยานแห่งชาติในยาง  มีแนวปะการังสวยงาม  มีปลานานาชนิด และเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บนหาดในยาง และหาดทรายแก้ว  หาดไม้ขาวหรือหาดสนามบิน
         อ.กระทู้  อ่าวป่าตอง  อ่าวกมลา

สินค้ามีชื่อ-ของที่ระลึก
        
ผลิตภัณฑ์จากไข่มุก  เช่น  สร้อยไข่มุก  แหวนมุก  เครื่องประดับ  โคมไฟ  โมบาย  ซึ่งทำจากเปลือกหอย  ผ้าบาติก  เม็ดมะม่วงหิมพานต์

งานเทศกาล-ประเพณี
         เทศกาลอาหารทะเล  ประมาณเดือนพฤษภาคม  เทศกาลกินเจ  กำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 1-9 ค่ำ  เดือน 9 ของจีน  ราวเดือน  กันยายน-ตุลาคม  งานประเพณีปล่อยเต่า  ตรงกับวันที่  13 เมษายน (วันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติ)  ณ หาดในยาง

คำขวัญประจำจังหวัด
         "ไข่มุกแห่งอันดามัน"  และ  "ไข่มุกอันดามัน  สวรรค์เมืองใต้   หาดทรายสีทอง  สองวีรสตรี  บารมีหลวงพ่อแช่ม"

 


แหล่งอ้างอิง : กิตติ ธนิกกุล. 2542. แผนที่ประเทศไทย 76 จังหวัด. สุวีริยาสาส์น : กรุงเทพฯ.156 หน้า.

โดย : เด็กหญิง อรุณทิพย์ กุ้ยเซ่ง, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 6 กันยายน 2546