วัดไทย
คลิกเพื่     วัดไทย
        เป็นเวลาช้านานที่ผู้คนบนผืนแผ่นดินไทยมีวิถีชีวิตผูกพันกับ พระพุทธศาสนา    ดังปราณคดีนับแต่ในสมัยทวาราวดี
       ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 นักโบราณคดีได้พบร่องรอยศิลปวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นศิลธรรรมจักร พระพุทธรูป และกระทั่ง
       สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ในความเชื่อฝ่ายมหายาน อันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงพลังศรัทธในพระพุทธศาสนาซึ่งเจริญขึ่นในช่วงเวลานั้น
        
                    ศาสนสถานในพระพุทธศาสนาเรียกกันทั่วไปว่า  พุทธสถาน หากศาสนสถานได้รับการสร้างขึ่นในบริเวณเดียวกัน
            มีกำแพงล้อมรอบ กำหนดขอบเขตที่แน่นอนแล้ว  จะเรียกขานกันทั่วไปว่าวัด โดยทั่วไปวัดจะประกอบด้วยอาคาร
            สิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ  เพื่อการสักการบูชาและบำเพ็ญศาสนกิจ รวมถึงสิ่ง ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของอาคารนั้น ๆ
            อาทิ โบสถ์ วิหาร เจดีย์  เสมา หอไตร ศาลาการเปรียญ และกุฏ เป็นต้น
                       
                               ท่ามกลางควาวเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย วัดได้รับการสร้างขึ้นตามความเชื่อที่เปลี่ยนไปของผู้คนในแต่ละยุค
                       แต่ละถิ่น เกิดเป็นงานศิลปกรรมที่มีรูปลักษณ์เฉพาะกาล เฉพาะถิ่น  แม้รูปแบบทางศิลปกรรมจะ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
                       หากวัดยังคงทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมศรัทธาความเชื่อของผู้คนเรื่อยมา ดังจะเห็นได้ว่ามีการก่อสร้างวัดมาอย่างต่อเนื่อง
                       นับแต่พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลงในวิถีชีวิตผู้คน บนดินแดนนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ราวพุทธศตรรษที่11 จวบจนปัจจุบันอเพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : ภูมิแผ่นดินไทยเล่ม3

โดย : เด็กหญิง วาสนา ชิตกรหาร, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 29 สิงหาคม 2546