ละคร
ละครเก่าเก่มาแต่ครั้งกรุงครีอยุธยา
เชือกันว่า ต้นเค้าของการแสดงนั้นแรกเริ่มมาจากการเล่านิทานในสมัยโบราณจากการพูดเล่ากันอย่างธรรมดา ต่อมามีการแต่งบทเล่าให้เป็นกลอนก่อให้เกิดการละเล่นที่เรียกกันว่าขับเสภาขึ้น จากนั้นในภายมีการนำคนมารำให้เข้ากับท่วงทำนองเพลงกลายมาเป็นเสภารำ ซึ่งเสภารำนี้เองที่น่าจะเป็นต้นเค้าแห่งละครในเวลาต่อมา
 ส่วนละครจะมีขึ้นมาในประเทศไทยตั้งแต่ครั้งใดนั้น ยังไม่ปรากฎหลักฐานแน่นชัด แม้ว่าจะพบชื่อละคร อยู่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นครั้งแรกก็ตามหากก็มีการสันนิษฐานว่าแท้ที่จริงแล้ว ละครว่าน่าจะมีมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือนาฎศิลป์ของหลวงวิจิตรวาทการที่ได้ระบุเอาไว้ว่า "การละครเป็นที่นิยมแพร่หลายขึ่นในสมัยต้นๆแห่งกรุงศรีอยุธยา" ซึ่งสอดคล้องกับข้อเขียนของ สุจิตต์ วงษ์เทศซึ่งได้กล่าวไว้ว่า
 ละครมีรากฐานมาจากประเพณีร้องรำทำเพลงที่มีเรื่องนิยายชุมชนชาวบ้านมาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ แต่ยังไม่พบร่องรอยว่าเริ่มเข้าสู่ราชสำนักเมื่อไร เพิ่งมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยเพราะนารายณ์   ก็กลายเป็นการละเล่นศักดิ์สิทธิ์ที่เล่นคราวละ 3 วันแล้ว ย่อมแสดงว่าราชสำนักกรุงศรีอยุธยาจะต้องค้นเคยกับละครมาก่อนหน้านั้นนานพบสมควรที่เดียว
 ละครสมัยอยุธยาเล่นกันกลางแจ้ง มีคนอยู่ 3 ด้าน อีกด้านที่เหลือเป็นที่สำหรับพิณพาทย์และตัวละครใช้แต่งตัว เครื่องประดับสถานที่มีเพียงคอนซึ่งทำจากกระบอกไม้ไผ่ให้ตัวละครนั่ง ภายหลังจึงเปลี่ยนมาใช้เตียงแทนผู้แสดงมีเพียง ๓ ตัว ได้แก่ พระเอก นางเอก และตัวตลก ครั้งพอได้รับความนิยมมากขึ่น จึงได้มีการปลูกโรงชั่วคราวโดยมีผ้าม่ามกั้นเพียงผืนเดียว  ...กล่าวกันว่า การแสดงละครร่งเรืองมากในรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
 เดิมที่เดียวละครมีชื่อเรียกและแบ่งประเภทออกเป็นละครชาตรี ละครนอกและละครใน ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เกิดมีละครร้อง และละครพูดขึ่น จึงมีการเรียกละครแบบดั้งเดิม คือ ละครชาตรี ละครนอก แลละละครใน รวมกันเป็นละครรำ


แหล่งอ้างอิง : มหรสฑไทยภูมิแผนดินไทยเล่มที่8

โดย : เด็กหญิง บุปผา ม่วงอมร, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 29 สิงหาคม 2546