ละคร.ลำตัด
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

คลิกเพื่อเพิ่ม  
   ลำตัด .  ทายาทจากลิเก

 ลำตัด  เป็นการละเล่นที่แตกยอดมาจากลิเกอีกทอดหนึ่ง  การปรับเปลี่ยนของลิเกให้ห่างจากพิธีกรรมทางศาสนามาสู่ความบันเทิงมากยิ่งขึ้น  ได้ทำให้เกิดการแยกออกจากกันเป็นสองสาขา  ดังคำให้การของหมื่นขับคำหวาน  ( เจิม  นาคมาลัย )  ผู้อยู่ใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นได้เล่าไว้เมื่อปี  พ. ศ. 2496  ว่า

 "  เมื่อพวกลิเกได้ร้องบันตนและตีกลองรำมะนากันไปจนสุดสิ้นกระบวนความ  หรือสมควรแก่เวลาแล้ว  ก็เริ่มแยกการแสดงพลิกแพลงออกได้เป็น  2  สาขา  สาขาหนึ่งเรียกว่า  ฮันดาเลาะ  แสดงเป็นชุดต่าง ๆ เช่น  ชุดต่างภาษาบ้าง  เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง  อันเป็นต้นทางให้เกิดลิเก  ( หรือนาฏดนตรี )  ... อีกสาขาหนึ่งเรียกว่า  ละกูยา  เป็นการแสดงว่ากลอนด้นแก้กัน  อันเป็นต้นทางของลิเกลำตัด  หรือลำตัด "

 คำว่า  ละกูยา  นั้น  มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเพี้ยนมาจากคำมลายูว่า  ลากูยูร  ซึ่งหมายเพลงที่ร้องแสดงความเหน็ดเหนื่อย  หรือเพลงที่ใช้เล่นตอนพักเหนื่อยจากการเดินทาง  ( A  R ecordlng  of  The  Mal  Yong  .  Mobln  Shapperd   P. 63  )  คำว่า  ลากู  ในภาษามาเลเซียและอินโดนีเซีย  แปลว่า  กิริยาท่าทาง  มาดและการแสดง  ส่วนคำว่า  ลำตัด  นั้นหมายถึงการร้อง ( ลำ )  เชือดเฉือนกัน  ( ตัด )  ด้วยคารมรุนแรง

 ในสมัยโบราณการแสดงละกูยา  จะเริ่มด้วยผู้ตีรำมะนาหลาย ๆ  คนซึ่งก็เป็นนักร้องด้วย  ออกมาตั้งวงร่วมเป็นวงเดียว  ตีรมนะนาโหมโรงด้วยเพลงรำมะนาล้วน ๆ ก่อน  จากนั้นผู้เป็นต้นบทจะนำร้องเพลงบันตนเพลงใดเพลงหนึ่งซึ่งเป็นภาษาแขก  อันเป็นบทร้องสร้อยสำหรับลูกคู่รับขึ้นก่อน  แล้วบรรดาผู้ที่ตีรำมะนาในวงนั้นก็จะร้องตามอีก  2  เที่ยว  ต้นบทจึงแยกร้องออกเป็นใจความสั้น ๆ  และลูกคู่ก็ร้องรับอยู่ในทำนองเดิมนั้นไปตลอด  นานพอสมควรแล้วต้นบทก็จะเปลื่ยนเพลงต่อไปเป็นลำดับ  ผู้ร้องต้นบทนั้นจะมีกี่คนและผลัดเปลี่ยนกันอย่างไรก็ได้  บางทีผลัดกันร้องเป็นต้นบทเรียงลำดับไปทั้งวงก็มี

 ภายหลังถ้อยคำที่ร้อง  มีการแทรกคำไทยเข้าไปมาก  เหลือภาษาแขกไว้แต่คำที่ลูกคู่รับ  จนต่อมาร้องเป็นคำไทยทั้งหมดในที่สุด  การแสดงประเภทนี้แบ่งออกเป็น  2  รูปแบบ  ได้แก่  แบบหนึ่งคือการกล่าวกันให้เสียหาย  เพื่อให้อีกฝ่ายแก้  อีกแบบเป็นการสอบถามความรู้กัน

 การแสดงในลักษณะนี้  เดิมที่เรียกกันว่า  ลิเกลำตัด  ภายหลังเรียกกันให้สั้นเข้าจนเหลือลำตัด  แรกเริ่มเล่นกันวงเดียว  ต่อมามีการประชันว่าแก้กันเพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน  จึงมีการประกวดประขันทั้งฝีมือตีรำมะนา  เพลงที่ร้องกลอนด้นของต้นบท  ตลอดจนท่ารำ

 ลำตัดเมื่อเริ่มต้น  ผู้แสดงเป็นชายล้วน  ภายหลังจึงมีผู้หญิงมาร่วมแสดงด้วยเช่นที่เห็นในปัจจุบันข้อความ



แหล่งอ้างอิง : หนังสือในชุด ภูมิแผ่นดินไทย บริษัท ไทยประกันชีวิต เล่มที่ 8

โดย : เด็กหญิง สุภาวดี เงินแย้ม, ร.ร. เมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 28 สิงหาคม 2546