โขน

 โขน ระบำ รำเต้น เล่นอาวุธสู้รบ
สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้ตั้งการสังเกตถึงการละเล่นโขนไว้ใน ศิลปวัฒธรรม ฉบับพิเศษร้องรำทำเพลง ดนตรีนาฎศิลป์ชาวสยาม ไว้ว่า
 โขน ไม่น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการละเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว(อย่างที่เคยอธิบายกันสือมาว่า โขนมีกำเนิดมาจากชักนาคดึกดำบรรพ์หรือโขนมีกำเนิดมาจากหนัง เป็นต้น )แต่โขนควรเป็นการละเล่นซึ่งก่อรูปขึ้นมาจากประเพณีหลายๆอย่างที่มีอยู่ก่อนแล้วคือ   หนัง   ระบำ   รำเต้น   ชักนาค  ดึกดำบรรพ์  ให้รวมเข้าด้วยกันแล้วกลายเป็นสิ่งใหม่เรียกชื่อว่า  โขน
 พร้อมทั้งกล่าวอ้างถึง  การระบำรำเต้นที่เรียกกันว่า สรรพยุทธ-สรรพคิลาอันเป็นการละเล่นที่เรียนรู้แบบการออกท่าทางมาจากการสู่รบ  ชักนาคดึกดำบรรพ์  การละเล่นเรื่องกวนเกษียรสมุทรหรือกวนน้ำอมฤตของราชสำนักเขมร  ซึ่งได้แพร่หลายมายังสยาม  หนัง  ละคร  และอีกหลายๆการละเล่นเพื่อชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและลักษณะการละเล่นแต่ละประเภท  ที่ได้ผสมผสานกลมกลื่นอยู่ในการแสดงโขน
 ซึ่งหากเราเชื่อตามข้อสันนิษฐานดังกล่าวแล้ว  จะพบว่าโขนก็คือรูปแบบของการพัฒนาขั้นสูง  ที่รวมเอาการแสดงครบกระบวนทั้งระบำ  รำ  และเต้นเข้าไว้ด้วยกัน  ทั้งผู้แสดงเองก็จำต้องเรียนรู้ทักษะการแสดงศิลปะหลากหลายแขนง  ผสานเป็นท่วง่ทาอันอลังการ  ซึ่งทำให้การแสดงโขนถูกยกย่องว่าเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของมหรสพไทยเสมอมา
 การแสดงโขนยังถูกสังวนไว้เฉพาะงานพระราชพิธี  หรือเนื่องในโอกาสเหตุสำคัญของบ้านเมือง  นอกจากนั้นเรื่องที่ใช้เล่นก็จะต้องเป็นเรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น  อันแสดงให้เห็นถึงการวางตำแหน่งของมหรสพประเภทนี้ไว้ในระดับยอดของสังคมไทย  นับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
 การแสดงโขนนั้น  ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน  ยกเว้นเพียงตัวตลกเท่านั้น   มีผู้พากย์  ผู้ร้อง  และผู้เจรจาแทนผู้แสดง  ส่วนดนตรีที่บรรเลงประกอบคือ  วงปี่พาทย์  ซึ่งขนานของวงจะขึ่นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่และโอกาส  การแสดงโขนจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท  คือ
โขนกลางแปลง  เป็นการแสดงบนพื้นดินกลางสนาม  ไม่จำเป็นต้องมีโรง  เดิมคงมีการแสดงในส่วนของการยกทัพและรบกัน  มีบทพาทย์และบทเจรจาพร้อมปี่พาทย์บรรเลงหน้าพาทย์
โขนโรงนอก       หรือโขนในราว  จัดแสดงบนโรง  ไม่มีเตียงหรือตั้งสำรับนั่ง มีแต่ราวตามขนานส่วนยาวของโรง  สำหรับผู้นั่งหลังจากจบการแสดงบทบาทของตนแล้ว  ไม่มีการขับร้อง  มีแต่บทพาทย์กับบทเจรจา  ปี่พาทย์บรรเลงแต่เพลงหน้าพาทย์
โขนหน้าจอ         คือโขนเล่นหน้าจอซึ่งใช่สำหรับเล่นหนังใหญ่  ในยุคแรกจะมีการเล่นโขนหน้าจอสลับกันไปกับการเล่นหนังใหญ่  แม้ต่อมามีการสร้างโขนยกพื้นขึ่งมาเพื่อการแสดงโขนโดยเฉพาะแล้วก็ตาม  การสร้างฉากหลังให้เหลือเค้าของจอหนังก็ยังคงเ)นประเพณีสืบมา
โขนโรงใน         เป็นการนำโขนมาผสมกับละคร  การแสดงมีทั้งออกท่ารำ  เต้น  และมีบทพากย์เจรจาตามแบบโขน  นำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาของดนตรีแบบละครใน
โขนฉาก             เป็นที่ใช้ฉากประกอบเรื่องตอนต่างๆคล้ายละครดึกดำบรรพ์แต่วิธีแสดงเป็นแบบโขนร้องใน  มีขับร้อง  กระบวน่ทารำ  มี่ทาเต้น  มีหน้าพาทย์ตามบทละครใน  และโขนในโรง   

  



แหล่งอ้างอิง : ภูมิแผนดินไทย

โดย : เด็กหญิง บุปผา ม่วงอมร, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 28 สิงหาคม 2546