เรือนไทยภาคอีสาน
เรือนไทยภาคอีสาน
 เรือนไทยภาคอีสานถือได้ว่าเป็นเรือนไทยที่แทบจะหาเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ได้สืบเนื่องมาจากที่อยู่ของชาวบ้านแถบนี้มักสร้างขึ้น
อย่างง่ายๆ ไม่มีระเบียบแบบแผนแน่นอน ภายในเรือนมีเนื้อที่ใช้สอยพอเหมาะแก่ความจำเป็น
 เรือนไทยภาคอีสานมีทั้งเรือนเครื่องผูกและเรือนเสาไม้จริง นิยมสร้างเป็นเรือนเดี่ยว ใต้ถุนสูง ตีสายบัว ตัวบ้านค่อนข้างทึบ หน้าต่าง
เล็ก หลังคาเป็นหน้าจั่วแต่ไม่สูงเท่าเรือนไทยภาคกลาง ชายคาค่อนข้างกว้างและต่ำ มีทั้งหลังคาที่มุงด้วยกระเบื้อง แป้นเกล็ด (กระเบื้องไม้) และแฝก
 เรือนไทยภาคอีสานเท่าที่หลงเหลือถึงทุกวันนี้ แทบไม่มีเรือนหลังใดซึ่งมีอายุเก่าแก่เกินกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป สภาพบ้านเรือนในขณะนี้เกือบ
ไม่เห็นหลงเหลือรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นแบบดั้งดิม ชุมชนหลายแห่งเปลี่ยนไปทำหลังคาให้แบนลาดลง ทั้งยังเปลี่ยนไปใช้สังกะสีมุงหลัง
คา ส่งผลให้วัฒธรรมการปลูกเรือนของเรือนไทยภาคอีสานเสี่ยงต่อการสูญหายมากกว่าเรือนไทยในภาคอื่นๆ


แหล่งอ้างอิง : หนังสือชุดภูมิแผ่นดินไทยบริษัทไทยประกันชีวิตจำกัดเล่มที่2

โดย : เด็กหญิง ศิราณี ชัยวิสิทธิ์, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 28 สิงหาคม 2546