เรือนไทยภาคเหนือ
|
|
เรือนไทยภาคเหนือ ภาคเหนือนับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ดำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและรูปแบบของบ้านเรือนโบราณได้มากกว่าภาคอื่นๆของประเทศ เรือนในภาคนี้ เป็นเรือนที่ตั้งบนเสาสูง แต่เสาของเรือนไทยภาคเหนือจะไม่สูงเท่าเรือนฝาปะกนในภาคกลางส่วนประกอบที่สำคัญของเรือนภาคเหนือคือ บ้านน้ำ หรือเรือนน้ำ สำหรับวางโอ่งน้ำพร้อมกระบวย ให้ผู้สัญจรผ่านไปมาได้ดื่มกิน ส่วนใหญ่บ้านน้ำหรือเรือนน้ำ มักตั้งอยู่ตรงชายคาเรือน มีการยกพื้นมุมหลังคาให้เป็นพิเศษ ครัวของเรือนภาคเหนือส่วนใหญ่อยู่แยกจากเรือนนอน มีระเบียงหลังบ้านติดกับเรือนครัว ที่ เติ๋น หรือระเบียงซึ่งอยูบริเวณด้านหน้า มักทำหิ้งบูชาพระพุทธรูปเอาไว้ หลังคาเรือนไทยภาคเหนือเป็นทรงหน้าจั่วคล้ายกับเรือนไทยภาคอื่นทว่าจะถ่างมากกว่า อาจพบปั้นลมเหนืออกไก่ บางครั้งมีการแกะสลักเป็น ลวดลายที่ยอดของปั้นลมซึ่งไขว้กันอยู่เรียกว่า กาแล คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าเรือนกาแลเป็นลักษณะเฉพาะของเรือนภาคเหนือทั้งหมด แต่ความเป็นจริงคือ เรือนกาแลเป็นเพียงเรือนไทยภาคเหนือประเภท หนึ่งซึ่งพบมากในเขตเชียงใหม่ ลำพูน และลุ่มน้ำปิงตอนบนเท่านั้น ส่วนบ้านเรือนตามลุ่มแม่น้ำอื่นๆ เช่น แม่น้ำวัง จังหวัดลำปางจะไม่ใคร่พบเรือนกาแล หลังคาเรือนไทยภาคเหนือโดยทั่วไปที่ไม่ใช่เรือนกาแล จะขยายชายคาให้คลุมต่ำลงมายังตัวเรือน ทำให้เรือนภาคเหนือดูมีความกว้างมากกว่า เรือนไทยภาคกลางซึ่งมีหลังคาทรงสูง ด้วยสภาพภูมิอากาศซึ่งหนาวเย็นกว่าภาคอื่นๆ เรือนภาคเหนือจึงสร้างให้มีความซับซ้อน ห้องนอนมีลักษณะอับ มีหน้าต่างบานเล็กๆ สำหรับรับลม หรือระบายแสงและอากาศเพียงเล็กน้อย |
|
แหล่งอ้างอิง : หนังเสือชุดภูมิแผ่นดินไทย บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด เล่มที่2
|
|
โดย : เด็กหญิง ธิดาภรณ์ กำลังดัดษณะ, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 28 สิงหาคม 2546
|