นิทานดีหรือไม่ดี

ลักษณะนิทานดีหรือไม่ดี

นิทานนั้นมีส่วนดีทุกเรื่อง เพราะได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีส่วนในการสร้างคนมาช้านาน ลักษณะนิทานที่เด็กชอบนั้น….ดังนี้

    1. มีโครงเรื่องที่ดี…มีตัน มีปลาย มีการดำเนินเรื่องคิดต่อกันอย่างสมเหตุสมผล มีตัวเอกตัวเดียว เพราะหากมีตัวเอกหลายตัวเด็กจะสับสน…และไม่ฟังไปในที่สุด
    2. มีตัวละครที่เป็นจริง ไม่ได้หมายความว่าเอาตัวจริงเป็นตัวละคร แต่ให้มีลักษณะจริงจัง เป็นไปได้บ้างมีอุปนิสัยชัดเจนน่าสนใจชวนติดตาม เด็กจะเอาใจไปผูกกับตัวละครนั้น และติดตามอย่างตั้งใจเพราะลักษณะที่เป็นจริงซึ่งเป็นจริงอย่างที่เด็กจะไม่สนใจไม่เอาใจไปผูกและเลิกฟัง
    3. ใช้ภาษาให้เหมาะกับเนื้อเรื่อง ให้น่าสนใจ พ่อแม่บางท่านไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นคำหยาบ แต่ไม่ใช่ เป็นภาษาที่ตื่นเต้นและเหมาะ เช่นไอ้ตืนโต พ่อแม่มาเปลื่ยนเป็นนายเท้าโต เด็กจะไม่สนใจมากเท่าไร หรือไม่ก็เห็นว่าเพราะเกินไปเลยเปลื่ยน เช่นจากเจ้าหญิงนิทรา เป็นเจ้าหญิงนอนหลับเด็กก็จะไม่ฟังอีกเหมือนกัน
    4. บรรยากาศของนิทานจะต้องกลมกลืนกันทั้งโครงเรื่องและตัวเอก ตัวละคร ให้เป็นไปได้อย่างกลมกลืนทั้งโครงเรื่องหรือภาษา เช่นนิทานตลกชาวบ้านภาษาที่ใช้จะต้องง่ายและดำเนินเรื่องเร็ว นิทานที่มีเจ้าชายเจ้าหญิงภาษาที่ใช้ไพเราะ การดำเนินช้าลงอย่างนี้เป็นต้น

นิทานที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือ นิทานที่น่ากลัวทารุณโหดร้าย ไม่มีเหตุผล นิทานปรัชญา นิทานประชดประชันสังคม ทั้งหมดนี้นอกจากจะฟังยากและไม่สร้างสรรค์แล้ว เด็กจะยังรับไม่ได้ด้วย เพราะในความคิดของเด็ก…ทำดีจะต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่วเสมอ การนำนิทานเสียดสีสังคมไปเล่าให้เด็กฟัง เด็กจะเกิดความสับสน และเสียความมั่นใจในตัวเองลงไป และ มี

อารมณ์กลัวโดยไม่มีเหตุผลมีผลได้

 

 

พวงรัตน์ คำภาแก้ว เอกการศึกษาประถมวัย เลขที่ 18 ปริญญาตรี 4ปี



แหล่งอ้างอิง : พวงรัตน์ คำภาแก้ว

โดย : นางสาว พวงรัตน์ คำภาแก้ว, โรงเรียนบ้านป่าแดง, วันที่ 24 สิงหาคม 2546