ืสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย บางคนอาจเรียกว่า “วรรณกรรม สำหรับเด็ก“ ได้จัดอยู่ในหนังสือเสริมประสบการณ์คือ หนังสืออ่านเพิ่มเติมและสื่อส่งเสริมการอ่าน จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็กใช้ในการฟัง…อ่าน…และเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่มุงให้ความรู้หรือความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินร่วมกันไปในรูปแบบทีเรียกว่าสาระบันเทิง โดยใช้วิธีเขียนการจัดทำ และรูปเล่มที่เหมาะสมกับวัยความสนใจ

ธรรมชาติของเด็กไม่ว่าชาติใด ภาษาใด ล้วนมีความต้องการพื้นฐานเหมือนกัน ต้องการความรัก ความปลอดภัย ความสำเร็จ ชอบทดลอง ชอบชักถามชอบฟังเรื่องราว

ประเภทของหนังสือสำหรับเด็กคือ หนังสือเรียน ชึ่งใช้ในโรงเรียนมุ่งให้ความรู้ หนังสือทั่วไปให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินควบคู่กันไป แต่โดยมากจะเน้นความเพลิดเพลินมากกว่า

จุดมุ่งหมายของหนังสือเด็ก ช่วยให้เด็กได้รับความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน สนองความต้องการของวัยเด็ก สร้างความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษาของเด็กให้เจริญตามวัยปลูกฝังคุณธรรม เจตคติ ให้เด็กรู้จักการอ่านหนังสือ อ่านหนังสือเป็น อ่านหนังสือเก่ง เกิดนิสัยรักการอ่านทดแทนความรู้สึกที่เด็กขาดหายไป

ลักษณะของหนังสือสำหรับเด็ก เนื้อหาต้องมีวัตถุประสงค์และแก่เรื่องบ่งอย่างชัดเจน โดยเฉพาะหนังสือภาพต้องมีความอยากง่ายเหมาะสมกับวัย สำนวนภาษาที่ใช้ในหนังสือสำหรับเด็กใช้ภาษาง่าย ๆ ถูกต้องเหมาะสม สั้นกระชับสละสลวยเป็นภาษาที่ดี

ภาพในหนังสือสำหรับเด็กเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะภาพช่วยสร้างความคิด อธิบายเรื่องราวและช่วยให้ผู้อ่านเกิดจินตนาภาพตามเรื่องได้ดี ในบางครั้งผู้อ่านไม่สามารถอ่านให้เข้าใจเรื่องได้ตลอด แต่ถ้าให้ดูภาพก็สามารถเข้าใจเรื่องได้

การใช้ภาพสีและภาพขาวดำในหนังสือเด็กไม่มีความแตกต่างกัน โดยทั่วไปเด็กชอบทั้งรูปภาพสีและขาวดำ ถ้าภาพนั้นมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องและเป็นภาพวาดที่ดี ภาพสำหรับเด็กเล็กควรใช้ภาพสีต้องใช้สีฉูดฉาดประเภทพวกแม่สี..สีแดง..เหลือง..น้ำเงิน เมื่อระบายลงภาพจะเรียกความสนใจและความสะดุใจจากเด็กได้มาก

หนังสืออ้างอิง

จินตนา ใบกาชูอี การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก (2534) สำนักพิมพ์สุวียาสาสสน์ กรุงเทพมหานคร.

บุญชู ลับเนตร

 



แหล่งอ้างอิง : บุญชู ลับเนตร

โดย : นาง อาภาพรรณ พิริยาพิทักษ์ภรณ์, สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 24 สิงหาคม 2546