เก่ง ดี มีสุข

เก่ง – ดี – มีสุข

คำว่า “เก่ง – ดี – มีสุข” เป็นคำที่เริ่มต้นจากฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลายเพราะเป็นคำพูดง่ายติดปาก แม้แต่ข้าพเจ้าเองยังพูดแต่คำว่า เก่ง - ดี - มีสุข แต่ความหมายจริง ๆ หมายความว่าอะไร ยังไม่รู้เลย ข้าพเจ้าจึงหาความหมายของ เก่ง – ดี – มีสุข ในแง่ต่าง ๆ มาเล่าสู่กันฟัง

การศึกษา คำว่าเก่ง – ดี – มีสุข มีความหมายดังนี้

เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพ

ทักษะปฏิบัติ คือ มีความรู้แจ้งแล้วยังมีความชำนาญปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นทั้งทักษะฝีมือและทักษะทางปัญญา

ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ

มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ความหมายของคำว่า เก่ง – ดี – มีสุข กับความฉลาดทางอารมณ์ไว้ดังนี้

ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข โดยมีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ดังนี้

เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบด้วยความสามารถดังต่อไปนี้

    1. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
      1. รู้ศักยภาพตนเอง
      2. สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
      3. มีความมุมานะไปสู่เป้าหมาย
    2. ตัดสินใจและแก้ปัญหา
      1. รับรู้และเข้าใจปัญหา
      2. มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา
      3. มีความยืดหยุ่น
    3. มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
      1. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
      2. กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
      3. แสดงความคิดเห็นขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้

    1. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
      1. รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
      2. ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
    2. เห็นใจผู้อื่น
      1. ใส่ใจผู้อื่น
      2. เข้าใจยอมรับผู้อื่น
      3. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข ประกอบด้วย

    1. ภูมิใจในตนเอง
      1. เห็นคุณค่าในตนเอง
      2. เชื่อมั่นในตนเอง
    2. พึงพอใจในชีวิต
      1. มองโลกในแง่ดี
      2. มีอารมณ์ขัน
      3. พอใจในสิ่งมี่ตนมีอยู่
    3. มีความสงบทางใจ
      1. มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
      2. รู้จักผ่อนคลาย
      3. มีความสงบทางจิตใจ


แหล่งอ้างอิง : อาภาพรรณ

โดย : นาง อาภาพรรณ พิริยาพิทักษ์ภรณ์, สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 24 สิงหาคม 2546