ภาษาคอมพิวเตอร์

      ภาษาของคอมพิวเตอร์นั้น มีหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาก็จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยแยกเป็น 3 แบบ คือ

ภาษาที่ใช้ทั่วๆ ไป
 • ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ผู้คิดค้นคือ DARTMOUTH COLLEGE เนื่องจากว่าเป็นภาษาที่สามารถใช้โต้ตอบไปมาระหว่างกันได้ทันที จึงง่ายสำหรับผุ้ที่ใช้ที่จะเริ่มต้นจะเรียน หรือต้องการจะเรียนรู้หรือทำการแก้ไข และแก้ไขซินแทกซ์เออเร่อส์ได้ง่าย
 • ภาษาโคบอล ย่อมาจากคำว่า Common Business Oriented Language เหมาะที่จะใช้กับการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ และการสร้างแฟ้มข้อมูลสำหรับงานต่างๆ ใช้ได้กับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป

ภาษาหลักอื่นๆ
 • ภาษาปาสคาล ผู้คิดค้นคือ KINKLAUS WIRTH ระหว่างปี ค.ศ. 1969-1971 ออกแบบขึ้นมาโดยใช้structure โปรแกรมมิ่งเทคนิคเข้าช่วย เพื่อให้โปรแกรมมีความเป็นมาตรฐานและง่ายแต่การแก้ไขโดยใช้คำสั่ง IF-THEN-ELSE และ DO-WHILE ปาสคาลเป็นภาษาที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
 • ภาษาพีแอลวัน ย่อมาจาก Programming Language/1 เป็นภาษาที่รวมเอาข้อดีของภาษาฟอร์แทนเข้ามารวมกับข้อดีของภาษาโคบอล

ภาษาพิเศษ
 • ภาษาซี ยูนิกซ์ จะเป็นออเปอเรติ้งซิสเต็มที่เขียนอยู่ในรูปของภาษาซี ผู้คิดค้นได้แก่ BELL LABS ภาษาซีจะใช้ในการจัดทำโอเอสและโปรแกรมระบบงานสำหรับงานด้านวิจัยและธุรกิจ
 • ภาษาฟอร์ท พบใน ค.ศ. 1970 ใช้กับงานที่มีลักษระที่เป็นงานด้านวิศวกรรม ในเริ่มแรกได้รับการเรียกว่า Fourth ทั้งนี้เพราะว่าเป็น Fourth-Generation Language และใช้ IBM1130 ในการประมวลผล ซึ่งยินยอมให้ใช้เพียง 5 ตัวอักษร สำหรับการตั้งชื่อใดๆ ก็ตามจึงต้องเปลี่ยนมาเป็น forth โดยปริยาย forth เหมาะสำหรับระบบเล็กๆ สามารถจัดทำโดยโอเอสได้และมักจะใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
 • ภาษาโลโก้ พบเมื่อ ค.ศ. 1970 ใช้สอนเด็กในการฝึกหัดโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โลโก้ใช้ในการจัดทำกราฟฟิก วาดภาพได้ ปกติใช้กันมากในโรงเรียน ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
 • ภาษาซิมูเลชั่น ภาษาซิมมูเลชั่นที่ใช้ในการจัดทำโมเดล จะได้แก่ GPSS ที่มีชื่อเต็มว่า General Purpose System Simulator และ SIMULA ซึ่งมีชื่อย่อมาจาก Simulation Language

ที่มา : การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์



แหล่งอ้างอิง : ที่มาซการจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์

โดย : นาย จิรเดช วงษ์ช้าง, มหาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, วันที่ 21 สิงหาคม 2546