ผ้าไหม
ไหม
ราชินีแห่งเส้นใย
 ไหมเป็นแมลงประเภทผีเสื้อ  ตัวหนอนไหมกินพืชได้หลายชนิด  แต่ชอบกินใบหม่อนมากที่สุด  ทว่า  หม่อนจัดเป็นพืชยืนต้นซึ่งเจริญเติบโตค่อนข้างช้า
ด้วยเหตุนี้  ชาวบ้านที่เลี้ยงไหมจึงมักปลูกสวนหม่อนควบคู่ไปด้วยอยู่เสมอ  เชื่อกันว่ามนุษย์เริ่มเลี้ยงไหมเป็นครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อประมาณ  5,000  ปีมาแล้ว
 วงจรชีวิตของไหมประกอบด้วย  ระยะที่เป็นไข่  ระยะตัวหนอน  ระยะดัดแด้  และระยะผีเสื้อ  คุณสมบัติพิเศษของตัวไหมคือ  ช่วงระะยะซึ่งเป็นดักแด้
ตัวหนอนจะสร้างรังไหมห่อหุ้มตัวเอง  และรังไหมนี่เองที่สามารถสาวออกมาเป็นเส้นใยเส้นเล็กๆซึ่งมีความเหนียวและเป็นมันวาวสวยงาม  เหมาะต่อการนำไปทอเป็น
ผืนผ้า
 พันธุ์ไหมในประเทศไทยที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงกันมีอยู่  3  ชนิด  คือ
 1.  ไหมพันธุ์ไทย  เป็นไหมพื้นเมือง  ชาวบ้านเลี้ยงเพื่อใช้ทอผ้าไหมพื้นบ้าน  รังไหมของไหมพันธุ์ไทยสีออกเหลืองตุ่น  มีขนาดเล็ก  หัว  ท้ายแหลม
คล้ายกระสวยให้ผลผลิตต่ำ  เส้นไหมมีขนาดโต  แต่ก็ความแข็งแรงเหนียวแน่น
 2.  ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม  เป็นพันธุ์ไหมที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ไทยกับไหมพันธุ์ต่างประเทศ  รังไหมพันธุ์นี้มีสีเหลืองสด  ขนาดใหญ่  ให้ผล
ผลิตสูงกว่าไหมพันธุ์ไทย  และเส้นใยมีขนาดเล็กกว่าไหมพื้นเมือง
 3.  ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสม  เป็นพันธุ์ไหมจากการผสมระหว่างพันธุ์ญี่ปุ่นและพันธุ์จีน  รังไหมมีสีขาว  ขนาดใหญ่  ลักษณะกลมรีคล้ายรูปไข่
เปลือกรังหนา  ให้ผลผลิตสูง  เส้นใยละเอียดเหนียวแน่น  นิยมเลี้ยงเพื่อส่งไปจำหน่ายยังโรงงานสาวไหม.


แหล่งอ้างอิง : หนังสือภูมิแผ่นดินไทย บริษัทไทยประกันชีวิต เล่ม 5

โดย : เด็กหญิง อัมพวัน เปลี่ยนเปรม, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 16 สิงหาคม 2546