เรือนไทยภาคกลาง
เรือนไทยภาคกลาง
 สิ่งที่ปรากฏชัดเจนจากลักษณะเรือนไทยของภาคกลางคือ การออกแบบภายใต้กรอบความคิดเรื่องการยอมรับสภาพธรรมชาติ ทั้งด้าน
ความร้อนของอากาศสภาพน้ำหลาก
  เมื่อมีฝนตกชุกและระดับน้ำในแม่น้ำลําคลองขึ้นสูง รวมถึงน้ำที่ไหลบ่ามาตามท้องทุ่งตามฤดูกาล เรือนไทยภาคกลางจึงออกแบบให้ตั้ง
บนเสาซึ่งค่อนข้างสูงกว่าเรือนไทยในภาคอื่นๆเพื่อให้พ้นระดับน้ำสูงสุด นอกจากนี้ ยังนิยมสร้างหลังคาจั่วสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงได้อย่างรวดเร็ว
ตัวเรือนมีฝากั้น กันไม่ให้ฝนสาดเข้าภายในตัวเรือน และบริเวณขื่อจะมีปั้นลมทั้งสองข้าง คอยป้องกันมิให้ลมพัดหลังคาเปิด
 ลักษณะสําคัญของเรือนไทยภาคกลางคือ มีการตั้งเสาต่อระเบียงและชานออกไปจากห้องนอน ทำให้มีพื้นที่สำหรับทำครัว และทำกิจกรรม
อื่นๆ
 เรือนไทยภาคกลางมักมีความยาวไม่เกินห้าห้อง หากต้องการขยายพื้นที่ของตัวเรือน ก็จะสร้างเป็นเรือนแฝดขนานกัน เรือนไทยภาคกลาง
ที่เป็นเรือนแฝดยังพบได้ตามแถวจังหวัดเพชรบุรี
 สำหรับครอบครัวใหญ่ซึ่งเป็นคหบดีหรือขุนนางที่อาศัยในภาคกลาง อาจสร้างเป็นเรือนหมู่ ซึ่งประกอบด้วยเรือนนอน 2-3 หลัง มีชานและ
ระเบียงต่อเชื่อมถึงกัน อาจมีเรือนครัวหรือเรือนโถงสำหรับนั่งเล่นหรือทำกิจกรรมในเวลากลางวันร่วมกัน ดังจะเห็นได้จากคุ้มขุนแผนในเขตพระราช
วังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นแบบอย่างที่ชัดเจน


แหล่งอ้างอิง : หนังเสือชุด ภูมิแผ่นดินไทยเล่ม2บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

โดย : เด็กหญิง ธิดาภรณ์ กำลังดัดษณะ, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 16 สิงหาคม 2546