มวยคาดเชือก

 มวยคาดเชือก
 ก่อนจะมีการให้นักมวยสวมนวมชกกันอย่างเช่นปัจจุบัน  มวยไทยดั้งเดิมจะใช้วิธีพันมือแทนนวม   ซึ่งเรียกว่าการคาดเชือก  หรือที่ทางปักษ์ใต้เรียกว่า  ถักหมัดมีหลักฐานบันทึกไว้ว่า  อย่างน้อยที่สุดการคาดเชือกนี้ มีมาตั้งแต่ครั้งอยุธยาตอนกลางแล้ว
 
 เนื่องจากทั้งมวยหลักและมวยเกี้ยว  ต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน  คือมวยหลักจะออกอาวุธหนักหน่วงรุนแรง  ส่วนมวยเกี้ยวจะใช้อาวุธรวดเร็ว  เด็ดขาด  จากลักษณะการชกมวยไทย ๒ ลักษณะดังกล่าว  ทำให้การคาดเชือกของนักมวยที่ชกมวยแต่ละแบบ  มีความแตกต่างกัน   ความต่างนี้ยังรวมถึงมวยแต่ละถิ่นอันมีลีลาการชก  มีทีเด็ดทีขาดแตกต่างกัน  ก็มีวิธีการคาดเชือกต่างกันไปด้วย   อาทิ 
 
 มวยโคราช  เป็นมวยที่เตะต่อยวงกว้าง  ซึ่งเรียกกันว่าเหวี่ยงควาย  การคาดเชือกของมวยโคราชจึงนิยมใช้ด้ายดิบพันคาดหมัด  แล้วขมวดวนรอบแขนจนจรดข้อศอก  เพื่อป้องกันการเตะ

 มวยลพบุรี  มีชื่อเสียงว่าเป็นมวยหมัดตรง  ไม่นิยมใช้มือป้องกันการเตะชอบต่อยตรงๆตามแบบฉบับ มวยเมืองนี้แหวกการควบคุมป้องกันได้ดีกว่ามวยถิ่นอื่น จนได้ชื่อว่าแม่น หรือหมัดแม่น เป็นสมญานามของมวยลพบุรีหลายต่อหลายคน  การคาดเชือกของมวยลพบุรีจะมัดเพียงครึ่งแขนโดยใช้ด้ายดิบไม่ยาวเท่ามวยโคราช
 มวยไชยา มวยเมืองใต้ที่ถนัดการใช้ศอกและแขน จึงนิยมถักหมัด  (ภาษาถิ่นหมายถึงคาดเชือก)  ด้วยด้ายดิบสั้นๆพอให้พันได้รอบข้อมือกันซ้นหรือเคล็ดเท่านั้น
 วัตถุประสงสำคัญของการคาดเชือกก็คือ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่อาวุธสำคัญของมวยไทย  คือหมัดให้มั่นคง  แข็งแกร่งกว่าการกำหมัดเปล่าธรรมดานั่นเอง  หมัดที่คาดเชือกแล้วสามารถสร้างความบอบช้ำให้คู่ต่อสู้ได้ชะงัดนักด้วยส่วนที่เป็นปมของเชือกคล้ายก้นหอย ซึ่งเป็นเทคนิคการพันของแต่ละทองถิ่นทั้งไม่เคยปรากฎว่ามีมวนคาดเชือกที่ใช้ด้ายดิบคลุกแป้ง แล้วผสมเศษแก้ว หรือ นำไปชุบน้ำมันยาง เพื่อให้เกิดความแข็งและคม สำหรับไว้ทำร้ายคู่ต่อสู้ เช่นที่คนสมัยปัจจุบันมักเล่าลือหรือเชื่อกัน
 ในส่วนวิธีการคาดเชือกนั้น  นักมวยต้องคว่ำมือเหยียดนิ้วกางออกเต็มที่ ครูมวยจะสวมประเจียดหรือมงคลไว้บนหัวนักมวยก่อนเครื่องคาดอื่นๆ เช่น ตะกรุด พิสมร ครูบางท่านอาจลงธนูมือ หรืออาวุธ ๔ ประการ หรืออาวุธพระเจ้าสุดแท้แต่ความนิยมแล้วแล้วเริ่มพันด้ายดิบตรงข้อมือก่อน เพื่อให้กระดูกทั้ง ๘ ชิ้นกระชับมั่นคง ไมใคล็ดไม่ซ้น จากนั้นพันรอบๆหลังมือและซองมือไปจนจรดปลายนิ้วอย่างหลวมๆ แล้ววนหันกลับมาทางข้อมืออีกครั้งหนึ่ง แล้วสอดได้รวบรั้งจากปลายนิ้วเข้ามาจนเลยง่ามมือ เพื่อใหข้อนิ้วโผล่ ถึงช่วงนี้หมัดที่คาดเชือกไว้ยังคงอ่อนนุ่มอยู่ พอได้ดิเหลือการพันอีกประมาณ ๑ เมตรครูผู้คาดหมัดจะบิดด้ายดิบให้เป็นเกลียวเขม็งและแข็งเป็นตัวหอย ตัวนักมวยเองพอคาดถึงช่วงนี้จะต้องขยับนิ้วเพื่อป้องกันอาการเหน็บ แล้วสอดก้นหอยเข้าทีละตัว เรียงรายให้ทั่วหลังหมัด จนมีความตึงขึ้นทุกที เท่านี้ยังไม่พอ เพราะปมก้านหอยอาจยังพลิกได้อยู่ จึงต้องใช้ด้ายขนาดเท่าก้านไม ขีด ยาวประมาณ ๑ เมตร ซึ่งเรียกว่า หางเชทือก มาใช้สัก คือสอดยึดตรึงก้นหอยที่เอียงไปเอียงมาให้ตั้งตรง ทำนองเดียวกับหนามทุเรียนที่ตัดปลายหนามแหลมออก



แหล่งอ้างอิง : หนังสือชุดภูมิแผ่นไทย บริษัทไทยประกันชีวิต เล่ม 9

โดย : เด็กชาย ธันยวีร์ สุบรรณรัตน์, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 9 สิงหาคม 2546