บันไดเสียง

 

บันไดเสียงคืออะไร

           บันไดเสียง หมายถึง 7 เสียงที่ได้กำหนดระยะเสียงสูง – ต่ำ ต่างกันขึ้นไว้ในชุดหนึ่งโดยเรียงตามลำดับขั้นละ 1 ขั้น เริ่มขึ้นไปตั้งแต่เสียงต่ำขึ้นไปถึงเสียงสูง ซึ่งเป็นเสียงที่ทบมาจากเสียงต่ำนั้นเอง จะผิดกันก็แต่เป็นเสียงสูงหรือเล็กแหลมกว่ากัน 1 ช่วง  หรือ1 ทบระหว่าง 8 เสียง

           ในการประพันธ์บทเพลง ผู้ประพันธ์จะต้องอาศัยบันไดเสียงเป็นหลักเสมอแม้ลำดับขั้นเสียงจะสับสนกันไปในวิถีแห่งการดำเนินของบทเพลงเพรียงไร เสียงต่างๆของบันไดชุดต่อไป ชุดหนึ่งๆ นั้น ย่อมมีเสียงสำคัญที่สุดประจำอยู่เสียงหนึ่ง ซึ่งผู้ประพันธ์จักต้องนำออกมาใช้มากกว่าเสียงอื่น อย่างเช่น ตอนเริ่มต้น และ ตอนปลายของบทเพลง ซึ่งทำให้มีความรู้สึกว่าจบเพลง เพราะเป็นเสียงศูนย์กลางที่ชักจูงเอาเสียง ประจำขั้นอื่นๆ วกเวียนเข้ามาพักพิงกันได้สนิท เสียงนี้คือเสียงประจำชั้น 1 หรือชั้นที่ 8 ซึ่งคนตรีศัพท์เรียกว่า “ โตนิค” ( Tonic ) หรือ “คีโตน” (Key – tone) เพราะเป็นเสียง “ปกครอง “ ( Governing sound ) เสียงอื่นๆ ภายในวงของบันไดชุดนั้น “โตนิค” ได้ทุกเสียง แต่จะต้องลำดับขั้นเสียงอื่นๆ เข้าประกอบให้ถูกต้อง …..

           การเปลี่ยนเสียงโตนิคขึ้นใหม่ ย่อมสามารถสับเปลี่ยนหลักของบันไดเสียง (Traspose) บทเพลงใดๆ เพื่อให้เหมาะสมกับระดับเสียงขับร้องและเครื่องดนตรีกับทั้งสามารถที่จะย้อยบันใดเสียง (Modulation) ไปในทางแห่งการดำเนินของบทเพลงอีกด้วย

เปรียบเทียบบันไดเสียงกับบันไดเรือน

เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจให้ชัดแจ้งมากขึ้น หากจะนำเอาบันไดเสียงไปเปรียบกับบันไดเรือนคงจะไม่ผิดแปลกไปจากกันมากมายนัก เพราะ บันไดเรือนขั้นก็คือเสียง ขั้นต่ำ ของบันไดเสียงและเมื่อเราขึ้นไปหรือลงมาตามลำดับถึงขั้นสุดในทำนองเดียวกัน

จำพวกของบันไดเสียง

        จำพวกที่ 1 คือ บันไดเสียงซึ่งประกอบด้วยเสียง 7 เสียง ต่างกันไล่ขั้นตามลำดับ ของบรรทัด 5 เส้น ( ไม่ซ้ำชื่อตัวโน๊ต ) จำพวกนี้เรียกว่าบันไดเสียง “ เดียโตรนิค” ( Diatonic Scale )

        จำพวกที่ 2 คือบันไดเสียงซึ่งประกอบด้วย เสียง 12 เสียงต่างกันไล่ตามลำดับ ขั้นละครึ่งเสียง จำพวกนี้เรียกว่า “โครมาติค ” อาศัยเสียงเดิมอยู่แล้ว 7 เสียงแล้วเพิ่มเสียงที่แปลงออกมาอีก 5 เสียง

การแบ่งแยกบันไดเสียง เดียโตนิค บันไดเสียง เดียโตนิค มี 2 ชนิคคือ

       ชนิดที่ 1 บันไดเสียง “ เดียโตนิค เมเจอร์ “ บันไดเสียงเมเจอร์มี 7 เสียง หรือ 7 ขั้น ต่างกันแต่ถ้าทบเสียงสุดท้านคือล่างกับบน จะพบขั้นที่ 8 การลำดับขั้นของบันไดเสียงเมเจอร์ อันเป็นลักษณะจัดวางระยะ ถี่ – ห่าง ระหว่างเสียงหนึ่งกับอีกเสียงหนึ่ง  ทั้งนี้ให้สังเกตด้วยว่าช่องระหว่างขั้นที่ 3 กับขั้นที่ 4 และระหว่างขั้นที่ 7 กับขั้นที่ 8 ตั้งชิดติดกัน โดยเหตุที่ขั้นเหล่านี้มีระดับเสียงห่างกันเพียงครึ่งเสียงส่วนขั้นอื่นๆ นั้นห่างกันหนึ่งเสียงเต็ม

          ชนิดที่ 2 บันไดเสียง “เดียโคนิค ไมเจอร์ “ บันไดเสียง เมเจอร์ กับ ไมเจอร์ ต่างกันที่ลำดับขั้นถี่ห่างของเสียง คือ ไมเจอร์ จะมีครึ่งเสียง 3 แห่ง คือ ระหว่าขั้น 2 กับ 3 ขั้น 5 กับ 6 ขั้น 7 กับ 8 แต่ขั้น 6 กับ 7 ห่างกัน 1 เสียงครึ่ง

 


ที่มา : หนังสือดุริยางค์ศาสตร์สากล

โดย : นาย ธนิต บุญลาภฉายแสง, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 18 กันยายน 2545