Nintel
สื่อการสอนดนตรีสากลเรื่องจังหวะ
ช่วยสอนในเรื่อง
1. การปฏิบัติจังหวะหลัก
2. การปฏิบัติจังหวะโน้ตตัวกลม
3. การปฏิบัติจังหวะโน้ตตัวขาว
4. การปฏิบัติจังหวะโน้ตตัวดำ
5. การปฏิบัติจังหวะโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น
6. การปฏิบัติจังหวะโน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้นNintel
1. จุดประสงค์ในการสร้าง
จังหวะเป็นหัวใจในการปฏิบัติดนตรี จังหวะที่ใช้ในการปฏิบัติดนตรีมี 2 อย่างคือ
จังหวะหลัก และจังหวะของบทเพลง ในการเล่นดนตรีทั่วๆไป ผู้เล่นจะต้องปฏิบัติจังหวะหลักโดยใช้เท้า และปฏิบัติจังหวะของบทเพลงด้วยมือให้สัมพันธ์กับจังหวะหลักตั้งแต่ต้นจนจบเพลง ดังนั้นผู้เล่นจะต้องใช้สมาธิในการดูโน้ตแล้วปฏิบัติจังหวะด้วยเท้าและมือไปพร้อมๆกัน การที่จะเล่นได้ดังกล่าวจำเป็นต้องมีการฝึกปฏิบัติจังหวะจากจังหวะพื้นฐานง่ายๆให้ถูกต้องจนเกิดความเชื่อมั่นแล้วค่อยนำจังหวะเหล่านั้มาผสมผสานกันในภายหลัง การสอนจังหวะโดยให้นักเรียนปฏิบัติจังหวะตามครูผู้สอนเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลมาโดยตลอด แต่ถ้ามองให้ดีวิธีดังกล่าวยังมีจุดอ่อนอยู่ที่นักเรียนทั้งชั้นเห็นจังหวะหลัก(การตบเท้า)ของครูที่หน้าชั้นเรียนไม่ชัด ขณะเดียวกันครูก็ไม่เห็นจังหวะหลัก(การตบเท้า)ของนักเรียนอย่างทั่วถึง เพราะตัวครูเองจะต้องปฏิบัติจังหวะหลัก(ตบเท้า)ให้นักเรียนทั้งห้องดูอยู่หน้าชั้นด้วย เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงคิดสร้างเป็นอุปกรณ์การสอนใช้ชื่อว่า Nintel โดยสร้างเป็นตุ๊กตากลรูปคนตบมือ-ตบเท้าตั้งไว้หน้าชั้นเรียนให้นักเรียนสังเกตและปฏิบัติตาม ในเวลาเดียวกันครูก็สามารถติดตามการปฏิบัติจังหวะของนักเรียนได้อย่าง
ทั่วถึงเพื่อการแก้ไขเป็นรายบุคคล จุดประสงค์โดยสรุปก็คือ
1. เพื่อให้มีอุปกรณ์การสอนวิชาดนตรีสากลที่มีความแปลกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 ชิ้น
2. เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาดนตรีสากลในเรื่องจังหวะภาคปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
2. วัสดุ อุปกรณ์ และค่าใช้จ่าย
แผ่นอคลีริค 3 มม.
น้ำยาเชื่อมอคลีริค
มอเตอร์รอบช้า 6-24 V.
โซลินอย
อแดปเตอร์
กล่องพลาสติกใส่วงจร
สวิทช์เลือก 6 ช่อง
ลูกบิดกด
LED (ไดโอดเปล่งแสง)
สวิทช์เปิด-ปิด
ปลั๊กตัวผู้
สายไฟ 220 V.
สายเดินวงจร
น๊อตยึดแท่น,แขน,เท้า
กระดาษสี (ตกแต่งตัวหุ่น)
กาวยาง
โฟมสี
ปากกาเมจิกสีดำ
รวมเป็นเงิน 1,157 บาท
3. รูปแบบ
Nintel เป็นอุปกรณ์ใช้ประกอบการสอนวิชาดนตรีสากลเรื่องจังหวะภาคปฏิบัติ มีลักษณะเป็นตุ๊กตากลรูปคนตบเท้า และตบมืออย่างสัมพันธ์กัน ขนาด 502117 ซ.ม. ใช้ไฟ 220 V. ตัวอุปกรณ์สามารถสาธิตการปฏิบัติจังหวะหลัก (ตบเท้า) ขณะเดียวกันก็สามารถสาธิตการตบมือตามโน้ตชนิดต่างๆพร้อมไปด้วย นักเรียนทั้งชั้นเรียนจะสังเกตและปฏิบัติจังหวะตามเท้าและมือของอุปกรณ์ที่วางอยู่หน้าชั้นเรียนได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดียวกันครูผู้สอนสามารถเดินดูการปฏิบัติจังหวะด้วยเท้าและมือของนักเรียนแต่ละคนว่าปฏิบัติได้ถูกต้อง หรือต้องแก้ไขด้านใดอย่างไร
4. วิธีสร้าง
4.1 สร้างตัวหุ่น
1) ออกแบบรูปคนยืนตบมือ ความสูงประมาณ 40 ซ.ม. เลื่อยแผ่นอคลีริคตามแบบ ดังรูปที่ 2 ตัดส่วนที่เป็นปลายรองเท้าข้างซ้ายออก
2) พับส่วนใต้รองเท้าไปด้านหลังเพื่อใช้เป็นฐานติดกับกล่องอเนกประสงค์
4.2 วางอุปกรณ์
1) วางมอเตอร์รอบช้าและอแดปเตอร์ 3 ตัวลงในกล่องอเนกประสงค์โดยใช้กาวซีลิโคน
2) ติดสวิทช์เลือก 6 ช่อง ด้านหน้ากล่องอเนกประสงค์ และ ติด LED 6 หลอดใต้ตำแหน่ง
สวิทช์เลือกแต่ละช่อง ดังรูป ที่ 3
4.3 สร้างกลไกตบเท้า
1) ตัดแผ่นอคลีริคเป็นวงกลม 2 แผ่นดังรูปที่ 4
2) ตัดแผ่นอคลีริคเป็น 4 แฉกเพื่อใช้เป็นกลไกการตบเท้า 4 จังหวะ ดังรูปที่ 5
3) วางแผ่นอคลีริคทั้ง 3 แผ่นที่ตัดไว้ซ้อนกันโดยให้แผ่นที่เป็น 4 แฉกอยู่ตรงกลาง ให้จุดศูนย์กลางทั้ง 3 แผ่นทับกัน
4) ใช้น้ำยาเชื่อมอคลีริค เชื่อมแผ่นทั้ง 3 เข้าด้วยกัน ดังรูปที่ 6
5) ตัดแผ่นโฟมสี เป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. แล้วเจาะเป็นช่องสัมพันธ์กับ
แผ่นอคลีริค 4 แฉกเพื่อใช้เป็นกลไกการตบมือตามโน้ตทั้ง 5 แบบ ดังรูปที่ 7
6) นำแผ่นโฟมสีที่ตัดและเจาะแล้วมาติดด้านบนของแผ่นอคลีริคในรูปที่ 6
7) นำแผ่นซ้อนกันที่ได้มาเจาะรูตรงจุดศูนย์กลางให้มีขนาดเท่ากับแกนของมอเตอร์รอบช้า แล้วนำไปสวมกับแกนมอเตอร์รอบช้า ให้ด้านที่มีแผ่นโฟมสีอยู่ด้านนอก
8) นำไมโครสวิทช์ 5 ตัวมาติดบนแผ่นอคลีริคเป็นแนวเส้นตรงตามขวางให้มีระยะห่างเท่ากับ รูที่เจาะบนเส้นรอบวงทั้ง 5 เส้นตามแนวนอน ดังรูปที่ 7
9) ใช้สายไฟเดินวงจร เชื่อมขาล่างของไมโครสวิทช์ทุกตัวเข้าด้วยกัน
10)ยึดแถบไมโครสวิทช์ที่ได้เข้ากับข้างกล่องอเนกประสงค์ให้ผิวของแผ่นโฟมสีสัมผัสกับหน้าของแถบไมโครสวิทช์พอดี
11) ที่ฝาบนของกล่องอเนกประสงค์ เจาะช่องสี่เหลี่ยม กว้าง 0.5 มม. ยาว 3.0 ซม. เหนือตำแหน่งที่แผ่นอคลีริค 4 แฉกอยู่
12) ตัดแผ่นอคลีริคเป็นรูปรองเท้าข้างซ้าย เจาะรูเล็กๆที่กลางรองเท้าและที่ส้นเท้า
ดังรูปที่ 8
13) ตัดแผ่นอคลีริคเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 2 3.5 ซม. แล้วเจาะรู ดังรูปที่ 9
14) ใช้น๊อตร้อยรองเท้าข้างซ้ายและแผ่นสี่เหลี่ยมดังกล่าว เพื่อให้เกิดจุดหมุนหลวมๆ(รองเท้าอยู่ด้านหน้า) แล้วนำไปติดกับส้นเท้าซ้ายของหุ่นคนตบมือ ดังรูปที่ 10
15) นำหุ่นที่ได้ติดบนกล่องอเนกประสงค์ด้วยน๊อต 2 ตัว ให้แผ่นอคลีริคในรูปที่ 9 สอดลงในช่องที่อยู่บนฝาบนของกล่องอเนกประสงค์
4.4 สร้างกลไกตบมือ
1) ตัดแผ่นอคลีริคเป็นรูปแขนซ้ายและแขนขวาท่าตบมือ นำแขนขวาติดในตำแหน่งที่ถูกต้องด้วยน้ำยาเชื่อมอคลีริค
2) เจาะรูที่จุดหมุนของข้อศอก และตรงกลางแขนซ้าย แล้วใช้น๊อตร้อยตรงจุดหมุนของข้อศอกซ้ายเข้ากับตัวหุ่นแบบหลวมๆ
3) จัดแขนซ้ายให้ฝ่ามือห่างจากฝ่ามือขวาประมาณ 2.5 ซม.
4) เจาะรูที่ตัวหุ่นตรงตำแหน่งที่รูกลางแขนซ้ายเคลื่อนที่ขึ้น-ลงในท่าตบมือ
5) นำโซลินอยมาติดด้านหลังหุ่น ให้แกนของโซลินอยอยู่ในตำแหน่งลูกศรขึ้น-ลง
ดังรูปที่ 11
4.5 การเดินวงจร
1. ที่อแดปเตอร์ตัวที่ 1 (สำหรับ Motor) ปรับ Out-put ไปที่ D.C. 4.5 V. นำสาย Out-put ทั้งสองไปต่อเข้ากับมอเตอร์รอบช้า ดังรูปที่ 12
2. ที่อแดปเตอร์ตัวที่ 2 (สำหรับ โซลินอย ) ปรับ Out-put ไปที่ D.C. 12 V. นำสาย Out-put เส้นที่ 1 ไปต่อกับโซลินอยจุดที่ 1 นำสาย Out-put เส้นที่ 2 ไปต่อกับสวิทช์เลือก 6 ช่อง (ช่องที่ 2) ตำแหน่งขา 2 ของ 3 ขาชุดแรก ใช้สายไฟเดินวงจรเชื่อมขา 2 ของสวิทช์เลือกช่องที่ 2-6 เข้าด้วยกัน
- ที่ขา 1 ของสวิทช์เลือกช่องที่ 2 (3 ขาชุดแรก) ต่อสายไฟไปยังแถบไมโครสวิทช์
ตัวที่ 1 ขาบน ดังรูปที่ 13
- ที่ขา 1 ของสวิทช์เลือกช่องที่ 3 (3 ขาชุดแรก) ต่อสายไฟไปยังแถบไมโครสวิทช์
ตัวที่ 2 ขาบน ที่สวิทช์เลือกช่องที่ 4, 5, 6 ทำเช่นเดียวกัน
- ที่ขาล่างของไมโครสวิทช์ ต่อสายไฟไปยังโซลินอยจุดที่ 2 ดังรูปที่ 13
3. ที่อแดปเตอร์ตัวที่ 3 (สำหรับ LED ) ปรับ Out-put ไปที่ D.C.3 V.
- นำสาย Out-put เส้นที่ 1 (+) ไปต่อกับขา + ของ LED ตัวที่ 1
- ใช้สายไฟต่อขา + ของLEDแต่ละหลอดเข้าด้วยกัน
- นำสาย Outp-ut เส้นที่ 2 ไปต่อกับสวิทช์เลือกช่องที่ 1 ตำแหน่งขา 3 ของ 3 ขาชุด
ที่2 (ชุดแรกเป็นเรื่องของโซลินอย)
- เชื่อมขา 3 (ชุดที่ 2)ของสวิทช์เลือกช่องที่ 1-6 เข้าด้วยกัน
- ต่อขา 2 (3 ขาชุดที่ 2)ของของสวิทช์เลือกช่องที่ 1 เข้ากับขา ของ LED ตัวที่ 1
- ต่อขา 2 (3 ขาชุดที่ 2)ของของสวิทช์เลือกช่องที่ 2 เข้ากับขา ของ LED ตัวที่ 2
- ที่สวิทช์เลือกช่องที่ 3, 4, 5, และ 6 ทำเช่นเดียวกัน ดังรูปที่ 14
- ต่อสายไฟขนานอแดปเตอร์ด้าน 220 V. ทั้ง 3 ตัวเข้าด้วยกัน ใช้สายไฟคู่ความยาวประมาณ 2 เมตร ต่อปลายข้างหนึ่งเข้ากับปลักตัวผู้ ปลายอีกข้างหนึ่ง เส้นแรกต่อกับอแดปเตอร์ด้าน 220 V. ส่วนอีกเส้นหนึ่งต่อกับอแดปเตอร์ด้าน 220 V. เช่นเดียวกันแต่ผ่านสวิทช์เปิด-ปิดก่อน
- ตกแต่ง ด้วยกระดาษสีให้เกิดความสวยงาม
- เหนือสวิทช์เลือกช่องทั้ง 6 เขียนสัญญลักษณ์เพื่อแสดงการสาธิตจังหวะดังนี้
5. วิธีใช้
ก่อนใช้ต้องให้สวิทช์เลือกช่องอยู่ในตำแหน่ง นี้ก่อน
5.1 การสอนปฏิบัติจังหวะหลัก
- ครูเสียบปลั๊กตัวผู้เข้ากับปลั๊กไฟ 220V.
- กดสวิตช์เปิด-ปิดไปที่ ขณะนี้ Nintel จะทำจังหวะหลักด้วยการขยับเท้าขึ้น-ลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ (ตบ-ยก-ตบ-ยก-ตบ-ยก
)ครูอธิบายว่าการตบเท้าความเร็วสม่ำเสมอเรียกว่าการปฏิบัติจังหวะหลัก
- นักเรียนตบจังหวะหลักด้วยเท้าให้พอดีกับการตบเท้าของ Nintel แล้วนับ 1-2-3-4 , 1-2-3-4
- ครูเดินสังเกตการปฏิบัติจังหวะหลักของนักเรียนทีละคนเพื่อแก้ไข พร้อมอธิบายว่าทุกครั้งที่ปฏิบัติโน้ตสากล เท้าจะต้องปฏิบัติจังหวะหลักอย่างต่อเนื่องจนจบด้วย
5.2 การสอนปฏิบัติจังหวะตามโน้ต
- ครูกดสวิตช์เลือกจังหวะตบมือที่ต้องการสอน เริ่มจากจังหวะที่ง่ายๆก่อน เช่นโน้ตตัวดำ (กดปุ่มที่ 2) แล้วอธิบายการปฏิบัติจังหวะของ Nintel ให้นักเรียนฟัง ให้นักเรียนทั้งชั้นปฏิบัติตาม Nintel
- ครูเดินสังเกตการปฏิบัติจังหวะโน้ตตัวดำของนักเรียนทีละคนเพื่อแก้ไข พร้อมอธิบายว่าทุกครั้งที่ปฏิบัติโน้ตตัวดำ เท้าจะต้องปฏิบัติจังหวะหลักอย่างต่อเนื่องจนจบด้วย
- การสอนปฏิบัติจังหวะตามโน้ตตัวอื่น (ตัวกลม,ตัวขาว,ตัวเขบ็ต 1 ชั้น,ตัวเขบ็ต 2 ชั้น) ก็ จะปฏิบัติลักษณะเดียวกัน
- ในขณะสอน ครูพูดคุย ชมเชยนักเรียนที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง และให้ข้อแนะนำกับนักเรียนคนที่ยังปฏิบัติไม่ถูก
6. ประโยชน์ที่ได้รับ
6.1 นักเรียนสามารถปฏิบัติจังหวะหลักและตบมือในจังหวะต่างๆได้อย่างถูกต้องและรวด
เร็ว
6.2 ครูสามารถติดตามการปฏิบัติจังหวะของนักเรียนได้อย่างทั่วถึงเพื่อให้แรงเสริมและเพื่อให้ข้อแนะนำที่ถูกต้อง
7. การทดลองใช้
- เดิมประดิษฐ์ให้ทำการสอนได้ 3 ลักษณะตัวโน้ตคือโน้ตตัวดำ,ตัวเขบ็ต 1 ชั้น,ตัวเขบ็ต 2 ชั้น และได้นำไปใช้ประกอบการสอนกับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2541 และ2542ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
- ปัจจุบันปรับปรุงใหม่เมื่อต้นปี 2543 ให้สามารถทำการสอนได้ถึง 5 ลักษณะตัวโน้ต (เพิ่ม
โน้ตตัวกลมและโน้ตตัวขาวเข้าไป) แล้วนำไปทดลองใช้ประกอบการสอนกับนักเรียน
โรงเรียนวัดราชาธิวาส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 ปีการศึกษา 2543
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 ปีการศึกษา 2543 และ
โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2543
ดูรายละเอียดจากแบบประเมินพฤติกรรมที่แนบมาท้ายนี้
|