การจัด |
|
หลักเกณฑ์ในการจัดดอกไม้
ในการคิดหรือประดิษฐ์ดอกไม้นั้น ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ทำจะต้องมีแนวความคิดในเชิงในศิลปะโดยเฉพาะแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันแล้วแต่ความคิดของผู้ทำนั้นคิดที่จะทำในแบบใด แสดงออกในแบบไหน แง่ใดก็ได้ เปรียบเหมือนศิลปในการแสดงอะไรสักอย่าง ซึ่งผู้แสดงจะต้องตั้งใจในการแสดงนั้น ๆ ซึ่งก็เหมือนกับการจัดดอกไม้ก็เช่นเดียวกัน ไม่อาจจะจำกัดแบบลงไปให้แน่นอนตามตัว ต้องแล้วแต่ผู้ทำจะต้องคิดค้นดัดแปลงหรือหาแบบใหม่ๆมาช่วยในการจัดดอกไม้
|
|
แต่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์บางอย่างเป็นพื้นฐาน ได้แก่
1.ความสมดุลย์ ( Balance )
2. ส่วนสัด ( Propertion )
3. ส่วนเปรียบเทียบ ( Scale )
4. การตัดกัน ( Contrast )
5. จุดเด่น ( Dominance )
6. จังหวะ ( Rhythm )
1. ความสมดุลย์ คือ ถ้าเรามองด้วยตาเปล่าเราก็สามารถรู้ได้ว่าทั้งสอวข้างมีความเท่ากันทั้งสองข้าง แบ่งความสมดุลย์นี้ออกเป็น 2 อย่าง คือ
1. 1 ) ความสมดุลย์แท้ คือ ความสมดุลย์ที่เกิดขึ้นจากการจัดเอาไว้ให้แล้ว เช่น ดอก รูปทรงและสีของทั้งสองข้างมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันหรือเหมือนกันทุกประการ
1. 2 ) ความสมดุลย์ไม่แท้ คือ ความสมดุลย์ที่เกิดจากการจัดให้เส้นต่าง ๆ เช่น ดอก รูปทรง แต่เมื่อมองดูแล้วกลับเห็นว่ามีความสมดุลย์กัน
2. ส่วนสัด คือ เอาความกว้างความสูงของดอกไม้หรือของวัตถุที่ใช้มาจัดมาเปรียบเทียบกับความกว้างของภาชนะที่ใช้ว่ามีสัดส่วนที่พอจะรับกันหรือไม่
หลักเกณฑ์ที่ยอมรับกันว่าได้สัดส่วนที่ดีมีดังนี้ คือ
2. 1) ภาชนะทรงสูง ความสูงของดอกไม้ที่ปักเป็นดอกแรกจะต้องเหนือภาชนะให้สูงเป็น 1 เท่า ครึ่ง ถึง 2 เท่าความสูงของภาชนะ
2. 2) ภาชนะทรงเตี้ย ให้มีความยาวของก้านดอกไม้ที่จะนำมาจัดเป็น 1 เท่า ครึ่งถึง 2 เท่าความยาวของภาชนะ ( ถ้าเป็นภาชนะทรงกลมให้ถือเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเกณฑ์ )
3. ส่วนเปรียบเทียบ เป็นหลักสำคัญส่วนหนึ่งในแบบของการจัดดอกไม้ที่ต้องพิจารณาไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดดอกไม้ ภาชนะเครื่องตกแต่งที่นำมาประดับจะต้องให้สอดคล้องกันด้วย
4. การที่ตัดกัน คือ ลักษณะการตัดกันของพื้นผิววัตถุ สีและเส้นของวัตถุที่นำมาจัดเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ดูสามารถช่วยในการจัดให้ดูสมบูรณ์ขึ้น
5. จุดเด่น จุดเด่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การจัดแบบนั้น ๆ ดูสดชื่นแจ่มใสมีชีวิตชีวาแก่ผู้พบเห็นไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย
6. จังหวะ ในการจัดดอกไม้อาศัยส่วนประกอบของสีรูปทรง และเส้นที่จัดขึ้นเป็นสิ่งที่ทำให้สายตาผู้ดูเคลื่อนไหวติดตามไปด้วย
|
โดย : นางสาว ชุติมา บัณฑิตยนาถ, วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี, วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544
|