ศิลปสมัยลพบุรี

ศิลปยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยลพบุรี
ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-19
ศูนย์กลางของศิลปสมัยลพบุรี (ศิลปของขอม)
แบ่งออกเป็น 4 แห่งดังนี้
1. ภาคกลาง อยู่ที่ลพบุรี ผลงานที่เกิดจากฝีมือของขอม เป็นผลงานด้านสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลง หินทรายแดง ได้แก่พระปรางค์แขก พระปรางค์สามยอดลพบุรี
2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลงานด้านสถาปัตยกรรม เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
3.ภาคเหนือ ผลงานด้านสถาปัตยกรรม เช่น พระปรางค์วัดจุฬามณี พิษณุโลก พระปรางค์วัดศรีสวาย สุโขทัย
4. ภาคใต้ ผลงานด้านสถาปัตยกรรม ที่ปรากฏเด่นชัดอยู่ที่ วัดพลิบพลี หรือวัดกำแพงแลง ผลงานด้านปฏิมากรรม สมัยลพบุรีรับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธนิกายมหายาน และศาสนาพรหมณ์ฉะนั้น รูปเคารพจึงสรุปได้ดังนี้
พระพุทธรูป พระพักตร์กว้าง สี่เหลี่ยม พระเนตรโตกลม พระโอษฐ์กว้างแบน นิยมสร้างแบบพระเครื่อง นาคปรก พระวรกายเตี้ยล่ำ
พระโพธิสัตว์ และนางปัญญาบารมี เป็นชายา พระโพธิสัตว์ บรรจุอยู่ในพระปรางค์ เบื้องซ้าย เบื้องขวา ของพระพุทธรูป
แบบเทวรูป พระพักตร์ ถมึงตึง สี่เหลี่ยมริมพระโอษฐ์กว้างแบน มีพระกรหลายพระกร
สรุป ผลงานด้านสถาปัตยกรรมของศิลปลพบุรี นิยมสร้างด้วยศิลาแลง แบบวางพาด ถือเอาความคงทน ปฏิมากรรมนิยมสร้างแบบพระทรงเครื่องนาคปรก ตามแบบนิกายมหายาน



โดย : นางสาว จารุวรรณ บุ่งวิเศษ, 69 ถ.นครปฐม แขวงดุสิต ดุสิต กรุงเทพฯ 10300, วันที่ 10 พฤษภาคม 2545