ศิลปสมัยศรีวิชัย

ศิลปยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยศรีวิชัย
ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-18
ศูนย์กลางของศิลปสมัยศรีวิชัย อยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย เช่นเมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปจนถึง แหลมมาลายู และอินโดนีเซีย ศิลปในยุคนี้ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนานิกายมหายาน และอิทธิพลจากสกุลศิลปคุปตะ ปาละวะ ปาละเสนา
ลักษณะแบบอย่างของศิลปมีดังนี้
ทางปฏิมากรรม มีการสร้างพระพุทธรูปแบบสวมจีวรบาง แนบเนื้อ ซึ่งปัจจุบันนี้ พระพุทธรูปแบบศรีวิชัย ได้นำมาประดิษฐานอยู่ที่ วัดราชาธิวาส ตั้งแต่สมัยราชการที่ 5 เป็นพระพุทธรูปแบบปางมารวิชัย นอกจากนี้ยังได้สร้าง พระโพธิสัตย์อวโลกิเตศวร ที่งดงาม ทรงมงกุฎสวมสร้อยพระศอ และสังวาล ย์ พระพักต์สงบนิ่ง ทำด้วยสัมฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบันประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สำหรับผู้ที่ค้นพบคือ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทางสถาปัตยกรรม คือการสร้างสถูปมีเหลี่ยมมุมสูง ใหญ่ ลดหลั่นขึ้นไป จนถึงตรงยอดที่เป็นสัญลักษณ์ของสถูปแบบศรีวิชีย ก็คือการสร้างสถูปแบบ 5 ยอด ตรงกลางเป็นสถูปองค์ใหญ่ มีสถูปเล็กล้อมรอบเป็นบริวารถึง 4 ทิศ เช่นสถูปพระธาตุนครศรีธรรมราช สถูปเจดีย์ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
สำหรับองค์พระสถูปที่ถือว่ามีชื่อมากในต่างประเทศ เป็นแบบศรีวิชัยคือ มหาสถูป บรมพุทโธ ZBOLOBUDUR) ประดิษฐานที่เมือง ปาเล็มปัง ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวคือ ศิลปินได้สร้างแบบจำลองจักรวาล คือรูปธาตุ และแบบ อรูปธาตุ



โดย : นางสาว จารุวรรณ บุ่งวิเศษ, 69 ถ.นครปฐม แขวงดุสิต ดุสิต กรุงเทพฯ 10300, วันที่ 10 พฤษภาคม 2545