ศิลปยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย

ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย(pre history of art)
ต้นกำเนิดแหล่งที่มาของศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ มา 3 ทางคือ
1. ทางพุทธศาสนา
2. ทางผู้ลี้ภัยจากผลของสงครามครั้งอโศกมหาราช
3. ทางผู้ลี้ภัยจากผลของสงครามครั้งพระเจ้าอเลกชานเดอร์ ยกทัพตีขยายอิทธิพลมาถึงอินเดีย
ดังนั้นบรมครูที่เป็นชาวอินเดีย จึงได้มาสร้างสรรค์ศิลปกรรมต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ขึ้น ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมยุคก่อนสุวรรณภูมิ จึงอธิบายเสริมความเข้าใจดังนี้
1.ทางพุทธศาสนา จากการสันนิษฐาน ของท่านนักโบราณคดีว่า ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทำการรบเพื่อขยายดินแดน ไปทั่วแคว้นของอินเดียในส่วนกลาง โดยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงทำการรบที่สมรภูมิแคว้นกะลิงคราชนั้น ทหารของพระองค์ได้รบพุ่งจนได้รับชัยชนะ พระองค์พร้อมทั้งทหารได้สังหาร ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนนับแสน พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเกิดความสังเวช ในพระทัยอย่างมาก เมื่อสิ้นสงครามแล้ว พระองค์จึงได้คิดที่จะเลิกกระทำบาป พระองค์จึงได้หันมาวินิจฉัยแนวทางและความคิดของ ศาสนาทุกศาสนา ในอินเดียขณะนั้น ในที่สุดพระองค์เห็นว่า ศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลักธรรมที่เป็นจริง ถ้าทุกคนได้นับถือตามพระธรรม หรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์แล้ว ก็จะบังเกิดความสงบสุข และสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะมีบทบัญญัติสอนให้ทุกคนสร้างแต่ความดี
ฉะนั้น พระเจ้าอโศกมหาราช จึงทรงเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จึงได้ให้บรรดาช่างหรือศิลปินสร้าง เป็นสถูปทรงฟองน้ำ หรือขันโอคว่ำ มีบัลลังก์ มีร่มฉัตร ต่อมานิยมเรียกว่า เจดีย์สัญจิ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่นิยมทำรูปบุคคลขึ้นเคารพ ช่างหรือศิลปินชาวอินเดีย จึงได้สร้างสัญลักษณ์หรือสิ่งแทนพระพุทธองค์คือ
-ประสูติ ได้สร้างเป็นรอยพระบาทมีดอกบัวตรงกลางพระบาท
-ตรัสรู้ บรรดาช่างหรือศิลปินชาวอินเดียได้สร้างเป็นรูปหินแกะสลัก เป็นต้นโพธริ์กับบัลลังก์
-ปฐมเทศนา บรรดาช่างหรือศิลปินได้สร้างเป็นรูปพระธรรมจักร กับกวางหมอบ
-นิพพาน บรรดาช่างหรือศิลปินได้สร้างเป็นพระสถูป เพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์
2.ทางผู้ลี้ภัยจากผลของสงครามครั้งอโศกมหาราช
เมื่อ พระเจ้าอโศกมหาราช ไปรุกรานยังที่ใด เมืองใด บรรดาประชาชนพลเมืองชาวอินเดีย ก็พากันอพยพ หลบหนีภัยสงคราม ข้ามน้ำข้ามทะเล มาสู่เกาะลังกา แล้วจึงอพยพผ่านมาทางทะเลอันดามัน เข้าสู่เมืองนครศรีธรรมราช
ฉะนั้น บรรดาครูหรือช่างศิลป์ ชาวอินเดียจึงได้อพยพเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ มาสร้างสรรค์ศิลปกรรมไว้เป็นจำนวนมาก จากหลักฐาน ที่ขุดพบในประเทศไทย ได้พบชามบดข้าวแบบอินเดีย และยังขุดพบตะเกียงน้ำมันดิน แบบที่ใช้ในอินเดีย พระธรรมจักร กับกวางหมอบ
3. ทางผู้ลี้ภัยจากผลของสงครามครั้งพระเจ้าอเลกชานเดอร์ ยกทัพตีขยายอิทธิพลมาถึงอินเดีย
เมื่อครั้งพระเจ้าอเลกชานเดอร์ ชาวกรีก ซึ่งได้ยกกองทัพเข้าตีขยายอิทธิพลมาถึงอินเดีย ในแถบ มณฑล อัสสัม ทำให้ประชาชนได้หนีภัยสงครามข้ามแม่น้ำสินธุ หรือแม่น้ำฮินดู จนมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิคือ ประเทศไทย
จากการสันนิษฐาน นักโบราณคดี บรรดาศิลปะที่เกิดขึ้นภายหลังอาจมาจาก การที่มีสัมณฑูต ชาวอินเดียที่เป็น พระสาวกทางพุทธศาสนา มาเผยแพร่พระศาสนา นำศิลปกรรมทางรูปเคารพเข้ามาด้วย เพราะได้มีการขุดพบพระพุทธรูปแบบคันธาราฐ ที่มีพระพักตร์เป็นชาวกรีก ในประเทศไทย
ส่วนหลักฐานทางสิ่งก่อสร้าง คือ การสร้างเจดีย์นครปฐมองค์เดิม มีลักษณะแบบเจดีย์สัญจิของอินเดีย
อินเดีย
เมื่อครั้งพระเจ้าอเลกชานเดอร์ ชาวกรีก ซึ่งได้ยกกองทัพเข้าตีขยายอิทธิพลมาถึงอินเดีย ในแถบ มณฑล อัสสัม ทำให้ประชาชนได้หนีภัยสงครามข้ามแม่น้ำสินธุ หรือแม่น้ำฮินดู จนมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิคือ ประเทศไทย
จากการสันนิษฐาน นักโบราณคดี บรรดาศิลปะที่เกิดขึ้นภายหลังอาจมาจาก การที่มีสัมณฑูต ชาวอินเดียที่เป็น พระสาวกทางพุทธศาสนา มาเผยแพร่พระศาสนา นำศิลปกรรมทางรูปเคารพเข้ามาด้วย เพราะได้มีการขุดพบพระพุทธรูปแบบคันธาราฐ ที่มีพระพักตร์เป็นชาวกรีก ในประเทศไทย
ส่วนหลักฐานทางสิ่งก่อสร้าง คือ การสร้างเจดีย์นครปฐมองค์เดิม มีลักษณะแบบเจดีย์สัญจิของอินเดีย





โดย : นางสาว จารุวรรณ บุ่งวิเศษ, 69 ถ.นครปฐม แขวงดุสิต ดุสิต กรุงเทพฯ 10300, วันที่ 10 พฤษภาคม 2545