เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง |
เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงคือเครื่องปั้นดินเผาไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ขุดพบได้ ที่หมู่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงในยุคต้น ๆ จะเป็นเพียงภาชนะดินเผาทั่วไปที่มีลายขูดขีดเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาสมัยหลังจึงมีการเขียนลวดลายสีแดงทับลงไปบนผิวภาชนะ สีที่ใช้เขียนเป็นลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงนั้นพอจะแยกแยะออกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มลายเส้นโค้ง
2. กลุ่มลายก้านขดและก้นหอย
3. กลุ่มลายรูปเรขาคณิต
4. กลุ่มลายดอกไม้
5. กลุ่มลายรูปสัตว์
6. กลุ่มลายอื่น ๆ เช่น ลายเส้นขนาน ลายสามเหลี่ยมซ้อน ลายเชือกควั่น ลายรูปขนมเปียกปูนซ้อน
เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมีทั้งที่มีลายเขียนสีและไม่มีลายเขียนสี ส่วนที่มีลายเขียนสีบางใบยังมีลายทั้งภายนอกและภายใน สันนิษฐานได้ว่าการที่มีลายเขียนทั้งภายนอกและภายในนั้นไม่น่าจะใช้สำหรับหุงต้มอาหาร แต่น่าจะมีเพื่อจุดมุ่งหมายในพิธีศพตามระบบความเชื่อถือที่สืบเนื่องกันมาก่อนแล้ว และด้วยเหตุนี้เองนักโบราณคดีจึงขุดพบภาชนะลายเขียนสีที่บ้านเชียงจำนวนมหาศาลข้างโครงกระดูกมนุษย์อยู่ในหลุ่มฝังศพ
.
จรูญ โกมุทรัตนานนท์. สารานุกรมเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ, 2539.
|
โดย : นางสาว chanya pathamapikul, ripw klongluang pathumthani bangkok, วันที่ 14 มีนาคม 2545 |