ตำนานหมากรุก

ตำนานหมากรุก (1)
>> ตำนานหมากรุก (2)


อธิบายตำนานหมากรุก
การเล่นหมากรุกปรากฏว่ามีในประเทศอินเดียช้านานนับด้วยพันปี พวกอินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้นเมื่อ ครั้งพระรามไปล้อมเมืองลงกา นางมณโฑเห็นทศกรรฐเดือดร้อนรำคาญใจในการที่ต้องเป็นกังวลคิด ต่อสู้สงคราม ไม่มีเวลาผาสุก นางรู้ว่าจะชักชวนให้ทศกรรฐพักผ่อนด้วยประการอื่นก็คงไม่ยอม จึงเอา กระบวรการสงครามคิดทำเป็นหมากรุกขึ้นให้ทศกรรฐเล่นแก้รำคาญ มูลเหตุที่จะเกิดมีหมากรุก พวก ชาวอินเดียกล่าวกันมาดังนี้แต่ชื่อที่เรียกว่าหมากรุก เป็นคำของไทยเราเรียก พวกชาวอินเดียเขาเรียก หมากรุกว่า "จัตุรงค์" เพราะเหตุที่คัดเอากระบวรพล ๔ เหล่าทำเป็นตัวหมากรุก คือ พลช้าง๑ พลม้า๑ พลเรือ๑ (พลเรือนั้นอธิบายว่า เพราะคิดขึ้นที่เกาะลังกา จึงใช้เรือแทนรถ) พลราบ(ได้แก่เบี้ย)๑ มีพระ ราชา(คือขุน)เป็นจอมทัพ ตั้งเล่นบนแผ่นกระดานจัดขึ้นเป็นตาราง ๖๔ ช่อง (อย่างกระดานหมากรุก ทุกวันนี้) วิธีเล่นหมากรุกชั้นเดิม...ที่เรียกว่าจัตุรงค์นั้น ไม่เหมือนอย่างที่เล่นกันในชั้นหลัง มีอธิบายอยู่ใน หนังสือมหาภารตะว่า เป็นตัวหมากรุก ๔ ชุด แต้มสีต่างกัน สีแดงชุด ๑ สีเขียวชุดหนึ่ง ๑ สีเหลือง ชุด ๑ สีดำชุด ๑ ในชุด ๑ นั้น ตัวหมากรุกมีขุนตัว ๑ ช้าง(โคน) ๑ ม้าตัว ๑ เรือตัว ๑ เบี้ย ๔ ตัว รวมเป็นหมากรุก๘ ตัว สมมุตว่าเป็นกองทัพของประเทศ ๑ ตั้งตัวหมากรุกในกระดาน ดังนี้











ชุดทางขวามือสมมุติว่าอยู่ประเทศทางตะวันออก พวกทางซ้ายมือว่าอยู่ประเทศตะวันตก ชุดข้างบนอยู่ ประเทศทางทิศเหนือ ชุดข้างล่างอยู่ประเทศทิศใต้ คนเล่น ๔ คน ต่างถือหมากรุกคนละชุดแต่การเล่น นั้น ๒ พวกที่อยู่ทแยงมุมกัน (คือพวกขาวในรูปนี้) เป็นสัมพันธมิตรช่วยกันรบ (พวกดำ) ซึ่งเป็น สัมพันธมิตรกับอีกฝ่ายหนึ่ง ลักษณะเดินตัวหมากรุกอย่างจัตุรงค์นั้น ขุน ม้า เบี้ย เดินอย่างกับหมากรุก ที่เราเล่นกัน แต่ช้างเดินอย่างเราเดินเรือกันทุกวันนี้ ส่วนเรือนั้นเดินทแยง(อย่างเม็ด) แต่ให้ข้ามตาใกล้เสีย ๑ ตา แต่การที่จะเดินต้องใช้ทอดลูกบาต ลูกบาตนั้นทำเป็นสี่เหลี่ยมแท่งยาว ๆ มีแต่ ๔ ด้าน หมาย ๒ แต้มด้าน๑ ๓ แต้มด้าน๑ ๔ แต้มด้านหนึ่ง ๕ แต้มด้าน๑ คนเล่นทอดลูกบาตเวียนกันไป ถ้าทอดได้ แต้ม ๕ บังคับเดินขุนฤาเดินเบี้ย ถ้าทอดได้แต้ม ๔ ต้องเดินช้าง ถ้าทอดได้แต้ม 3 ต้องเดินม้า แต้ม ๒ ต้องเดินเรือ จะเดินไปทางไหนก็ตามใจ เว้นแต่เบี้ยนั้นไปได้แต่ข้างหน้าทางเดียว (อย่างหมากรุกที่เรา เล่นกัน) วิธีเล่นหมากรุกชั้นเดิมที่เรียกว่าจัตุรงค์มีเค้าดังกล่าวมานี้

ครั้นจำเนียรกาลนานมาถึงเมื่อราวพ.ศ.๒๐๐นี่ ว่ามีพระเจ้าแผ่นดินในอินเดียพระองค์๑ ชอบพระหฤไทย ในการทำสงครามยิ่งนัก ตั้งแต่เสวยราชย์ก็เที่ยวรบพุ่งที่ใกล้เคียง จนได้เป็นมหาราช ไม่ว่าเมืองใดที่จะ ต่อสู้ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ครั้นไม่มีโอกาสที่จะเที่ยวทำสงครามอย่างแต่ก่อน ก็เดือดร้อนรำคาญ พระหฤไทย จึงปฤกษามหาอำมาตย์คน๑ ชื่อว่า สัสสะ ว่าจะทำอย่างไรดีจึงจะเป็นสุข มหาอำมาตย์คน นั้นคิดว่าจะแก้ด้วยอุบายอย่างอื่น พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นก็คงะยังอยากหาเหตุเที่ยวรบพุ่งอยู่นั่นเอง ที่ไหนบ้านเมืองจะได้มีสันติสุข จึงเอาการเล่นจตุรงค์มาคิดดัดแปลงให้เล่นกันแต่ ๒ คน แลเลิกวิธีทอด ลูกบาตรเสีย ให้เดินแต้มโดยใช้ปัญญาความคิดเอาชนะกัน เหมือนทำนองอุบายการสงคราม แล้วนำขึ้น ถวายพระเจ้าแผ่นดิน ชวนให้ทรงแก้รำคาญ พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นทรงเล่นจตุรงค์อย่างที่มหาสัสสะ คิดถวาย ก็เพลิดเพลินพระหฤไทย หายเดือดร้อนรำคาญ บ้านเมืองก็เป็นสุขสมบูรณ์

กระบวรหมากรุกที่ว่ามหาอำมาตย์สัสสะคิดถวายใหม่นั้น คือรวมตัวหมากรุกซึ่งเดิมเป็น ๔ พวกนั้น ให้เป็นแต่ ๒ พวก ตั้งเรียงฝ่ายละฟากกระดาน (ทำนองเดียวกับหมากรุกที่เราเล่นกันทุกวันนี้) เมื่อจัดเป็น กระบวนแต่ ๒ ฝ่าย จะมีพระราชาฝ่ายละ ๒ องค์ไม่ได้ จึงลดขุนเสีย ๑ ตัว คิดเป็นตัวมนตรีขึ้นมาแทน (คือตัวที่เราเรียกว่าเม็ด) หมากรุกอย่างที่มหาอำมาตย์สัสสะคิดแก้ไขนี้ ต่อมาแพร่หลายไปถึงนา ๆ ประเทศ พวกชาวประเทศอื่นได้คิดดัดแปลงแก้ไขตามนิยมกันในประเทศนั้นอีกชั้นหนึ่ง หมากรุกที่เล่น ในนานาประเทศทุกวันนี้จึงผิดเพี้ยนกันไปบ้าง แต่เค้ามูลยังเป็นอย่างเดียวกัน เพราะต้นแบบแผนได้มาแต่ อินเดียด้วยกันทั้งนั้น

เรื่องตำนานหมากรุกที่กล่าวมานี้ ได้อาศัยเก็บความในหนังสือเรื่องตำนานหมากรุก ของดอกเตอร์ ดันคัน พอบส์ แต่งไว้เป็นภาษาอังกฤษ มาแสดงพอให้ทราบเค้าความ

อนึ่ง มีกลอนเพลงยาว ว่าด้วยกระบวนไล่หมากรุก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก ......) ได้แต่งขึ้นในหอพระ สมุดฯ บท๑ เห็นควรจะพิมพ์รักษาไว้มิให้สูญเสีย จึงพิมพ์ไว้ท้ายตำนานนี้ด้วย





โดย : นาย ศักดิ์ชาย ชัยธานี, วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิเทรา, วันที่ 1 มีนาคม 2545