บริษัท ครีเอทมีเดีย สตูดิโอ จำกัด 74-75 หมู่ 6 ซ.ปิ่นนคร 4 ถ.บรมราชชนนี
เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ 10170 โทรศัพท์ 433-5044, 434-1548, 434-6342
โทรสาร 435-0968 E- Mail Address : cmstudio@loxinfo.co.th
www.thaidans.com
ความหมายของคำว่า "ละคร"
ละครเป็นการแสดงศิลปะอย่างหนึ่ง ที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์คู่กับมนุษยชาติ และมีอยู่ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา จะแตกต่างก็แต่แบบอย่างทางศิลปะ และความประณีต ละเอียดอ่อน ตามความนิยมของมนุษย์ในสังคมนั้น ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสังคม ละครเป็นการแสดงที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรมในด้านต่างๆของชาตินั้นๆได้เป็นอย่างดี ตลอดทั้งยังเป็นเครื่องบันเทิงใจที่จะทำให้มนุษย์ได้เข้าใจ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ละคร คือ มหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องต่างๆ มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู ขณะเดียวกันผู้ดูก็จะได้แนวความคิด คติธรรม และปรัชญาจากการละครนั้น ละครเป็นวรรณกรรมรูปแบบหนึ่งที่แสดงออกซึ่งอารมณ์ของมนุษย์ โดยสร้างตัวละคร และสถานการณ์ขึ้น เพื่อให้ตัวละครแสดงอารมณ์ออกมาตามสถานการณ์ ก่อให้เกิดเหตุการณ์สอดคล้องสืบเนื่องกันเป็นเรื่องใหญ่ หากเรื่องเล็กๆที่ตัดออกเป็นตอนๆนั้น หากเรื่องเล็กๆที่ตัดออกเป็นตอนๆนั้น่อเนื่องกันได้โดยสนิท เป็นที่พอใจของคนดูก็นับว่าละครเรื่องนั้นเป็นละครที่ดี
รูปศัพท์ของคำว่า"ละคร"
คำว่า "ละคร" มีลักษณะการเขียนผิดเพี้ยนออกไปดังนี้ คือ ละคร ละคอน ลคร เหตุนี้เองพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีกระแสรับสั่งถามถึงมูลศัพท์ของคำว่า "ละคร" ทั้ง 3 คำว่าเขียนคำใดจึงจะถูกต้อง
คำว่า "ลคร" บางท่านสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "นคร" ได้ข้อสังเกตจากการเรียกชาวนครศรีธรรมราช และนครลำปางว่า "เมืองลคร" ถ้าเอ่ยถึงเมืองลครก็เข้าใจว่าคือเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองลำปาง เสียงสระของคำว่า "ลคร" และ "นคร" เหมือนกัน รูปศัพท์ก็ควรจะเขียนเช่นนั้น นิยมใช้คำนี้มาตั้งแต่โบราณ จากปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย กล่าวถึงคำว่า "ลคร" ดังนี้
ฝ่ายฟ้อนลครใน บริรักษ์จักรี
โรงริมคิรีมี กลลับบ่แลชาย
ฯลฯ
คำว่า "ละคร" มูลศัพท์นี้กล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสประเทศชวา พบละครชวาที่เล่นถวายทอดพระเนตร ชื่อ "ละงันดริโย" จึงทรงปรารภว่าจะเอาคำนี้มาใช้โดยสะกดด้วยตัว "ร"
คำว่า "ละคอน" ได้พบจากหนังสือภาษาเขมรเขียนประกอบภาพละครหลวงของประเทศกัมพูชาว่า "ละโขนพระกรุณา" เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าเขมรมีอารยธรรมสูงส่ง และเจริญมาก่อนไทย ไทยเองก็ได้รับอารยธรรมของเขมรมาหลายอย่าง "ละโขน" สะกดด้วย "น" เพราะฉะนั้น คำว่า "ละคอน" ควรสะกดด้วย "น" ก็อาจเป็นได้
ประวัติการละครของไทย
การละครไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นศิลปะ และวัฒนธรรมไทย เป็นสัญลักษณ์อันแลเห็นได้ว่าเป็นไทย แม้ว่าการแสดงนั้นๆจะได้รับแบบแผนหรืออิทธิพลในทางวัฒนธรรมมาจากชาติอื่นก็ตาม แต่ได้ดัดแปลงปรับปรุงจนเป็นรูปลักษณะของไทยแล้วก็ถือว่าเป็นไทย
ประวัติการละครไทยสมัยต่างๆ มีดังนี้
สมัยน่านเจ้า การศึกษาเรื่องการละคร และนาฏศิลป์ไทยในสมัยนี้ พบว่า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่ง คือ เรื่อง "มโนห์รา" ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ในอาณาจักรน่านเจ้าเดิมนั่นเอง นิยายเรื่องนั้น คือ "นามาโนห์รา (Namanora) เป็นนิยายของพวกไต พวกไตคือไทยเรานี่เอง แต่เป็นพวกที่ไม่อพยพลงมาจากดินแดนเดิม เรื่องนามาโนห์รานี้จะนำมาเล่นเป็นละครหรือไม่นั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฎเด่นชัด ส่วนการละเล่นของไทยน่านเจ้านั้นมีพวกระบำอยู่แล้ว คือ ระบำหมวก และระบำนกยูง
สมัยสุโขทัย สมัยนี้ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการละครนัก เป็นสมัยที่เริ่มมีความสัมพันธ์กับชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม และละว้า ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรมที่ดีของชาติที่สมาคมด้วย แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ชาติไทยแต่โบราณจะไม่รู้จักการละครฟ้อนรำมาก่อน เรามีการแสดงประเภทระบำรำเต้นมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เมื่อไทยได้รับวัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้า ศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองของไทย คือ รำ และระบำ ก็ได้วิวัฒนาการขึ้น มีการกำหนดแบบแผนแห่งศิลปะการแสดงทั้ง 3 ชนิดไว้เป็นที่แน่นอน และบัญญัติคำเรียกศิลปะแห่งการแสดงดังกล่าวแล้วขั้นต้นว่า "โขน ละคร ฟ้อนรำ" ส่วนเรื่องละครแก้บนกับละครยก อาจมีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยนั้นแล้วเช่นกัน
สมัยกรุงศรีอยุธยาละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลปขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน โขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้ ละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลปขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน โขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้
สมัยกรุงธนบุรี สมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 เหล่าศิลปินได้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ เพราะผลจากสงคราม บางส่วนก็เสียชีวิต บางส่วนก็ถูกกวาดต้อนไปอยู่พม่า ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกในปีชวด พ.ศ. 2311 แล้ว ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ และรวบรวมศิลปินตลอดทั้งบทละครเก่าๆที่กระจัดกระจายไปให้เข้ามาอยู่รวมกัน ตลอดทั้งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลด (เผารูปเทวดา) ตอนพระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท ตอนปล่อยม้าอุปการ มีคณะละครหลวง และเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง เช่น ละครหลวงวิชิตณรงค์ ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล หมื่นโวหารภิรมย์ นอกจากละครไทยแล้วยังมีละครเขมรของหลวงพิพิธวาทีอีกด้วย
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่ การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่
สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงฟื้นฟูรวบรวมสิ่งต่างๆที่สูญเสีย และกระจัดกระจายให้สมบูรณ์ ในรัชสมัยนี้ได้มีการรวบรวมตำราฟ้อนรำขึ้นไว้เป็นหลักฐานสำคัญที่สุดในประวัติการละครไทย มีบทละครที่ปรากฎตามหลักฐานอยู่ 4 เรื่อง คือ บทละครเรื่องอุณรุฑ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ บทละครเรื่องดาหลัง และบทละครเรื่องอิเหนา
สมัยรัชกาลที่ 2พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญรุ่งเรือง เป็นยุคทองแห่งศิลปะการละคร มีนักปราชญ์ราชกวีที่ปรึกษา 3 ท่าน คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี และสุนทรภู่ มีบทละครในที่เกิดขึ้น ได้แก่ เรื่องอิเหนา ซึ่งวรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครรำ และเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนบทละครนอก ได้แก่ เรื่องไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง และมณีพิชัย
สมัยรัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ละครหลวงซบเซา เนื่องจากพระองค์ไม่สนับสนุน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกละครหลวงเสีย แต่มิได้ขัดขวางผู้จะจัดแสดงละคร ทำให้เกิดคณะละครของเจ้านาย และขุนนางขึ้นแพร่หลาย หลายคณะ หลายโรง และมีบทละครเกิดขึ้นมากมาย
สมัยรัชกาลที่ 4พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยนี้ได้เริ่มมีการติดต่อกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวยุโรปบ้างแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูละครหลวงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งออกประกาศสำคัญเป็นผลให้การละครไทยขยายตัวอย่างกว้างขวาง ดังมีความโดยย่อ คือ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้คนทั่วไปมีละครชาย และหญิง เพื่อบ้านเมืองจะได้ครึกครื้นขึ้น เป็นเกียรติยศแก่แผ่นดิน
แม้จะมีละครหลวง แต่คนที่เคยเล่นละครก็ขอให้เล่นต่อไป
ห้ามบังคับผู้คนมาฝึกละคร ถ้าจะมาขอให้มาด้วยความสมัครใจ
สำหรับละครที่มิใช่ของหลวง มีข้อยกเว้นคือ
- ห้ามใช้รัดเกล้ายอด เครื่องแต่งตัวลงยา และพานทองหีบทองเป็นเครื่องยก
- บททำขวัญห้ามใช้แตรสังข์
- หัวช้างห้ามทำสีเผือก ยกเว้นหัวช้างเอราวัณ
มีประกาศกฎหมายภาษีมหรสพ พ.ศ. 2402 เก็บจากเจ้าของคณะละครตามประเภทการแสดง และเรื่องที่แสดง
สมัยรัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การละครในยุคนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการละครแบบตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่วงการนาฏศิลป ทำให้เกิดละครประเภทต่างๆขึ้นมากมาย เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง ละครพูด และลิเก ทรงส่งเสริมการละครโดยเลิกกฎหมายการเก็บอากรมหรสพเมื่อ พ.ศ. 2450 ทำให้กิจการละครเฟื่องฟูขึ้นกลายเป็นอาชีพได้ เจ้าของโรงละครทางฝ่ายเอกชนมีหลายราย นับตั้งแต่เจ้านายมาถึงคนธรรมดา
สมัยรัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นสมัยที่การละคร และการดนตรีทั้งหลายได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด นับได้ว่าเป็นยุคทองแห่งศิลปะการละครยุคที่ 2 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อบำรุงวิชาการนาฏศิลป และการดนตรี และยังทรงเป็นบรมครูของเหล่าศิลปิน ทรงพระราชนิพนธ์บทโขน ละคร ฟ้อนรำไว้เป็นจำนวนมาก
สมัยรัชกาลที่ 7พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การเมืองเกิดภาวะคับขัน และเศรษฐกิจของประเทศทรุดโทรม เสนาบดีสภาได้ตกลงประชุมกันเลิกกรมมหรสพ เพื่อให้มีส่วนช่วยกู้การเศรษฐกิจของประเทศ และต่อมาจึงกลับฐานะมาเป็นกองขึ้นอีก จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2478 กองมหรสพจึงอยู่ในสังกัดกรมศิลปากร ข้าราชการศิลปินจึงย้ายสังกัดมาอยู่ในกรมศิลปากร ในสมัยนี้มีละครแนวใหม่เกิดขึ้นคือ ละครเพลง หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า "ละครจันทโรภาส" ตลอดทั้งมีละครหลวงวิจิตรวาทการเกิดขึ้น
|