ทัชมาฮาล |
เป็นอนุสาวรีย์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ของโลก เพราะที่นี่เป็นสุสานฝังศพของ พระนางมุขทัช มาฮัล ราชินีผู้เป็นที่รักยิ่งของ พระเจ้า ชาห์ เจฮาน แห่งเมืองอักรา ประเทศอินเดีย พระนางสิ้นพระชนม์ ขณะมีพระประสูติการณ์พระราชโอรสองค์ที่ 14 ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ 1631ใกล้เมือง เบอร์หันปุระ ซึ่งสร้างความเสียพระทัยต่อพระเจ้า ชาห์ เจฮาน เป็นอย่างมาก พระองค์ทรงไว้ทุกข์เป็นระยะเวลานานถึง 2 ปี และทรงมุ่งสร้างหลุมฝังศพ อันยิ่งใหญ่ให้แก่พระมเหสี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันต่อมาว่า ทัช มาฮาล
|
|
|
|
ทัชมาฮาล สร้างขึ้นที่เมืองอัคระ รัฐอุตรประเทศ ห่างจากกรุงนิวเดลี ประมาณ 200 กิโลเมตร มีโดมขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ฟุต (15.2 เมตร) ความสูง80 ฟุต (24.4 เมตร) ความสูงของโดมจากพื้น 200 ฟุต ฐานกว้าง 313 ฟุต มีโดมเล็ก ๆ เป็นหอสูงอยู่ทั้ง 4 มุม ภายในประดับด้วยหินอ่อนสลักฉลุเป็นลวดลายวิจิตรตระการตาแทรกเสริมด้วยทับทิมและนิล ตรงกลางภายใต้หลังคาโดมใหญ่มีแท่นวางหีบศพที่ทำด้วยหินอ่อน และมีฉากหินอ่อนฉลุลายงามเป็นพิเศษกั้นอีกชั้นหนึ่ง แต่ศพจริง ๆ หาได้บรรจุอยู่ในหีบศพนั้นไม่ หากฝังอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินตรงกับที่วางหีบศพนั้น
|
|
ทัชมาฮาล ประกอบด้วยแบบฉบับของสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่แล้วหลายแห่งในสมัยโมกุล เช่น วิธีการจัดแบบสวนรูปสามเหลี่ยม การวางแบบบ่อน้ำและน้ำพุตามแบบของพระเจ้าบาบูร์ ที่กาบุล หอคอยทรงเปรียวที่ปรากฏอยู่นั้น ได้มาจาก ปากทางเข้าหลุมฝังศพของพระเจ้าอักบาร์ ส่วนหินอ่อนขาวมีแบบมาจากหลุมฝังศพ ของ อิติมัด อุด ดอลลาห์ ดั้งนั้น ทัชมาฮาล จึงเท่ากับว่า เป็น สถาปัตยกรรม ที่รวมเอาประเพณีของโมกุล และ พระราชดำริของพระเจ้า ชาห์ เจฮาน ไว้ด้วยกัน
เวลาในการก่อสร้าง เริ่มตั้งแต่ปี 1632 ถึง ค.ศ 1643 สถาปัตยกรรมนี้ก็สำเร็จทันพิธีเฉลิมฉลองถวายให้ พระนางมุขทัช มาฮัล เป็นครั้งแรก และถือว่าสำเร็จอย่างแท้จริงในปี ค.ศ 1648 รวมเวลา 16 ปี แม้จะมีงานจรทั่วไปอยู่กระทั่งถึง ค.ศ 1653
|
โดย : นางสาว นิธิตา สัตตรัตน์ไพจิตร, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 |