ปลาตะเพียนสาน

ปลาตะเพียนสานเป็นหัตถกรรมเครื่องแขวนของไทย ได้อิทธิพลมาจากปลาตะเพียนเป็นปลาน้ำจืด ซึ่งมีความอดทน รักสงบ ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ว่องไว เกล็ดเป็นสีเงิน สีทอง ปลาตะเพียนสานประดิษฐ์ขึ้นด้วยความมุ่งหมายเป็นเครื่องแขวน สำหรับเด็กเพื่อฝึกกล้ามเนื้อตาและความเพลินเพลิน เพราะการเลี้ยงเด็กในสมัยโบราณนิยมนอนเล่นในเปล ตรงกลางเปลจะแขวนปลาตะเพียนสานเอาไว้ให้เด็กดู ปลาตะเพียนสานจะผูกรวมกันเป็นกลุ่ม มีตัวเล็กและตัวใหญ่ ในปัจจุบันมีการใช้ริบบิ้นมาสานแทนวัตถุท้องถิ่น ปัจจุบัน ปลาตะเพียนสานมิใช่นิยมไว้แขวนให้เด็กดูเล่นเท่านั้น ยังตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงามและเป็นของที่ระลึกอันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย เพราะหัตถกรรมพื้นบ้านและแฝงไว้ด้วยความงามอันประณีตสง่างามแบบไทย


แหล่งที่มา : วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ. ศิลปะพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : แสงศิลป์การพิมพ์, 2535.



โดย : นางสาว siriporn yanjaroon, 4/3 klonglaung prathumtanee 13180, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545