หลักการวาด (Drawing) |
หลักการวาด (Drawing)
ที่มา: หนังสือหลักการวาด
ผู้แต่ง: อ. วิศิษฐ พิมพิมล อาจารย์วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
โดย: กุลวดี เศรษฐีพ่อค้า ม.6/2 เลขที่ 9 ร.ร. เสนาเสนาประสิทธิ์
พรทิพย์ เริงพจน์ ม.6/2 เลขที่ 22 รร.เสนา "เสนาประสิทธิ์"
ไพรินทร์ พวงศิริ ม.6/2 เลขที่ 23 รร. เสนา"เสนาประสิทธิ์"
การวาดลายเส้น: คือ ภาพวาดที่เป็นเส้นอาจมีความสมบูรณ์ในตนเองหรือแต่งเติมด้วยการลงแสงเงาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
ในการวาดลายเส้นเราควรจะมารู้จักกับอุปกรณ์ในการวาดลายเส้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนลายเส้นที่เป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ หลายๆคนที่เคยสอบเอ็นทรานซ์คงรู้ดีว่าเป็นการวาดอย่างไร เราลองมารู้จักกับอุปกรณ์กันก่อนที่จะรู้จักหลักเทคนิคในการวาดต่อไป
|
|
|
อุปกรณ์ (Materials) เป็นอุปกรณ์ในการวาดทั่วไปที่ใช้ในทัศนศิลป์
1.ดินสอดำ ในการวาดควรใช้เฉพาะขนาดตั้งแต่ 5B จนถึง EE เพราะมีความเข้มมาก ขนาดที่ต่ำกว่านี้ถ้าหากแรเงาจะเกิดความมันเลื่อม สะท้อนทำให้ภาพดูไม่ชัดเจน
2. ปากกาหมึกซึม เป็นปากกาใช้จุ่มหรือมีหมึกในตัวก็ได้ จุดเด่นของการใช้ปากกาคือ จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา
3. ปากกาหมึกแห้ง สะดวกในการใช้จะให้เส้นออกมามีความสนุกสนานอิสระ
4.แท่งถ่าน เป็นแท่งถ่านที่ขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป
อุปกรณ์ทั่วไป (Natural Meterials)
1. กระดานรองเขียน
2. ตัวหนีบ
3. ยางลบ
4. มีดเหลาดินสอ
5. กระดาษทราย ถ้าจะให้สะดวกในการใช้ควรหาไม้สี่เหลี่ยมเล็กมารองแผ่นกระดาษทราย
6. กระดาษปรู๊ฟ คือ กระดาษเนื้อบางลักษณะเหมือนกับกระดาษที่ใช้ม้วนยาสูบ
7. กระดาษ 100 ปอนด์
เทคนิคการฝึกความแม้นยำในการวาดมีดังต่อไปนี้
1. การขีดเส้นตรงในแนวนอนและแนวตั้งให้เส้นมีชองไฟเท่าๆกัน
2. การขีดเส้นตรงให้ลงน้ำหนักมือและผ่อนลงไปจะได้เส้นที่มีลักษณะคล้ายดาวตก
3.การขีดเส้นตาข่ายให้ช่องไฟเท่ากันในทุกทิศทาง
4. การไล่น้ำหนักเงาจากอ่อนไปหาแก่และจากแก่ไปหาอ่อน
5. การลากเส้นเป็นเลขแปดอย่างต่อเนื่อง
ที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นการช่วยให้เวลาร่างภาพจะมีความแม่นยำและถูกต้องตามสัดส่วนของต้นแบบมากยิ่งขึ้น
|
โดย : นางสาว กุลวดี เศรษฐีพ่อค้า, ร.ร เสนา, วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2545 |