เพลงนาฏศิลป์

การวิเคราะห์

  การวิเคราะห์เพลง เป็นการนำเอาบทเพลงหรือบทร้องรวมทั้งบทบรรเลง มาจำแนกให้ได้เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่อยู่ในบทเพลง รายละเอียดที่อยู่ในบทเพลงมีส่วนประกอบต่าง ๆ ในบทเพลง โดยจะเป็นตัวของบทเพลงก็ได้ บทเพลงเหล่านี้อาจเป็นบทเพลงที่ได้รับความนิยมในแต่ละยุคสมัยในการวิเคราะห์เพลงไทยนั้นจะปนะกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

1.ทำนองหลักหรือเนื้อเพลง

บทเพลงจำต้องประกอบด้วยตัวหลัก เนื้อเพลงที่สอดคล้องกัน และทำนองที่เหมาะสมกับการบรรเลงด้วยฆ้องวงใหญ่

2.การปรุงแต่ง

การปรุงแต่งบทเพลงนั้นขึ้นอยู่กับความเห็นและจุดประสงค์ของนักดนตรีว่า ผู้ฟังมีอารมณ์กับการถ่ายทอดของผู้เล่นและผู้บรรเลงในบทเพลงในบทใดการปรุงแต่งจะเป็นการปรุงแต่งทั้งเนื้อร้องและทำนองบรรเลง โดยทั่วไปแล้วเพลงไทยจะแบ่งออกเป็น 6 ชนิด

1.เพลงตับคือ การบรรเลงเพลงตั้งแต่ 2 เพลงขึ้นไป โดยมีการนำมาขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน

2.เพลงเกร็ด คือ การบรรเลงเพลงหรือการขับร้องในช่วงสั้น ๆ กล่าวคือ บรรเลงหรือขับร้องเพียงบทร้องเดียวเท่านั้น

3.เพลงเถา คือ การบรคเลงเพลงติดต่อกัน 3 จังหวะ

4.เพลง 3 ชั้น คือการบรรเลงเพลงหรือขับร้องเพลงที่มีอัตราจังหวะยาว

5.เพลง 2 ชั้น คือ การบรรเลงเพลงหรือขับร้องเพลงในจังหวะอัตราความเร็วปานกลาง

6.เพลงชั้นนเดียว คือ การบรรเลงเพลงหรือขับร้องเพลงในอัตราจังหวะที่สั้นกว่าเพลงสองชั้น

3.ทำนองเพลงพิเศษ

เกิดขึ้นจากวิธีการและรูปแบบของการบรรเลงที่ใช้เทคนิคต่าง ๆ สอดแทรกอยู่ระหว่างการบรรเลงเพลงตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความไพเราะเพิ่มมากขึ้น

4.สำนวนของเพลง

เป็นการสร้างสรรค์ทำนองขึ้นเป็นรูปแบบเฉพาะเพื่อนำไปประกอบในบทเพลงที่เห็นว่าไพเราะและเหมาะสม เมื่อนำไปเป็นส่วนประกอบของบทเพลงแล้ว ซึ่งนักดนตรีจะต้องสร้างสรรค์ทำนองและสำนวนเฉพาะจะต้องแตกต่างจากทำนองเพลงและสำนวนทั่ว ๆ ไปให้เกิดเป็นลักษณะเฉพาะมากขึ้น


ที่มา : หนังสือดนตรี - นาฏศิลป์

โดย : เด็กหญิง อุทุมพร จันทร์สวัสดิ์, ร.ร.ท่ามะกาวิทยาคม, วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547