นาฏศิลป์

การประดิษฐ์ท่ารำและอุปกรณ์ในการร่ายรำ

ท่ารำของการแสดงท่ารำนาฏศิลป์ไทยที่ปรากฎต่อสายตาผู้ชมนั้น   เมื่อจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ แล้วจะประกอบด้วยท่ารำต่อไปนี้

 ท่ารำที่เป็นภาษานาฏศิลป์ได้แก่   

1.ท่าที่แสดงอิริยาบท  เช่น  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  เป็นต้น

2.ท่าที่แสดงอารมณ์  เช่น  ดีใจ  เสีย  โกรธ  เป็นต้น

3.ท่าที่สื่อแทนความหมาย  เช่น  สวยงาม  กล้าหาญ  พร้อมเพรียง 

ท่ารำที่เป็นท่านาฏศิลป์ไทยในการรำแม่บท  เช่น  เทพพนม  พรหมสี่หน้า  ผาลา เป็นต้น

ท่ารำที่เป็นท่านาฏยศัพท์  เช่น  จีบ  ประ  กระดก  สะดุด  เป็นต้น

นาฏยศัพท์  หมายถึง  คำที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกการปฏิบัติท่ารำหรือลักษณะในการรำของนาฏศิลป์ไทย  สามารถจำแนกประเภทของนาฏยศัพท์  ได้อีกหลายประเภท  ซึ่งนาฏยศัพท์  ที่เป็นพื้นฐานของท่ารำนาฏศิลป์ไทยที่ควรรู้จักเป็นท่าที่สามารถฝึกหัดได้ง่านยและมักปรากฎให้เห็นในการแสดงเสมอ ๆ มีดังนี้ 

1.การตั้งวง  เป็นการตั้งแขนให้อยู่ในลักษณะเป็นวงโค้งคล้ายคลึงกับครึ่งวงกลม  แขนงอเพียงเล็กน้อย  อาจงอศอกเพียงเล็กน้อยด้วยเช่นกัน  รวมทั้งจะต้องตั้งมือให้นิ้วทั้งสี่คือ  นิ้วชี้  นิ้วกลาง  นิ้วนาง  นิ้วก้อยย เรียงชิดกัน  หักหัวแม่มือมาทางฝ่ามือเล็กน้อย  และหันฝ่ามือให้อยู่นอกตัวจากนั้นหักข้อมือให้หลังมือหันทางลำแขน  การตั้งวงจะมีอยู่สี่ลักษณะคือ  วงบนซึ่งตัวพระจะอยู่ในระดับแง่ศรีษะส่วนตัวนางอยู่ในระดับหางตาโดยตัวพระจะกางออกกว้างกว่าตัวนางวงกลางปลายนิ้วจะอยู่มนระดับไหล่วงล่างปลายนิ้วจะอยู่ระดับเอว  และวงหน้าจะอยู่ในระดับแง่ศรีษะ  รวมทั้งจะต้องตั้งวงให้อยู่ทางด้านหน้า

2.การจีบ ลักษณะของการจีบนั้นจะเป็นการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จรดกันโดยนิ้วหัวแม่มือจะอยู่ที่ข้อสุดท้ายของปลายนิ้วชี้ นิ้วอื่น ๆ ต้องคลี่ออกให้มีลักษณะคล้ายกับรูปพัด และต้องหักข้อมือเข้าหาด้านฝ่ามือทุกครั้ง

3. การกระดกเท้า เป็นการยกเท้าด้านใดด้านหนึ่งไปทางด้านหลัง หนีบขาและพับน่องให้ชิดโคนขารวมทั้งหักข้อเท้า น้ำหนักตัวจะตกอยู่ที่เท้าที่ยืนอยู่ที่พื้น

4. การก้าวเท้า จะแบ่งเป็นรการก้าวหน้า ลักษณะของการก้าวหน้าเป็นการแตะส้นเท้าลงก่อนที่จะวางเท้า โดยปลายเท้าจะต้องหันออกข้าง และเท้าหลังจะอยู่ในลักษณะเปิดส้น รวมทั้งต้องย่อเขาทั้งสองข้าง

5.การกระทุ้ง การกระทุ้งคือการใช้เท้าแตะแรง ๆ ลงบนพื้นลงยกทันที ข้อเท้าจะต้องหักเข้าหาหน้าแข้ง ขาที่ยืนบนพื้นจะต้องงอเขาเล็กน้อย


ที่มา : หนังสือดนตรี - นาฏศิลป์ 1

โดย : เด็กหญิง รัตนาภรณ์ พรานเจริญ, ท่ามะกาวิทยาคม, วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547