บทที่ 3
การรับรู้ทางทัศนศิลป์
พื้นฐานการรับรู้
มนุษย์มีการรับรู้ต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือประสบการณ์แตกตางกันไปตามภูมิหลัง การรับรู้ของมนุษย์เกิดจากพื้นฐานของความไม่เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติเหล่านั้น สัญชาติญาณของความกลัวส่งผลให้พวกเขาคิดหาทางออกที่เหมาะสม เช่น การสวดอ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการทำรูปเคารพเพื่อกราบไหว้บูชา เป็นต้น
การรับรู้ของมนุษย์มีมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมที่ได้จากกรรมพันธุ์โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน เช่น เมื่อมีสิ่งของเข้ามาใกล้ตาตามจะกะพริบ เมื่อถูกของร้อนเราจะชักมีออก
การรับรู้ทางการเห็น
มนุษย์สามารถมองเห็นและสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติด้วยตา มีสมองและจิตใจเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความเห็นจากภาพที่ปรากฎ การรับรู้ทางการเห็นจึงเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของจักษุสัมผัสและประสบการณ์ของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าภายนอก ก่อให้เกิดการรับรู้ภาพที่ปรากฎในลักษณะต่าง ๆ กันไป อันมีทฤษฎีของการเห็น (Visual theory) ที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. การเห็นรูปและพื้น เป็นองค์ประกอบแรกที่มนุษย์มองเห็นภาพจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อเรามองเห็นวัตถุเราจะรับรู้พร้อม ๆ กันทั้งรูปและพื้น วัตถุเป็นรูปและบริเวณรอบ ๆ เป็นพื้น แต่ในบางกรณี เช่น เมื่อเราเห็นม้าลาย เราจะเห็นภาพรวม ๆ กันทั้งลายดำและลายขาว ไม่สามารถตอบได้ว่าม้าลายนั้นมีลายดำหรือลายขาว เมื่อเรามองลายดำเป็นรูปและพื้นเป็นสีขาว เราก็เห็นลายดำ ในทางกลับกันเมื่อเราเห็นลายขาวเป็นรูป และพื้นเป็นสีดำเราก็เห็นลายขาว เป็นต้น
การรับรู้ทางการเห็นจะมีปัญหาที่ดูได้หลายแง่ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเพ่งหรือให้ความสำคัญบริเวณส่วนใด แต่เรื่องรูปและพื้นในส่วนของภาพเหมือนจริงมักจะไม่เป็นปัญหา เพราะว่ารูปของความเป็นจริงมักจะแสดงความเด่นชัดของตัวเอง
2. การเห็นแสงและเงา เป็นการรับรู้หรือมองเห็นเพราะมีแสงสว่างบริเวณที่วัตถุนั้นตั้งอยู่ ถ้าไม่มีแสงสว่างก็จะไม่มีน้ำหนักของวัตถุ หรือถ้ามีแสงสว่างก็จะไม่มีน้ำหนักของวัตถุ หรือถ้ามีแสงสว่างเท่ากันเงาจะไม่เกิดขึ้น หรือถ้ามีแสงสว่างเท่ากันเงาจะไม่เกิดขึ้น คุณค่า (Value) ของแสงและเงามีอิทธิพลต่อรู)ร่างของวัตถุ ขนาดของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงไปตามคุณค่าของแสงและเงาวัตถุโปร่งแสงมีพื้นผิวขรุขระ ถ้าแสงส่องเป็นมุมตรงก็อาจจะทะลุไปทำให้ดูราบเรียบ แต่ ถ้าแสดงส่งเป็นมุมเอียงก็จะแลเห็นพื้นผิวนั้นแลดูขรุขระ
แสงและเงามีผลต่อความรู้สึกและการรับรู้ อิทธิพลของแสงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องศึกาาทั้งในด้านความงามจากธรรมชาติและการสร้างสรรค์งานศิลปะ เช่น สงบเงียบ นุ่มนวล เร้าใจ ตื่นเต้น ฯลฯ
3. การเห็นตำแหน่งและสัดส่วน เป็นการรับรู้หรือมองเห็นโดยตำแหน่งของตัวเรา
สัมพันธ์ตำแหน่งของวัตถุ ถ้าเราเข้าใกล้วัตถุ ก็จะมองเห็นได้ชัด เห็นส่วนละเอียดมาก แต่ถ้าอยู่ไกลก็จะมองเห็นไม่ชัดเจน และวัตถุที่อยู่ใกล้จะมีขนาดใหญ่ วัตถุที่อยู่ไกลจะมีขนาดเล็กเป็นสัดส่วนกัน ปัญหาเรื่องตำแหน่งและสัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับความใกล้ไกล ความชัดเจนและความพร่ามั่ว
4. การเห็นความเคลื่อนไหว เป็นการรับรู้หรือมองเห็นเพราะความเคลื่อนไหวของวัตถุ หรือเพราะตัวเราเคลื่อนไหวเอง ทำให้สามารถเข้าใจถึงการเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็วเชื่องช้า ทิศทาง จังหวะ เป็นต้น องค์ประกอบส่วนนี้ถ้ามีการบันทึกเป็นภาพถ่าย รูปทรง และจังหวะลีลาของการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ชัดเจนขึ้น
ส่วนประกอบของการเห็น
ส่วนประกอบของการเห็นหรือทัศนธาตุเกี่ยวข้องกับการรับรู้ ทางการเห็นของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มลืมตา ดังนั้นถ้าเราจัดลำดับส่วนประกอบของการเห็นของมนุษย์ โดยเริ่มจากส่วนที่เป็นพื้นฐานที่สุดจะได้ 7 ส่วนคือ
1. จุด (dot) เป็นทัศนะธาตุเบื้องต้นที่สุด ไม่มีมิติ เมื่ออยู่ในที่ว่างจะก่อปฏิกิริยาต่อที่ว่าง เมื่อนำมาเรียงต่อกันจะกลายเป็นเส้น ถ้าจัดรวมกลุ้มกันจะกลายเป็นรูปร่างหรือเป็นน้ำหนักที่ให้ปริมาตรแก่รูปทรง จากจุดหนึ่งถึงจุดหนึ่งมีเส้นที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นด้วยจินตนาการ
ปรากฏอยู่ เรียกว่าเส้นโครงสร้าง
2. เส้น (line) เส้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโครงสร้างทางศิลปะที่มองเห็นแสดงออกอย่างมีความหมาย และให้อารมณ์ความรู้สึกทางจิตใจแก่ผู้ดู หรือให้ความหมายของขนาด ความยาว และลักษระทางกายภาพของเส้น
เส้นมีมิติเดียวคือเส้นที่มีแต่ความยาว มีลักษณะต่าง ๆ คือ ตรง คด หยัก โค้ง ฯลฯ มีทิศทาง มีขนาดใหญ่ หนา บาง ทำหน้าที่แบ่งที่ว่างออกเป็นสองส่วน สร้างขอบเขตของที่ว่างเรียงชิดกันเป็นแผ่นราบ
3. น้ำหนัก (tone) เป็นค่าของความอ่อนแก่ของสีดำหรือสีอื่น ๆ หรือของแสงและเงา น้ำหนักมีสองมิติคือกว้างกับยาว มีน้ำหนักมีความเกี่ยวข้องกับทัศนธาตุหลายชนิด เช่น ช่องว่าง รูปทรง และเส้นรวมอยู่เป็นหน่วยเดียวกัน การให้น้ำหนักลงไปในภาพจะก่อให้เกิดเป็นสองมิติขึ้น และมีความยาว ความกว้าง ทิศทาง และรูปร่างพร้อมกับเส้นรอบนอกเสมอ
4. สี (Color) สีมีคุณลักษณะของธาตุทั้งหลายรวมอยู่ครบถ้วน คือ เส้น น้ำหนัก ผิว และมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น 2 อย่าง คือ ความเป็นสี (Hue) และความจัดของสี (Intensity) สีจะมีความหมายเป็นลักษณะเฉพาะตัว ให้ความรู้สึกทั้งในด้านดีและไม่ดีไปตามลักษณะของแต่ละสี เช่น สิแดง สำหรับชาวตะวันออกเป็นสีแห่งความสุข สมบูรณ์ สัญลักษณ์ของชีวิต และแสดงถึงความปิติยินดีรื่นเริง แต่ในประเทศทางตะวันตกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา กลับมีความรู้สึกหรือให้ความหมายสัญลักษณ์ของสีแดงไปในทางตรงกันข้ามกับทางตะวันออก คือ เป็นสีที่แสดงถึงความไม่ปลอดภัยน่ากลัว
ส่วนประกอบของการเห็นเกี่ยวกับสี สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ สีที่เห็นตามธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ต้นไม้ หิน และสีที่มนุษย์คิดสร้างขึ้น เช่น ภาพโฆษณา หลอดไฟสี สีน้ำมัน ฯลฯ สีทั้ง 2 พวกเกี่ยวข้องกับแสงสว่างทั้งสิ้น
5. ผิว (texture) คือ ลักษณะผิวของสิ่งต่าง ๆ มีหยาบ ละเอียด ด้าน มัน ขรุขระ ราบเรียบ เป็นริ้วเป็นรอย ๆ ฯลฯ พื้นผิวให้ความรู้สึกทางกายสัมผัส และพื้นผิวที่เกิดจากการปรุงแต่ง เช่น การแกะสลักพื้นผิวของไม้เป็นลวดลายเพื่อให้สัมผัสได้เด่นชัด เทคนิคการสร้างพื้นผิวสามารถทำได้หลายแบบ ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ อาจเขียนเป็นลวดลายหรือรูปร่างต่าง ๆ ประกอบการเขียนภาพ การแดสงรายละเอียดก็เป็นการแสดงพื้นผิวได้เช่นเดียวกัน
6. รูปร่าง (Shape) และรูปทรง (form) รูปร่างและรูปทรงเป็นรูปธรรมทางศิลปะที่สื่อความหมายจากศิลปินไปสู่ผู้ดู โดยทั่วไปคำทั้งสองจะใช้แทนกันได้เพราะมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ในทางทัศนศิลป์จะมีความแตกต่างกันดังนี้
6.1 รูปร่าง คือเนื้อที่ของรูปร่าง สี เส้น แสง และเงา หรือเนื้อที่ขององค์ประกอบทางศิลปะทั้งสามนี้รวมกัน รูปร่างจึงเป็นภาพสองมิติที่หมายถึงเนื้อที่ภายในเส้นขอบเขต เช่น ลากเส้นเป็นรูปวงกลม เนื้อที่ภายในวงกลมนั้น คือ รูปร่าง มีลักษณะ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น แผ่นกลมกับลูกกลมจะมีรูปร่างเป็นวงกลมเหมือนกันแต่มีรูปทรงต่างกัน เพราะโครงสร้างต่างกัน รูปร่างแสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าจะเป็นปริมาตรหรือมวล
6.2 รูปทรง คือ โครงสร้างทางรูปของงานศิลปะรวมทั้งรูปภายในและรูปภายนอก เป็นโครงสร้างที่ก่อรูปขึ้นด้วยหน่วยเพียงหน่วยเดียวหรือหลายหน่วยรวมตัวกันขึ้น
รูปร่างและรูปทรงทางทัศนศิลป์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ รูปทรงเรขาคณิต (Geometric form) รูปทรงอินทรีย์รูป (organic form) รูปทรงอิสระ (free form)
7. ที่ว่าง (space) คือ คู่ของรูปทรงที่ขัดแย้งกันอย่างตรงกันข้าม มีบทบาทในการสร้างและเสริมรูปทรงไม่น้อยกว่าทัศนธาตุทั้งหลาย พจนานุกรมของมหาวิทยาลัยออกวฟอร์ด (Oxford University Dictionary) ให้คำจำกัดความของที่ว่างไว้ 3 ประการ คือ
ประการแรก เป็นที่ว่างภายในขอบเขตที่กำหนดให้ เช่น ที่ว่างภายในห้องที่มีฝาล้อมรอบ
ประการที่สอง เป็นที่ว่างที่เป็นระยะที่วัดได้จากมวลหนึ่งไปยังมวลหนึ่ง
ประการสุดท้าย เป็นการชี้แสดงเวลาหรือระยะเวลาที่ทำหรือเปลี่ยนแปลงไป
เรื่องของที่ว่างหรือช่องว่าง ชลูดนิ่มเสมอได้ให้คำจำกัดความไว้ในทฤษฎีแห่งองค์ประกอบศิลป์ว่า
ความหมายของที่ว่าง
- ปริมาตรของรูปทรงที่กินระวางเนื้อที่อยู่
- อากาศที่โอบล้อมรูปทรง
- ระยะห่างระหว่างรูปทรง (ช่องไฟ)
- ปริมาตรของที่ว่างที่จำกัดด้วยขอบเขต
- แผ่นภาพ 2 มิติที่ศิลปินใช้เขียนภาพ
การเขียนภาพลวงตาให้เกิดระยะทางลึกในงาน 2 มิติ |